DSpace Repository

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการระดมทุนในตลาดทุนอิสลาม : ศึกษากรณีตราสารศุกูก (Sukuk)

Show simple item record

dc.contributor.advisor พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ
dc.contributor.advisor สาคเรศ คำวะลี
dc.contributor.author วรวิมล จันทรทอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-03-05T09:33:06Z
dc.date.available 2013-03-05T09:33:06Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29289
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract การระดมทุนในตราสารศุกูกของประเทศไทยใช้กลไกทรัสต์ในการขับเคลื่อนธุรกรรม แต่เนื่องจากกลไกทรัสต์เป็นเครื่องมือในการดำเนินธุรกรรมต่างๆ ที่หลากหลายในตลาดทุน การนำเรื่องสัดส่วนการเข้ารับประโยชน์ของผู้รับประโยชน์ที่เป็นผู้ระดมทุนและทรัสตีของพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 มาปรับใช้กับตราสารศุกูกอ้างอิงธุรกรรมการร่วมลงทุนก่อให้เกิดอุปสรรคในการระดมทุนของผู้ระดมทุน ควรมีการกำหนดสัดส่วนการรับประโยชน์ในอัตราร้อยละศูนย์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการลงทุนในตราสารศุกูกในอนาคต อีกทั้งกรณีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลงทุนในตราสารศุกูกอ้างอิงธุรกรรมการร่วมลงทุนมีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตามกฎหมายไทยหรือไม่ พบว่าแม้การระดมทุน ในตราสารศุกูกจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการทางศาสนา แต่กฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับในเรื่องความสัมพันธ์ทางกฎหมายที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในตราสารศุกูกนั้นย่อมต้องบังคับใช้ภายใต้หลักกฎหมายของไทย สำหรับกรณีปัญหาในเรื่องความไม่ชัดเจนในการตีความประเภทธุรกรรมอ้างอิงที่ใช้ในการออกตราสารศุกูกในลักษณะที่เป็นการทำคำสั่งซื้อเข้าลักษณะการเป็นเอกเทศสัญญาการซื้อขายหรือการจ้างทำของตามเอกเทศสัญญาไทย พบว่าไม่สามารถนำหลักการตามศาสนาอิสลามมาเทียบเคียงกับกฎหมายไทยได้กำหนดโดยแน่นอนตายตัวได้ว่าเป็นสัญญาประเภทใด แต่ต้องทำการพิจารณาจากลักษณะของสัญญาที่ได้ทำระหว่างคู่สัญญาเป็นรายกรณีไป เนื่องจากยังไม่เคยมีการระดมทุนตราสารศุกูกในประเทศไทย รูปแบบของโครงสร้างตราสารศุกูกที่จะนำมาใช้นั้นจึงยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนเห็นว่าควรมีการนำตราสารศุกูกอ้างอิงธุรกรรมการซื้อขายบวกราคาในสินค้าโภคภัณฑ์เข้ามาใช้ในประเทศไทย และควรมีการจัดตั้งตลาดซื้อขายสินค้ามุราบาหะฮ์ขึ้นเป็นแผนกหนึ่งในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการระดมทุนผ่านตราสารศุกูก นอกจากนั้นกรณีที่อาจมีการกังวลหรือสงสัยว่าธุรกรรมอ้างอิงที่ใช้การออกตราสารศุกูกมีลักษณะคล้ายกับการเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในการระดมทุนในตลาดทุนอิสลาม เนื่องด้วยจากลักษณะธรรมชาติของการระดมทุนในตราสารศุกูกก่อให้เกิดสภาพที่คล้ายคลึงกับนิติกรรมอำพรางอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น ควรมีการแก้ไขปัญหาโดยการตรากฎหมายเพื่อให้สถานะของนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ระดมทุนและทรัสตีในการระดมทุนภายในตราสารศุกูกให้ถือว่ามีผลใช้บังคับตรงตามที่ได้กระทำ en
dc.description.abstractalternative The fund raising by issuance of Sukuk in Thailand is operated by utilizing the concept of trust under the Trust Transactions in Capital Market Act B.E. 2550, and the general trust concept in the Act is applied in various transactions in the capital market. The rule on proportion of beneficiary sharing upon originators and trustees under the Trust Act is applicable in Sukuk al-Musharakah structure, which could cause an obstacle in the structuring for originators. The benefit proportion rule should be prescribed at zero percent in order to promote the development such of Sukuk in future. In addition, whether the relationship among the investors of such sukuk will be characterize as partnership is another legal issue. It appears that although the issuing of Sukuk must comply with the religious principles, Thai law will be applied in the determination as to the legal relationship among relevant parties in Sukuk transactions. There also ia a problem regarding the characterization of the purchase order sale transaction under Thai law. It is unclear whether such transaction should be consider sale contract or hire of work. It is found that there be no clear and certain resemblance between Islamic and Thai legal principles, instead, the intention of the contracting parties should be looked into on case by case basis. Since these has been no Sukuk issuance to date in Thailand, its structure is rather unclear for the implementation. The researcher suggests that the Commodity Murabaha should be applied in Thailand and that a Commodity Murabaha Trading Center should be set up in a department of AFET in order to provide a convenient path-way for fund raising through Sukuk. Moreover, the concern that the underlying transaction of the Sukuk is similar to an act concealing money lending is the critical issue which has impact on fund raising in Islamic capital market. Since the nature of Sukuk structures are similar to a concealed act, which seem be to unavoidable. Therefore, this problem should be solved by enacting the law to ensure that the legal relationship between the originator and trustee under Sukuk structure can be enforceable as such. en
dc.format.extent 1907740 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1010
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ตราสารหนี้ en
dc.subject ตราสารทุน en
dc.subject ศาสนาอิสลาม en
dc.subject การระดมเงินทุน en
dc.subject ตลาดทุน en
dc.subject การระดมเงินทุนขององค์กรทางศาสนา en
dc.title ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการระดมทุนในตลาดทุนอิสลาม : ศึกษากรณีตราสารศุกูก (Sukuk) en
dc.title.alternative Legal problems relating to mobilization of Islamic capital market : study on Sukuk en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline กฎหมายการเงินและภาษีอากร es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.1010


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record