DSpace Repository

การเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของตัวสถิติทดสอบ สำหรับทดสอบการเท่ากันของพารามิเตอร์แสดงตำแหน่ง ของการแจกแจงแบบเอกซ์โปเนนเชียล 2 พารามิเตอร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีระพร วีระถาวร
dc.contributor.author พิษณุ เจียวคุณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2013-03-07T05:37:02Z
dc.date.available 2013-03-07T05:37:02Z
dc.date.issued 2537
dc.identifier.isbn 9745836605
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29365
dc.description วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของตัวสถิติทดสอบ 3 ตัว สำหรับทดสอบการเท่ากันของพารามิเตอร์แสดงตำแหน่งของการแจกแจงแบบเอกซ์โปเนนเชียล 2 พารามิเตอร์ ซึ่งได้แก่ตัวสถิติทดสอบ IP (Iterated Procedure Test Statistics), LR(Likelihood Ratio Test Statistics) และ TIKU (Tiku's Test Statistics) เกณฑ์ในการเปรียบเทียบจะพิจารณาความสามารถในการควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และค่าอำนาจการทดสอบ ภายใต้การแจกแจงแบบเอกซ์โปเนนเชียล 2 พารามิเตอร์ ซึ่งมีค่าพารามิเตอร์แสดงสเกล = 0.5, 1, 2 และ 5, จำนวนกลุ่มประชากร = 2, 3 และ 5 แต่ละกลุ่มประชากรจะใช้ขนาดตัวอย่าง 10, 15 และ 20 ทำการศึกษาทั้งในกรณีที่มีข้อมูลสมบูรณ์และกรณีที่ข้อมูลมีค่าถูกตัดทิ้งทางขวา 10%, 20% และ 30% ณ ระดับนัยสำคัญ () 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โลกระทำซ้ำ 1,000 ครั้งในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ก) กรณีที่มีข้อมูลสมบูรณ์ ตัวสถิติทดสอบ TIKU และ LR สามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ทุกกรณี แต่ตัวสถิติทดสอบ IP ไม่สามารถควบคุมได้ในกรณีที่พารามิเตอร์แสดงสเกลมีค่ามากในทุกระดับของขนาดตัวอย่างและจำนวนกลุ่มประชากร ข) กรณีที่มีข้อมูลไม่สมบูรณ์ : ข้อมูลมีค่าถูกตัดทิ้งทางขวา โดยส่วนใหญ่ตัวสถิติทดสอบ TIKU และ LR สามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ แต่ตัวสถิติทดสอบ IP ควบคุมได้เฉพาะกรณีที่ค่าพารามิเตอร์แสดงสเกลมีค่าน้อย 2) ค่าอำนาจการทดสอบ ก) กรณีที่มีข้อมูลสมบูรณ์ ตัวสถิติทดสอบ TIKU จะให้ค่าอำนาจการทดสอบสูงกว่าตัวสถิติทดสอบ LR และ IP เมื่อพารามิเตอร์แสดงสเกลมีค่าน้อย ส่วนตัวสถิติทดสอบ LR จะให้ค่าอำนาจการทดสอบสูงกว่าตัวสถิติทดสอบ TIKU และ IP เมื่อพารามิเตอร์แสดงสเกลมีค่ามากเท่านั้น ข) กรณีที่มีข้อมูลไม่สมบูรณ์ : ข้อมูลมีค่าถูกตัดทิ้งทางขวา ตัวสถิติทดสอบ TIKU จะให้ค่าอำนาจการทดสอบสูงกว่าตัวสถิติทดสอบ LR และ IP เมื่อพารามิเตอร์แสดงสเกลมีค่าน้อยถึงปานกลาง ตัวสถิติทดสอบ LR จะให้ค่าอำนาจการทดสอบสูงกว่าตัวสถิติทดสอบ TIKU และ IP เมื่อพารามิเตอร์แสดงสเกลและจำนวนกลุ่มประชากรมีค่ามาก
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to compare the power of the 3 test statistics for testing equality of location parameter of two-parameter exponential distribution. They are: Iterated Procedure Test Statistics (IP), Likelihood Ratio Test Statistics (LR) and Tiku's Test Statistics (TIKU). The two criterions employed for the comparison are capability to control probability of type I error and power of the test under two-parameter exponential distribution with scale parameter=0.5,1,2 and 5, number of population=2,3 and 5, each population group uses sample size of 10,15 and 20. The studies include the case of complete data and incomplete data with right-censored data = 10%, 20% and 30% at significant level()=0.01 and 0.05, respectively. The data of this experiment are generated through the Monte Carlo simulation technique with 1,000 repetitions. The results of this research can be summarized as follows: 1) Probability of Type I Error a) In case of complete data TIKU and LR can control the probability of type I error in all cases, but IP can't control the probability of type I error when the scale parameter is high at all sizes of sample and population. b) In case of incomplete data : right- censored data. In most cases, TIKU and LR can control the probability of type I error, but IP can control it only in the case in which the scale parameter is low. 2) Power of The Test a) In case of complete data. TIKU has higher power of the test than LR when the scale parameter is low. LR has higher power of the test than TIKU and IP when the scale parameter is high. b) In case of incomplete data : right- censored data. TIKU has higher power of the test than LR and IP when the scale parameter is low and medium, but the LR has higher power of the test than TIKU and IP when the scale parameter and the number of population are high.
dc.format.extent 3939775 bytes
dc.format.extent 2578190 bytes
dc.format.extent 4119132 bytes
dc.format.extent 3008619 bytes
dc.format.extent 13088197 bytes
dc.format.extent 1658001 bytes
dc.format.extent 7170486 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title การเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของตัวสถิติทดสอบ สำหรับทดสอบการเท่ากันของพารามิเตอร์แสดงตำแหน่ง ของการแจกแจงแบบเอกซ์โปเนนเชียล 2 พารามิเตอร์ en
dc.title.alternative A comparison of power of test statistics for testing equality of two-parameter exponential distribution en
dc.type Thesis es
dc.degree.name สถิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สถิติ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record