dc.contributor.author |
สุรางค์ นุชประยูร |
|
dc.contributor.author |
จินตนา จิรถาวร |
|
dc.contributor.author |
อนุพงค์ สุจริยากุล |
|
dc.contributor.author |
อลิสา จันทร์ปี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2013-03-12T03:35:45Z |
|
dc.date.available |
2013-03-12T03:35:45Z |
|
dc.date.issued |
2552 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29663 |
|
dc.description.abstract |
โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis) เกิดจากพยาธิ 2 ชนิดหลัก คือ Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi ทางองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้โรคเท้าช้างเป็นโรคทางปรสิตที่ควรกำจัดให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2563 โดยมีแนวทางหลักในการควบคุมและป้องกันโรคเท้าช้างคือการจัดให้มีโปรแกรมการรักษาแบบหมู่ โดยให้ยา diethylcarbamazine (DEC) ร่วมกับยา albendazole แก่ประชากรในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง และการควบคุมพยาธิภาวะ ปัญหาที่สำคัญของการรักษาโรคเท้าช้าง คือ การใช้ยา DEC ที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาหลังการรักษา กลไกของการเกิดพยาธิสภาพของโรคและการเกิดปฏิกิริยาหลังการรักษายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดได้ จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการกำจัดโรค การศึกษาภูมิคุ้มกันวิทยาเชิงลึกของโรคเท้าช้างจะช่วยให้การกำจัดโรคสำเร็จลงได้อย่างยั่งยืน ผลการศึกษาในปีที่ 3 นี้ ได้ศึกษารูปแบบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังการรักษาโรคเท้าช้าง โดยวัดระดับไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ได้แก่ interleukin (IL)-6 และ tumor necrosis factor (TNF)-α ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีปฏิกิริยาหลังการรักษาน้อย (mild) ปฏิกิริยาหลังการรักษาปานกลาง (moderate) และปฏิกิริยาหลังการรักษาชนิดรุนแรง (severe) หลังการรักษาด้วยยา DEC เมื่อเปรียบเทียบกันระดับไซโตไคน์ในกระแสเลือดก่อนการรักษาด้วยยา DEC พบว่าผู้ป่วยโรคเท้าช้างมีระดับ IL-6 และ TNF-α สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลา 24 ชั่วโมงหลังการรักษา (P<0.05) โดยพบว่าระดับของไซโตไคน์ IL-6 สอดคล้องกับระดับความรุนแรงของปฏิกิริยาหลังการรักษา ในขณะที่ระดับไซโตไคน์ TNF- α สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเท้าช้างที่เกิดปฏิกิริยาหลังการรักษาชนิดรุนแรงเท่านั้น สำหรับการวัดระดับไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านการอักเสบ IL-10 มีระดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเท้าช้างที่เกิดปฏิกิริยาหลังการรักษาชนิดปานกลางและชนิดรุนแรงเท่านั้น โดยถูกปล่อยออกมาในระดับสูงสุดที่เวลา 12-24 ชั่วโมงหลักการรักษา ในขณะที่ระดับไซโตไคน์ IL-12 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลา 24 ชั่วโมงหลังการรักษา และไม่พบความสัมพันธ์ของระดับของไซโตไคน์กับระดับความรุนแรงของปฏิกิริยาหลังการรักษา (โครงการย่อยที่ 1) และจากการทบทวนวรรณกรรมตลอดจนค้นหาจากฐานข้อมูลได้พบยีน peptidoglycan-associated lipoprotein (pal) มีความน่าสนใจที่ใช้ศึกษาทางอิมมูนวิทยาต่อไป จึงได้ทำการโคลนและสร้างโปรตีนบริสุทธิ์ในห้องปฏิบัติการ และวัดระดับแอนติบอดีชนิดต่าง ๆ ที่จำเพาะต่อโปรตีน PAL ในกระแสเลือดของผู้ป่วยโรคเท้าช้างที่มีการติดเชื้อปัจจุบัน (active infections) ทั้งผู้ป่วยที่ตรวจพบไมโครฟิลาเรียในกระแสเลือด (Ag+/Mf+) และตรวจไม่พบไมโครฟิลาเรียในกระแสเลือด (Ag+/Mf-) กลุ่มผู้ป่วยโรคเท้าช้างที่มีพยาธิสภาพเรื้อรัง (chronic pathology; CP) ตลอดจนกลุ่มคนปกติที่อาศัยอยู่ในแหล่งชุกชุมของโรคเท้าช้าง (endemic normals; EN) (Ag-/Mf-) พบว่าแอนติบอดีชนิด IgG3 ที่จำเพาะต่อโปรตีน PAL มีระดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มการติดเชื้อปัจจุบัน ซึ่งตรวจพบแอนติเจนที่จำเพาะต่อพยาธิโรคเท้าช้าง (Ag+/Mf- และ Ag+/Mf+) เปรียบเทียบกับระดับของแอนติบอดีในกลุ่มคนปกติที่อาศัยอยู่ในแหล่งชุกชุมของโรคเท้าช้าง (P=0.003) โดยพบการสูงขึ้นของระดับแอนติบอดีอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยโรคเท้าช้างที่ตรวจพบไมโครฟิลาเรียในกระแสเลือด (Ag+/Mf+) (P=0.04) (โครงการย่อยที่ 2) สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน toll-like receptor 2 (tlr-2) กับความไวรับและการเกิดพยาธิสภาพของโรคเท้าช้าง ได้ตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน TLR2 แบบ -197 to -174 ins/del ซึ่งอยู่ในบริเวณ 5’ untranslated region (5’ UTR) โดยใช้เทคนิค allele-specific polymerase chain reaction (AS-PCR) และตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมแบบการเปลี่ยนแปลงลำดับนิวคลีโอไทด์เพียงตำแหน่งเดียว (single nucleotide polymorphisms; SNPs) ของยีน TLR2 แบบ +597 T/C และ +1350 T/C ในบริเวณ exon 3 โดยใช้เทคนิค polymerase chain reaction-restriction fragment length polymorphism analysis (PCR-RFLP) พบว่าความถี่จีโนไทป์ของความหลากหลายทางพันธุกรรมทั้ง 3 ตำแหน่งที่ทดสอบ -197 to -174 ins/del, +597 T/C, และ +1350 T/C อยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก (P>0.05) อัลลีล -197 to -174del สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท้าช้าง ([P=0.005], OR=2.21 [95% CI = 1.25-3.92] อัลลีล +597C และ +1350C เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเท้าช้าง ([P = 0.001], OR = 2.58 [95% CI = 1.40-4.75], และ [P =0.0121], OR = 2.37 [95% CI = 1.19-4.77], ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมทั้ง 3 ตำแหน่งถ่ายทอดไปร่วมกัน TLR2 haplotype แบบ -197 to -174del/+597C/+1350C (delCC) สัมพันธ์กับความไวรับโรคเท้าช้างอย่างมีนัยสำคัญ จากการพยากรณ์โดยใช้ซอฟแวร์ Mfold พบว่า RNA ของ -197 to -174 del มีความเสถียรน้อยกว่า RNA ของ -197 to -174 ins อย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้เป็นการศึกาทางด้านระบาดวิทยาเชิงพันธุศาสตร์เบื้องต้นซึ่งชี้ให้เห็นว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน TLR2 แบบ -197 to -174 ins/del, +597 T/C, และ +1350 T/C มีความสัมพันธ์กับความไวรับโรคเท้าช้าง (โครงการย่อยที่ 3) |
en |
dc.description.abstractalternative |
Lymphatic filariasis, caused by Wuchereria bancrofti and Brugia malayi, is targeted to be eliminated globally as a public health problem by the year 2020. The main intervention tool employed by the national elimination program is mass drug administration (MDA) of diethylcarbamazine (DEC) and albendazole to endemic populations, and control of morbidity. One of the serious concerns with this mass chemotherapeutic approach to control lymphatic filariasis is that it can be accompanied by adverse reactions, thus, compromising compliance. However, the exact etiology of the adverse reactions is largely unknown. Advanced researches on immunology, and pathogenesis in lymphatic filariasis are needed to develop potential tooks to sustain success in lymphatic filariasis elimination. In this study, the lymphatic filariasis immune response patterns after treatment were studied. The inflammatory cytokines; interleukin-6 (IL-6) and tumor necrosis factor (TNF)-α; levels were determined in patients with mild, moderate, and severe adverse reactions after treatment with DEC. The levels of IL-6 and TNF-α were significantly increased at 24 hours after treatment. While the levels of IL-6 were correlated with the severity of the adverse reactions, the levels of TNF-α were increased only in patients with severe adverse reactions. The levels of anti-inflammatory cytokine (:-IL-10) were significantly increased in patients with moderate and severe adverse reaction at 12-24 hours after treatment, while the regulatory cytokine (:-IL-12) levels were significantly decreased at 24 hours after treatment. But no correlation between the IL-12 levels and the severity of adverse reactions was observed (subproject 1). Analysis of available database suggested that peptodiglycan-associated lipoprotein (pal) was a candidate gene for immunological study (subproject 2). The protein was cloned and expressed in the laboratory. Anti-PAL antibody responses were assayed in blood samples collected from the lymphatic filariasis patients. The anti-PAL IgG3 antibodies were significantly increased in the patients with active infection (P=0.003). In addition, anti-WSP IgG1 antibody was significantly increased in the microfilaremic patients (P=0.02)(subproject 2). The results of our study indicate that TLR2-196 to-174 ins/del, +597 T/C, and +1350 T/C polymorphisms associated with bancroftian filariasis in Thailand (subproject 3). |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนอุดหนุนการวิจัยเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2552 |
en |
dc.format.extent |
7806639 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
โรคเท้าช้าง |
en |
dc.subject |
วิทยาภูมิคุ้มกัน |
en |
dc.title |
การศึกษาภูมิคุ้มกันวิทยาเชิงลึกของโรคเท้าช้าง : มุ่งสู่การป้องกันภาวะเท้าช้างและการกำจัดโรคอย่างถาวร : แผนการวิจัย : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
en |
dc.title.alternative |
Advanced immunological study of lymphatic filariasis : towards prevention of chronic pathology and permanent disease elimination |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
Surang.N@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Chintana.Ch@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|