dc.contributor.advisor |
ฐิติวดี ชัยวัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
นึกรัก กีรติบำรุงพงศ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2013-03-26T09:54:01Z |
|
dc.date.available |
2013-03-26T09:54:01Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30387 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
en |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแจกแจงที่เหมาะสมกับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในดัชนีเซท50 และพันธบัตรรัฐบาล ด้วยการใช้การแจกแจงแบบปกติเปรียบเทียบกับการแจกแจงแบบทรังเคต เลวี่ ไฟลท์ (TLF) พร้อมคาดการณ์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอระหว่างดัชนีเซท 50 และพันธบัตรรัฐบาล รวมทั้งวัดมูลค่าความเสี่ยงแบบมีเงื่อนไข (CVaR) ของสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอระหว่างดัชนีเซท 50 และพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้ได้ระดับความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมที่องค์กรรับได้ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล และดัชนีเซท 50 ย้อนหลังเป็นเวลา 9 ปี ตั้งแต่พ.ศ.2545 ถึงพ.ศ.2553 เป็นรายวัน และรายสัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าการแจกแจงแบบทรังเคต เลวี่ ไฟลท์มีความเหมาะสมกับอัตราผลตอบแทนของดัชนีเซท 50 และพันธบัตรรัฐบาล เมื่อจำลองการจัดสัดส่วนของพอร์ตโฟลิโอด้วยวิธีมอนติคาร์โล และผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าพอร์ตโฟลิโอก็มีการแจกแจงแบบทรังเคต เลวี่ ไฟลท์ เช่นกัน อัตราผลตอบแทนรายวันระหว่างการลงทุนใน 60% ดัชนีเซท 50 และ 40% พันธบัตรรัฐบาลมีมูลค่าความเสี่ยงแบบมีเงื่อนไขอยู่ในระดับกลางๆจากทั้งหมด 7 สัดส่วน มีอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ปรับด้วยค่าความเสี่ยง (Risk adjusted return) สูงที่สุด ส่วนอัตราผลตอบแทนรายสัปดาห์การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเพียงอย่างเดียวมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยสูงที่สุด มูลค่าความเสี่ยงแบบมีเงื่อนไขที่วัดได้ก็มีค่าความเสี่ยงน้อยที่สุด และนอกจากนี้ยังมีอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ปรับด้วยค่าความเสี่ยงสูงที่สุดอีกด้วย ผลจากการคาดการณ์อัตราผลตอบแทนในการวิจัยนี้ยังพบว่าระยะเวลาในการถือครองหลักทรัพย์ที่นานขึ้นความเสี่ยงของแต่ละพอร์ตโฟลิโอที่มีสัดส่วนแตกต่างกันมีความเสี่ยงไม่ค่อยแตกต่างกัน ทั้งนี้การเลือกสัดส่วนของพอร์ตโฟลิโอนักลงทุนควรเลือกสัดส่วนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk appetite) |
en |
dc.description.abstractalternative |
This research aims to study the suitable distribution for rate of return of SET 50 and government bond by using the normal distribution compared with the Truncated Lévy Flight. This study forecasts rate of return of portfolio between SET 50 index and government bond, measures CVaR of portfolio, and calculates risk adjusted return. Data used in this research are daily and weekly rate of return of SET 50 and government bond in 2002-2010. The result shows that the Truncated Lévy Flight distribution is more appropriate to fit SET 50 and government bond rate of return. In addition, this research uses Monte Carlo approach to simulate data to construct investment portfolio. The results indicate that portfolio has Truncated Lévy Flight. Daily rate of return of 60% invested in SET 50 and 40% invested in government bond has maximum risk adjusted return with medium CVaR value. However, weekly rate of return invested only in government bond has maximum rate of return on average but with a minimum CVaR ,and the maximum risk adjusted return . In addition, the result of this paper shows that the longer investment time horizontal assets shows no difference of portfolio risk, even though the proportion of invested asset of each portfolio is not the same. Therefore, investor should select appropriate investment portfolio that fit his risk appetite. |
en |
dc.format.extent |
3819570 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1079 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
พันธบัตร |
en |
dc.subject |
ดัชนีราคาหลักทรัพย์ |
en |
dc.subject |
การลงทุน |
en |
dc.subject |
หลักทรัพย์ |
en |
dc.title |
การวัดมูลค่าความเสี่ยงแบบมีเงื่อนไขของพอร์ตโฟลิโอดัชนีเซท 50 และพันธบัตรรัฐบาลโดยใช้การแจกแจงแบบทรังเคต เลวี่ ไฟลท์ |
en |
dc.title.alternative |
Measuring CVaR of SET 50 index and government bond portfolio using truncated levy flight |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
การประกันภัย |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Thitivadee.C@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2011.1079 |
|