DSpace Repository

การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเมืองเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดุษฎี ทายตะคุ
dc.contributor.author วันใหม่ แตงแก้ว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-04-09T03:07:57Z
dc.date.available 2013-04-09T03:07:57Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30487
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract การศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเมืองเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2. ศึกษากระบวนการจัดการท่องเที่ยวและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในปัจจุบัน 3. วิเคราะห์ศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 4. เสนอแนะการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมของเมืองเชียงคาน ซึ่งแนวทางการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสาร และจากข้อมูลภาคสนาม ได้แก่ การสำรวจ การสังเกต การสนทนา และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเชียงคานมีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคุ้มวัด เทศบาล และกลุ่มผู้ประกอบการ มี 5 ขั้นตอน คือ การวางแผน กลยุทธ์ การจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การดำเนินงาน การประสานงาน และการจัดการความรู้ด้านต่างๆ ส่วนของบทบาทในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเชียงคาน ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีลักษณะ ดังนี้ การหาแนวทางแก้ไขปัญหา การวางแผนพัฒนา การประสานงาน การให้ความรู้ การลงทุน การประชาสัมพันธ์ และการมีรายได้จากการท่องเที่ยว บทบาทที่สำคัญที่สุดในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเชียงคานคือ การหาแนวทางแก้ไขปัญหา การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวต่างๆ ของเทศบาลตำบลเชียงคาน กรมโยธาธิการและผังเมือง และสภาเมืองเชียงคาน บทบาทที่สำคัญรองลงมา คือ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของเทศบาลตำบลเชียงคาน สำนักงานจังหวัดเลย และผู้ประกอบการนอกพื้นที่ สำหรับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งจัดตามลำดับความสำคัญในขั้นตอนการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา ได้แก่ ผู้ประกอบการ และภาคประชาชน ขั้นตอนการวางแผนดำเนินการ ได้แก่ เทศบาล และกรมโยธาธิการ และผังเมือง ขั้นตอนการลงทุนและดำเนินงาน ได้แก่ ผู้ประกอบการ เทศบาล ภาคประชาชน และชมรมต่างๆ และขั้นตอนการติดตามประเมินผลงาน ได้แก่ เทศบาล และสภาเมืองเชียงคาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเชียงคาน คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละภาคส่วนขาดการบูรณาการในเรื่องแผนการจัดการการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม รวมทั้งการบริหารงานของแต่ละภาคส่วนยังไม่ชัดเจน และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเชียงคานที่เหมาะสม คือ แนวทางการพัฒนาโดยการใช้โมเดลการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีพัฒนาการมาจากการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยมีชุมชนเป็นฐาน และมีการจัดทำโครงการการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ทำให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น โดยสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของชุมชน และผู้คนเจ้าของพื้นที่ โดยมุ่งเน้นให้นักท่องเที่ยวมีปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ ทำให้สามารถเอื้อประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ และเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างจิตสำนึกของชุมชนร่วมกันในการรักษาสมดุลของ และสร้างฐานความรู้สำหรับการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน en
dc.description.abstractalternative The purposes of this study titiled “Cultural Tourism Management in Chiangkhan Community, Chiangkhan District, Loei Province” were to 1) investigate cultural tourism element, 2) analyze tourism management process and analyze current stakeholders, 3) analyze potential of cultural tourism management, and 4) provide suitable cultural tourism management in Chiangkhan Community. This was a qualitative research and the data was collected from documents and fieldwork consisting of survey, observation and interview with concerning people.The results found that there were 5 steps of the tourism management process in Chiangkhan Community including cooperation between different temples, municipality and entrepreneurs. These 5 steps contained strategic planning, stakeholder management, operation, coordination and knowledge management. To the role of stakeholders towards the cultural tourism management in Chiangkhan District, however, it contained finding resolutions to solve problems, defining development plan, coordinating with several parts, providing knowledge, supporting investment, preparing public relations and earning income from tourism. Furthermore, the most important roles in the cultural tourism management in Chiangkhan Community were searching for the resolutions to solve the problems and defining development plan which required the cooperation between Chiangkhan Municipality, Department of Public Works and Town & Country Planning and Chiangkhan Council. Besides, another significant role was related to the investment in infrastructure and facilities of Chiangkhan Municipality of Loey Provincial Offices and external entrepreneurs. Besides, the stakeholders and people sector had the highest role in participation into a stage of finding the problems and causes, followed by the municipality and Department of Public Works and Town & Country Planning in a stage of planning as well as the entrepreneurs, municipality, people sector and associations in a stage of investment and operation, respectively. Moreover, the municipality and Chiangkhan Council also took part in a stage of follow up and evaluation. According to the study, some essential problems of cultural tourism management in Chiangkhan Community were found. For instance, the stakeholders lacked integration towards the suitable tourism management plan and the administration of each sector was unclear and still lacked local people’s participation.Certain proper resolutions towards the cultural tourism management were also suggested by applying a model to improve the tourism by local community. The local tourism was developed from the people’s participation and sustainable tourism based on the local community. Furthermore, a project of creative tourism should be held to encourage tourists to learn the way of life of local people, unique identity of local community and area owners. An interaction between the tourists and local people should be emphasized to support conservation – an important process to create public consciousness and retain balance for creative and sustainable knowledge development. en
dc.format.extent 7988378 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1188
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- เลย en
dc.subject การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน -- ไทย -- เลย en
dc.title การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเมืองเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย en
dc.title.alternative Cultural tourism management in Chiangkhan community, Chaiangkhan district, Loei province en
dc.type Thesis es
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การวางแผนภาคและเมือง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.1188


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record