DSpace Repository

กรรมวิธีการสร้างซออู้ของครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
dc.contributor.author ตั้งปณิธาน อารีย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-04-23T02:59:01Z
dc.date.available 2013-04-23T02:59:01Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30653
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่อง กรรมวิธีการสร้างซออู้ของครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการสร้างซออู้ของครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล ศึกษากรรมวิธีการสร้างซออู้ของครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงซออู้ของครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลลงศึกษาภาคสนามในฐานะลูกมือช่างเป็นเวลา 2 เดือน หลังจากที่ครู ธีรพันธุ์รับมอบผู้วิจัยเป็นศิษย์แล้ว 5 ปี ผลการศึกษาพบว่าครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล อนุรักษ์รูปทรงและสัดส่วนของซออู้ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามแบบสัดส่วนของกระสวนดุริยบรรณ และได้พัฒนารูปทรงและสัดส่วนจากกระสวนดุริยบรรณให้เป็นมาตรฐานในแบบ ของตน กรรมวิธีการสร้างซออู้ของครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล มีลักษณะเฉพาะคือ งานกลึงลวดลายที่งดงามประณีต การใช้มีดกลึง 3 แบบ การพ่นแลกเกอร์และขั้นตอนการขัดด้วยกระดาษทรายน้ำ สัดส่วนการกำหนดลายฉลุบนกะโหลกซอ และการพอกกะโหลก ความละเอียดพิถีพิถันในทุกขั้นตอนการสร้าง ครูธีรพันธุ์ใช้เวลาในการสร้างซออู้ 1 คัน เป็นเวลา 2 เดือน ครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล ให้ความสำคัญในกรรมวิธีการสร้างทุกขั้นตอน ด้วยความใส่ใจในเรื่องการคัดสรรวัสดุ ที่มีคุณภาพ การคัดกะโหลกซออู้ การคัดหนังแพะ หางม้า สายซอ และการเหลาหมอนซอ มีการกลึง คันทวนซออู้ให้ได้สัดส่วนตามมาตรฐานกระสวนดุริยบรรณ ความสำคัญในเรื่องของรูปทรง และสัดส่วนของ คันทวน ลูกบิด คันชัก มีผลทำให้คุณภาพเสียงซออู้คมชัด นุ่มนวล ดังกังวาน อันเกิดมาจากประสบการณ์ความรู้ทางด้านดนตรีไทยและด้านงานช่าง มีความเข้าใจในศาสตร์เสียงดนตรีไทยของช่างเป็นปัจจัยสำคัญใช้ในกรรมวิธีการสร้างและการตกแต่งเสียงซออู้ จึงทำให้ซออู้ทุกคันที่สร้างโดยครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล เป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพเสียงดีเยี่ยมและเป็นงานกลึงที่ประณีต งดงาม จนเป็นที่ยอมรับในกลุ่มนักดนตรีไทยโดยทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลให้ซออู้มีคุณภาพเสียงดี มี 8 ประการคือ 1. การคัดวัสดุ 2. การกำหนดแนวของลูกบิดและการพัน รัดอก 3. การกำหนดตำแหน่งของรัดอกด้วยสัดส่วนเฉพาะ 4. การคว้านปากคันชัก 5. พื้นฐานทางดนตรีไทย 6. ความเอาใจใส่ในงานช่างทุกขั้นตอนเท่าๆกัน 7. สัดส่วนของคันทวน ลูกบิด คันชัก 8. การกำหนดตำแหน่งฉลุลาย en
dc.description.abstractalternative The study is entitled Production Approaches of SAW-U by Kru Teerapan Thummanukul. It aims to study the history of SAW-U production by Kru Teerapan Thummanukul and to study the approaches used to produce SAW-U as well as to study the influencing factors on sound quality of SAW-U made by Kru Teerapan Thummanukul. The field study is used to collect the information by being his assistant of the SAW-U maker for two months. After being accepted to be his students five years ago. The study found that Kru Teerapan Thammanukul has preserved the shape and proportion of Saw-U from Duriyaban and he has developed the shape and proportion from Duriyaban to be of his own standard. The production approaches of SAW-U by Kru Teerapan Thummanukul show his unique styles from the fine pattern from three kinds of knives, lacquer spray, the polishing process by abrasive water, the proportion of pattern planning on the coconut shell and the elaboration in every production processes. The whole process takes about two months. Kru Teerapan Thammanukul paid close attention to every step in production process with full attention on quality material selection. The selections included coconut shell, goatskin, horsetail, rope, and the bridge trimming the body of SAW-U is lathed with the standard proportion of in Duriyaban. The significance of shape, proportion of the body, handle and bow result to the sound quality of SAW-U. It’s clear, soft and ringing tone came from the traditional Thai musical experiences and art work with the understanding in the traditional Thai music science of the creator that is the main factor in the production process. This made every SAW-U made by Kru Teerapan Thammanukul being accepted by general Thai traditional music players. There are eight factors contributing to the good sound quality of SAW-U 1. material selection 2. setting the line of handle 3. tighten with the specific proportion 4. making the bow mouth 5. knowledge Traditional Thai music 6. close attention to every step 7. the proportion of body, handle and bow 8. setting the position of carving pattern. en
dc.format.extent 28618884 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1218
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล en
dc.subject ซออู้ en
dc.subject ซออู้ -- การผลิต en
dc.subject เครื่องดนตรีไทย en
dc.title กรรมวิธีการสร้างซออู้ของครูธีรพันธุ์ ธรรมานุกูล en
dc.title.alternative Production methods of Saw-U by Kru Teerapan Thummanukul en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ดุริยางค์ไทย es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Pornprapit.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.1218


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [866]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record