dc.contributor.advisor | ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์ | |
dc.contributor.author | นิอร ศิริเลิศพิทักษ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2013-05-02T02:13:26Z | |
dc.date.available | 2013-05-02T02:13:26Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30730 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยม 2551 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของค่าจ้างต่ออุปทานแรงงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจพฤติกรรมที่แตกต่างกันของลูกจ้างแต่ละประเภทอาชีพและบางสาขาอาชีพที่คาดว่าจะขาดแคลนแรงงาน เปรียบเทียบระหว่างลูกจ้างเพศชายที่สมรสแล้วกับลูกจ้างเพศหญิงที่สมรสแล้ว จนกระทั่งได้ผลลัพธ์เป็นค่าความยืดหยุ่นของชั่วโมงทำงานของลูกจ้างแต่ละอาชีพเมื่อค่าจ้างเปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาโดยใช้วิธีประมาณค่าสมการถดถอย Heckman Two-step Estimator พบว่า ค่าความยืดหยุ่นของชั่วโมงทำงานต่อค่าจ้างในลูกจ้างเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกัน นั่นคือ ลูกจ้างหญิงที่สมรสแล้วแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ค่าความยืดหยุ่นของชั่วโมงทำงานต่อค่าจ้างน้อย ได้แก่ลูกจ้างหญิงอาชีพที่ 1 ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ (-0.037) อาชีพที่ 2 ผู้ประกอบอาชีพที่ใช้วิชาชีพด้านต่างๆ (0.034) อาชีพที่ 3 ช่างเทคนิคสาขาต่างๆและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (0.64) อาชีพที่ 4 เสมียน (0.45) อาชีพที่ 5 พนักงานบริการและผู้จำหน่ายสินค้าในร้านและตลาด (0.31) และกลุ่มที่ค่าความยืดหยุ่นของชั่วโมงทำงานต่อค่าจ้างมาก ได้แก่ ลูกจ้างหญิงอาชีพที่ 6 ผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและการประมง (1.38) อาชีพที่ 7 ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจด้านความสามารถทางฝีมือและธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (1.50) อาชีพที่ 8 ผู้ปฏิบัติการเครื่องจักรโรงงานและเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ (1.42) อาชีพที่ 9 อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ (1.31) ขณะที่ค่าความยืดหยุ่นของชั่วโมงทำงานต่อค่าจ้างน้อยในลูกจ้างชายที่สมรสแล้วทุกอาชีพ สำหรับอาชีพที่คาดว่าจะขาดแคลนแรงงาน พบว่า ค่าความยืดหยุ่นของค่าจ้างในลูกจ้างหญิงมาก นั่นคือ อาชีพพนักงานเสิร์ฟฯ (1.324 ) และ อาชีพด้านการทำความสะอาด (1.412) ส่วนลูกจ้างชายมีความยืดหยุ่นน้อย นั่นคือ อาชีพช่างเทคนิคฯ (0.13) อาชีพพนักงานเสิร์ฟฯ (0.22) อาชีพด้านการทำความสะอาด (0.55) และ อาชีพวิศวกร (-0.03) จากผลการศึกษา จึงเสนอให้มีการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นในอาชีพที่ขาดแคลนแรงงาน (ยกเว้นวิศวกร) เพราะลูกจ้างทั้งเพศหญิงและเพศชายต่างมีแนวโน้มว่าจะทำงานเพิ่มขึ้นหากค่าจ้างเพิ่มขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to analyze the effect of wages on labor supply. The main goal is to study different behaviors among employees in various careers, including careers in short supply, by comparing between married men and married women. Moreover, the final results provide wage elasticity of employees’ working hours. From estimation of regression using Heckman two-step estimator, it is found that the elasticity of working hours with respect to wage between male and female was different. Married women employees could be divided into 2 groups. In the first group, the wage elasticity of working hours was rather small. Career groups (their elasticities) are the following: the 1st career, legislators, senior officials and managers (-0.37); the 2nd career, professionals (0.034); the 3rd career, technicians and associate professionals (0.64); the 4th career, clerks (0.45); the 5th career, service workers and shop and market sales workers (0.31). In the second group, the wage elasticity was much larger. Career groups (their elasticities) are the following: the 6th career, skilled agricultural and fishery workers (1.38); the 7th career, craft and related trades workers (1.50); the 8th career, plant and machine operators and assemblers (1.42); the 9th career, elementary occupations (1.31). The wage elasticities among married men employees were rather small in every career groups. However, for careers in short supply, the wage elasticities among women employees were rather large: waitresses (1.324) and cleaning workers (1.142). For men employees, the wage elasticities were small among technician (0.13), waiter (0.22) cleaning workers (0.55), and engineer (-0.03) From the study, it is proposed to increase wages for careers in short supply (except engineer) since both male and female tend to work more if they can earn more. | en |
dc.format.extent | 1687147 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1385 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ค่าจ้าง | en |
dc.subject | ค่าแรง | en |
dc.subject | ลูกจ้าง -- เงินเดือน | |
dc.subject | พยากรณ์การจ้างงาน | |
dc.subject | อุปทานแรงงาน | |
dc.subject | Wages | |
dc.subject | Labor costs | |
dc.subject | Employees -- Salaries, etc. | |
dc.subject | Employment forecasting | |
dc.subject | Labor supply | |
dc.title | ผลกระทบของค่าจ้างต่ออุปทานแรงงาน จำแนกตามอาชีพในภาคนอกการเกษตร | en |
dc.title.alternative | Effect of wage on labor supply classified by occupation in non-agricultural sector | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chairat.A@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1385 |