dc.contributor.advisor |
สุพล เลื่องยศลือชากุล |
|
dc.contributor.advisor |
อธิภู นันทประเสริฐ |
|
dc.contributor.author |
คัมภีร์ กอธีระกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2013-05-02T03:45:52Z |
|
dc.date.available |
2013-05-02T03:45:52Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30739 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en |
dc.description.abstract |
การศึกษากลุ่มลูกสุกรดูดนมสภาพร่างกายป่วยโทรมที่มีอายุระหว่าง 14-25 วัน และกลุ่มสุกรอนุบาลป่วยโทรมที่มีอายุระหว่าง 6-8 สัปดาห์ โดยการสุ่มเฉพาะลูกสุกรที่มีการป่วยด้วยอาการผ่ายผอม ไม่กินอาหาร มีไข้ ขนลุกฟู ขนยาวหยาบกร้าน ตัวซีด หยุดโตและทรุดโทรม ทำการเก็บตัวอย่างซีรั่มและผ่าซากเพื่อเก็บอวัยวะต่างๆ นำมาตรวจด้วยวิธีการพีซีอาร์ เพื่อหาไวรัสเซอร์โคไทป์สอง ไวรัสพีอาร์อาร์เอส และไวรัสอหิวาต์สุกร ในจำนวนฟาร์มที่ศึกษาครั้งนี้ 10 ฟาร์ม และฟาร์มศึกษาควบคุม case control farm อีกหนึ่งฟาร์ม รวมเป็น 11 ฟาร์ม จำนวนลูกสุกรดูดนมป่วยโทรมที่ผ่าซาก 59 ตัว และสุกรอนุบาลป่วยโทรมที่ผ่าซาก 67 ตัว รวมจำนวนทั้งสิ้น 126 ตัว จากจำนวน 10 ฟาร์มที่ศึกษา ผลการตรวจพีซีอาร์จากตัวอย่างซีรั่มรวมจากลูกสุกรดูดนมป่วยโทรมของแต่ละฟาร์ม ไม่พบไวรัสเซอร์โคไทป์สองในซีรั่ม พบไวรัสพีอาร์อาร์เอส 20% และพบไวรัสอหิวาต์สุกร 10% ส่วนผลการตรวจพีซีอาร์จากตัวอย่างอวัยวะรวม พบไวรัสเซอร์โคไทป์สอง 10% พบไวรัสพีอาร์อาร์เอส 20% และพบไวรัสอหิวาต์สุกร 10% สำหรับกลุ่มสุกรอนุบาลป่วยโทรม ผลการตรวจพีซีอาร์จากตัวอย่างซีรั่มรวม พบไวรัสเซอร์โคไทป์สอง 50% พบไวรัสพีอาร์อาร์เอส 80% และพบไวรัสอหิวาต์สุกร 30% ส่วนผลการตรวจพีซีอาร์ตัวอย่างอวัยวะรวม พบไวรัสเซอร์โคไทป์สอง 50% ไวรัสพีอาร์อาร์เอส 70% และไวรัสอหิวาต์สุกร 40%
ไวรัสทั้งสามชนิดถูกตรวจพบด้วยความถี่ที่สูงมากในกลุ่มสุกรป่วยของภาคอนุบาล จึงน่าจะเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียที่มักพบสูงมากของฟาร์มทั่วไปในปัจจุบัน ที่มีประวัติพบกลุ่มอาการป่วยโทรมหลายระบบหลังหย่านม (PMWS) โดยมีจุดเริ่มต้นของการติดโรคไวรัสทั้งสามแล้วตั้งแต่ในห้องคลอด โรคพีอาร์อาร์เอสยังเป็นปัญหาใหญ่สุด การตรวจวินิจฉัยโดยการเก็บตัวอย่างซีรั่มจากสุกรป่วยหลายตัวมารวมกัน เพื่อตรวจพีซีอาร์กับโรคพีอาร์อาร์เอสยังเป็นวิธีที่ได้ผลดี การตรวจวินิจฉัยโดยใช้ซีรั่มไม่แม่นยำทั้งหมดหากเป็นกรณีของโรคเซอร์โคไวรัสไทป์สอง เมื่อต้องการศึกษาเปรียบกับการใช้อวัยวะเป้าหมายเก็บจากการผ่าซาก ส่วนภาวะโรคอหิวาต์สุกรที่ให้ผลบวกในจำนวนหนึ่งนั้น แสดงถึงการหวนกลับมาพบสูงขึ้นในระบบฟาร์มที่น่าจะมีภาวะแฝงโรคอยู่ในฝูงสุกรแม่พันธุ์ ขณะที่ผลการตรวจพีซีอาร์ต่อไวรัสเซอร์โคไทป์สองจากตัวอย่างอวัยวะต่างๆ ที่แยกตรวจ 8 อวัยวะ (35 pools) โอกาสตรวจพบไวรัสเซอร์โคไทป์สองพบว่าเพิ่มสูงขึ้นในลูกสุกรดูดนมป่วยโทรมสูงขึ้นเป็น 50% และโอกาสตรวจพบไวรัสเซอร์โคไทป์สองเพิ่มสูงขึ้นในสุกรอนุบาลป่วยโทรมสูงเป็น 60% โดยมี 2 ฟาร์มที่พบไวรัสทั้งในลูกสุกรดูดนมและสุกรอนุบาล ขณะที่อีก 2 ฟาร์ม พบเฉพาะในลูกสุกรดูดนม กับอีก 2 ฟาร์มที่พบเฉพาะในสุกรอนุบาล ในจำนวน 6 จาก 10 ฟาร์มที่ตรวจพบไวรัสเซอร์โคไทป์สอง (24 pools) พบผลบวก 58.33% ของตัวอย่างอวัยวะต่างๆ ที่ตรวจ (14/24 pools) อวัยวะที่ตรวจพบไวรัสเซอร์โคไทป์สอง ได้มากสุดคือ ท็อนซิลและไต หากคิดเป็นความถี่ตัวอย่างอวัยวะที่ให้ผลบวก โอกาสพบสูงเรียงตามลำดับคือ ที่ท็อนซิล 50% ไต 41.66% กลุ่มต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง 25% กลุ่มต่อมน้ำเหลืองในระบบทางเดินหายใจ 16.66% ต่อมน้ำเหลืองพวงลำไส้ 16.66% ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ 12.50% ที่เหลือคือที่ปอดพบเพียงตัวอย่างเดียว (4.16%) และที่ม้ามตรวจไม่พบเลย ม้ามจึงอาจจะไม่ใช่อวัยวะเป้าหมายของไวรัสเซอร์โคไทป์สอง |
en |
dc.description.abstractalternative |
Groups of wasting, cachexia and retard growth piglets were selected from farrowing house at the age of 14-25 days together with the groups of 6-8 weeks old pigs at nursery barn from 10 selected farms which history of PMWS and high loss related. One case control farm, free from 3 target viruses was reserved as control. From each individual pig serum and target organs namely : tonsil, lung, lymph nodes in upper respiratory system, GI tract system, mesenteric lymph nodes and superficial inguinal lymph nodes, spleen and kidney (8 organs)were collected from piglets of those 2 groups per farm. Pool sera and pool organs were tested by PCR technique for 3 viruses: porcine circo virus type2 (PCV2), porcine reproductive and respiratory syndrome (PRRS) and classical swine fever (CSF). The PCR results from 10 farms, suckling piglet group, pool sera were negative to PCV2, positive to PRRS 20% and positive to CSF 10%, pool organs were positive to PCV2 10%, positive to PRRS 20% and positive to CSF 10%. From nursery pig group, pool sera were PCV2 positive 50%, PRRS positive 80% and CSF positive 30%, pool organs were PCV2 positive 50%, PRRS positive 70% and CSF positive 40% respectively. From 10 farms, 8 organs from both groups were tested only PCV2 by PCR. PCV2 was found positive 58.33% of tested organs in six PCV2 positive farms out of 10 farms. Frequency of organs to found PCV2-positive samples were mostly in tonsil and kidney (50% and 41.66%). Whereas lymph nodes group were found lower in this study, lymph nodes in abdominal cavity were found 25%, upper respiratory lymph nodes 16.66%, mesenteric lymph nodes 16.66%, superficial inguinal lymph nodes 12.50% and lung 4.17% while spleen was not found. |
en |
dc.format.extent |
2041091 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1363 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
สุกร -- โรค |
en |
dc.subject |
สุกร -- โรคเกิดจากไวรัส |
en |
dc.subject |
เซอร์โคไวรัส |
en |
dc.subject |
โรคพีอาร์อาร์เอส |
en |
dc.subject |
อหิวาต์สุกร |
en |
dc.subject |
การบริหารโรค |
|
dc.subject |
Swine -- Diseases |
|
dc.subject |
Swine -- Virus diseases |
|
dc.subject |
Circoviruses |
|
dc.subject |
Porcine reproductive and respiratory syndrome |
|
dc.subject |
Classical swine fever |
|
dc.subject |
Disease management |
|
dc.title |
หลักฐานการตรวจพบเชื้อไวรัสเซอร์โคไทป์สอง (PCV2) เชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส (PRRSV) และเชื้อไวรัสอหิวาต์สุกร (CSFV) ในลูกสุกรดูดนมและอนุบาลจากฟาร์มที่มีปัญหากลุ่มอาการป่วย Post-weaning multi-systemic wasting syndrome (PMWS) |
en |
dc.title.alternative |
Evidence of porcine circovirus type2 (PCV2), porcine reproductive and respiratory syndrome virus (PRRSV) and classical swine fever virus (CSFV) in suckling and nursery pigs from farms with post-weaning multisystemic wasting syndrome (PMWS) |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์สัตวแพทย์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Isupol@chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Athipoo.N@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2010.1363 |
|