DSpace Repository

การวิเคราะห์ภาษีทรัพย์สิน : กรณีศึกษาภาษีอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์
dc.contributor.author วรมงคล ยศะทัตต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2013-05-14T10:40:37Z
dc.date.available 2013-05-14T10:40:37Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30930
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en
dc.description.abstract จากข้อบกพร่องต่างๆ ของการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดินในปัจจุบันของประเทศไทย เป็นผลให้มีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบภาษีทรัพย์สิน โดยมีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีในอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท และใช้ราคาทุนทรัพย์เป็นฐานภาษี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงจะศึกษาเน้นหลักไปที่การศึกษาภาษีทรัพย์สินทั้งสองประเภท โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกศึกษาภาระภาษีทรัพย์สินในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์อัตราภาษีเฉลี่ยต่อรายได้ทั้งหมดในการศึกษาโครงสร้างภาษีตามชั้นรายได้ ส่วนที่สองจะศึกษาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะใช้วิธีการวิเคราะห์อัตราภาษีเฉลี่ยต่อรายได้ทั้งหมดและการคำนวณหา Concentration index เพื่อวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางภาษี ส่วนที่สาม เป็นการวิเคราะห์มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ครัวเรือนถือครอง ซึ่งจะประเมินหามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ครัวเรือนใช้ทำการเกษตร การพาณิชย์ และเป็นที่อยู่อาศัย และท้ายที่สุดศึกษาปัจจัยในการกำหนดการชำระภาษีทรัพย์สินในปัจจุบันของประเทศไทย โดยการศึกษาทั้งหมดนี้จะใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ของสำนักงานสถิติแห่งชาตินั้นเลือกใช้ข้อมูลในปี พ.ศ. 2529, 2537 และ 2547 เป็นหลักในการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ภาษีทรัพย์สินในปัจจุบันก่อให้เกิดภาระภาษีที่เพิ่มมากขึ้นแก่ครัวเรือนตลอดช่วงเวลาจากปี พ.ศ. 2529-2547 โดยอัตราภาษีเฉลี่ยต่อรายได้อยู่ที่ประมาน 0.2% และพบว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีความก้าวหน้าเช่นเดียวกันกับภาษีทรัพย์สินในปัจจุบัน และการจัดเก็บภาษีจากที่อยู่อาศัยมีส่วนสำคัญในการเพิ่มภาระภาษีทรัพย์สิน เมื่อเปรียบเทียบกับภาษีทรัพย์สินปัจจุบัน โดยภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของครัวเรือนเมื่อเปรียบเทียบกับรายสัดส่วนที่อยู่ที่ระหว่าง 0.1056% ถึง 0.5280% (โครงสร้างภาษีที่ 1-3) และท้ายที่สุดพบว่า รายได้ทางการเกษตรและรายได้จากทรัพย์สินของครัวเรือน เป็นผลทำให้ความน่าจะเป็นในการชำระภาษีทรัพย์สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้น en
dc.description.abstractalternative Due to many shortcomings of present Land Development Tax and Housing and Land Tax in Thailand, the parliament has drafted Land and Building Tax Bill. The objective of the Bill is to collect property tax based on the assessed value of both land and its improvement in the Kingdom with few exceptions so as to improve current property tax system. This thesis aims to study and compare property tax systems by dividing into 3 parts. First, the present property tax incidence in Thailand is studied by analyzing average tax rates of income classes. Second, the new Land and Building Tax incidence is studied by analyzing the tax progressivity and concentration index. Third, the Multinomial Logistic regression is used to analyze the determinants of the present property tax in Thailand. Data used are from Thailand Household Socio-Economic Survey in 1986, 1994 and 2004. The burden of property tax has increased over 1986-2004, and the average tax rate was at most 0.2 percent. Both present property tax system and the property tax draft Bill also show tax progressivity. However, collecting property tax on houses has an important role of increasing tax burden in the new tax Bill. The effective Land and Building tax rate, however, was about 0.1056% to 0.5280%. Finally, entrepreneurial income and farming income increase the probability of paying the present property taxes in Thailand. en
dc.format.extent 2585167 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1421
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ภาษีทรัพย์สิน -- ไทย en
dc.subject ภาษีโรงเรือนและที่ดิน -- ไทย en
dc.subject Property tax -- Thailand en
dc.subject Real property tax -- Thailand en
dc.title การวิเคราะห์ภาษีทรัพย์สิน : กรณีศึกษาภาษีอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย en
dc.title.alternative Property tax analysis : the case of real estate and property tax en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Chairat.A@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1421


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record