dc.contributor.advisor | สุลักษณ์ ศรีบุรี | |
dc.contributor.author | อริยพร สมจิตต์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-05-28T08:51:58Z | |
dc.date.available | 2013-05-28T08:51:58Z | |
dc.date.issued | 2534 | |
dc.identifier.isbn | 9745791458 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31480 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการศึกษาในสาขาวิชาศิลปศึกษาของนักศึกษาวิชาเอกศิลปศึกษา หลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 2 ปี ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในด้านสาเหตุที่เลือกเข้าศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา การเรียนการสอนในสาขาวิชาศิลปศึกษา และแนวโน้มในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ที่กำลังเรียนเป็นปีสุดท้ายของหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2532 จำนวน 112 คน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบตรวจสอบรายการ แบบประเมินค่า และแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาโดยใช้การทดสอบค่าที ผลของการวิจัยพบว่า นักศึกษาสาขาศิลปศึกษา หลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 2 ปี มีความคิดเห็นในด้านสาเหตุที่เลือกเข้าศึกษาในสาขาศิลปศึกษา และการเรียนการสอนในสาขาวิชาศิลปศึกษา ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านแนวโน้มในการประกอบอาชีพ ที่นักศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในแบบสอบถามปลายเปิด มีข้อเสนอแนะสำคัญที่พอสรุปได้ดังนี้ คือ อาจารย์ควรมีความยุติธรรม ยอมรับความคิดเห็นของนักศึกษา และส่งเสริมการทำงานและการแสดงออก วิธีการสอนของอาจารย์ควรปรับปรุงให้น่าสนใจและทันสมัยอยู่เสมอ ในด้านหลักสูตรควรเพิ่มเวลาเรียนในการปฏิบัติงาน และเพิ่มวิชาบังคับศิลปะ ควรเพิ่มรายวิชาเลือกที่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันและที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด ความสามารถ ความสนใจ และควรเชิญอาจารย์พิเศษที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชามาสอน ในด้านเนื้อหาของหลักสูตรควรเน้นภาคปฏิบัติให้มากขึ้น เพื่อนักศึกษาจะได้มีประสบการณ์ตรง และควรให้ข้อมูลในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพแก่นักศึกษาก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research were to compare the opinions towards studying in the Art Education program of four year program and two year program students in higher education institutions under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs concerning on the reasons of program selection, learning and teaching, and trend to professional career and the further their studies. The population of this research were 112 art education students, which studying in the forth year of art education program in academic year 1989, namely, Chulalongkorn University, Srinakharinwirot University Prasarnmit, Srinakharinwirot University at Mahasarekham, Srinakharinwirot University at Bangsean, and Khon Kaen University. The researcher constructed one set of questionnaire for art education students consisted of check lisk, rating scale, and open-ended questions. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and t-test. The research findings revealed that the opinions of four year program students and two year students concerning the reasons of program selection and learning and teaching were no significant difference, exempt, the opinions concerning trend to professional career had statistically different. In the open-ended questionnaires, there were important suggestions which can be concluded as followings: the instructors should be fair, accept the students’ opinions, and encourage students’ works and expression. Method of teaching should be interesting and up dated, In the curriculum aspect, time of practicing art in studio and art course requirement should be increased. The elective courses should up to date and necessary to professional career. These elective courses should serve students’ aptitudes, abilities, and interests. The invited professor should be keen and specialized in each field. In the aspect of content area studio should emphasized for students to gain more experience. The institutions should give students about informations for furthers study and for getting their jobs before graduating a degree program. | |
dc.format.extent | 4568452 bytes | |
dc.format.extent | 6181912 bytes | |
dc.format.extent | 33692180 bytes | |
dc.format.extent | 3453224 bytes | |
dc.format.extent | 20667575 bytes | |
dc.format.extent | 11032758 bytes | |
dc.format.extent | 19253138 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาหลักสูตร 4 ปีและหลักสูตร 2 ปี เกี่ยวกับการศึกษาในหลักสูตรศิลปศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวง มหาวิทยาลัย | en |
dc.title.alternative | A comparison of opinions of four year program and two year program students concernig the study in the art education program in higher education institutions under the jurisdiction of the ministry of University Affairs | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |