Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของการหมุนภาพในใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์กับนักศึกษาที่ไม่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์จำนวน 120 คนแบ่งเป็นเพศชาย 60 คนและเพศหญิง 60 คน โดยใช้แบบทดสอบความสามารถการหมุนภาพในใจที่พัฒนามาจากแบบทดสอบของ Shepard & Metzler (1971) ผลการวิจัยพบว่า 1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์ ต่อความสามารถในการหมุนภาพในใจ (F=7.784, p< .01)โดยนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศชายทั้งที่ผ่านการฝึกด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์และที่ไม่ผ่านการฝึกมีความสามารถในการหมุนภาพในใจสูงกว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศหญิง 2. ความสามารถการหมุนภาพในใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์ สูงกว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (F=39.308, p<.001) 3. ความความสามารถในการหมุนภาพในใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศชายสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ (F=69.366, p<.001) 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดสินภาพหมุนในใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านการฝึกทักษะด้าน จินตภาพและมิติสัมพันธ์ ไม่แตกต่างจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์ 5. ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดสินภาพหมุนภาพในใจระหว่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศชายมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ (F=4.731, p<.05)