DSpace Repository

การหมุนภาพในใจของนักศึกษามหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
dc.contributor.author วรงค์ ถาวระ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2013-06-01T06:41:05Z
dc.date.available 2013-06-01T06:41:05Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31816
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของการหมุนภาพในใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์กับนักศึกษาที่ไม่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์จำนวน 120 คนแบ่งเป็นเพศชาย 60 คนและเพศหญิง 60 คน โดยใช้แบบทดสอบความสามารถการหมุนภาพในใจที่พัฒนามาจากแบบทดสอบของ Shepard & Metzler (1971) ผลการวิจัยพบว่า 1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์ ต่อความสามารถในการหมุนภาพในใจ (F=7.784, p< .01)โดยนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศชายทั้งที่ผ่านการฝึกด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์และที่ไม่ผ่านการฝึกมีความสามารถในการหมุนภาพในใจสูงกว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศหญิง 2. ความสามารถการหมุนภาพในใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์ สูงกว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (F=39.308, p<.001) 3. ความความสามารถในการหมุนภาพในใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศชายสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ (F=69.366, p<.001) 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดสินภาพหมุนในใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านการฝึกทักษะด้าน จินตภาพและมิติสัมพันธ์ ไม่แตกต่างจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่ผ่านการฝึกทักษะด้านจินตภาพและมิติสัมพันธ์ 5. ระยะเวลาที่ใช้ในการตัดสินภาพหมุนภาพในใจระหว่างนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพศชายมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ (F=4.731, p<.05) en
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were to explore mental rotation ability between undergraduate students who had been trained in mental image and spatial skills and those who were untrained. The sample consisted of 120 students, 60 males and 60 females. The mental rotation test was developed by using Shepard and Metzler’s (1971) mental rotation test as the prototype. Result are as follows: 1. There was an interaction effect between sex and mental image and spatial skills training on students’ mental rotation ability (F=7.784, p< .01). The male students of both trained and untrained groups performed better than the female students. 2. Students who had been trained in mental image and spatial skills had significantly higher scores on the mental rotation test than students who were untrained (F=39.308, p<.001). 3. Male students had significantly higher scores on the mental rotation test than female students (F=69.366, p<.001). 4. The average reaction time to the mental rotation test of both groups of students was not different. 5. Male students took more time to finish the mental rotation test than female students (F=4.731, p<.05). en
dc.format.extent 3379036 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.994
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject นักศึกษา en
dc.subject ความคิดและการคิด en
dc.subject จินตภาพ en
dc.subject ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ en
dc.subject Students en
dc.subject Thought and thinking en
dc.subject Imagery (Psychology) en
dc.subject Spatial ability en
dc.title การหมุนภาพในใจของนักศึกษามหาวิทยาลัย en
dc.title.alternative Mental rotation in undergraduate students en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาพัฒนาการ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Penpilai.R@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.994


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record