DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีน : วิเคราะห์ปัจจัยเสริมสร้าง ที่ทำให้ญี่ปุ่นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีน (พ.ศ.2515)

Show simple item record

dc.contributor.advisor เขียน ธีระวิทย์
dc.contributor.author เอกรินทร์ ลี่มหาศาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2013-06-07T09:01:46Z
dc.date.available 2013-06-07T09:01:46Z
dc.date.issued 2526
dc.identifier.isbn 9745624292
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32037
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 en
dc.description.abstract ในปี พ.ศ. 2515 ญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับปัญหารอบด้านทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาสองจีนเป็นปัญหาในนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นมาก เนื่องจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมิตรประเทศของญี่ปุ่นได้เปลี่ยนท่าทีและนโยบายต่างประเทศต่อจีนใหม่โดยไม่ได้ร่วมปรึกษากับญี่ปุ่นก่อน ตามหลักการที่เคยตกลงกันไว้ ทำให้ญี่ปุ่นทั้งไม่พอใจและตกใจจนกลายเป็นสถานการณ์ที่เรียกกันว่า “นิกสันช็อค” และอีกไม่นานต่อมา นายกรัฐมนตรีทานาคะ ได้เดินทางไปสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในขั้นปกติกับจีน ทำให้มีผู้วิจารณ์ไปต่าง ๆ นานาว่าญี่ปุ่นใช้นโยบายต่างประเทศเดินตามหลังสหรัฐอเมริกาบ้าง แต่บางคนก็ว่าดำเนินนโยบายล้ำหน้าสหรัฐอเมริกา เพราะญี่ปุ่นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนก่อนสหรัฐอเมริกา ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเข้าใจที่กระจ่างชัดว่าเหตุใดรัฐบาลญี่ปุ่นจึงสามารถดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในขั้นปกติกับจีนก่อนสหรัฐอเมริกา ผู้ศึกษาได้ตั้งสมมติฐานหลักเพื่อการศึกษาว่า “การที่ญี่ปุ่นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เมื่อปี พ.ศ. 2515 เป็นเพราะแรงผลักดันจากปัจจัยภายนอกมากกว่าปัจจัยภายใน” วิธีการวิจัยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ใช้การวิจัยเชิงเอกสารทางประวัติศาสตร์ทั้งสิ้นเอกสารที่ว่านี้มี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ เป็นเอกสารความเรียงทั่วไป และเป็นเอกสารการวิจัยที่ทำเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งพิมพ์ปรากฏในตำรา คำบรรยาย วารสาร และสิ่งพิมพ์ทางราชการอื่น ๆ เอกสารส่วนใหญ่เป็นเอกสารภาษาอังกฤษ และอาจมีบ้างที่เป็นภาษาญี่ปุ่น แนวการวิเคราะห์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเน้นทางประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศเป็นเกณฑ์สำคัญ จากการวิจัยพบว่า สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประเทศมหาอำนาจและองค์การระหว่างประเทศมีส่วนผลักดันให้ญี่ปุ่นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนในปี พ.ศ. 2515 มากกว่าสถานการณ์การเมืองภายในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายใน พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ทัศนะของผู้นำ มติมหาชนและสื่อมวลชนในญี่ปุ่น กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2515 มีปัจจัยภายนอกมากระทบญี่ปุ่นหลายปัจจัย ซึ่งล้วนแต่ส่งผลสำคัญต่อญี่ปุ่นให้ดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ปัจจัยภายนอกเหล่านี้ประกอบด้วยเรื่องความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียตกับจีนความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น ความเปลี่ยนแปลงในเอเชีย ปัญหาน่านน้ำระหว่างญี่ปุ่นกับสหภาพโซเวียต ความมั่นคงร่วมระหว่างสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น การต่อต้านลัทธิครองความเป็นเจ้า ปัญหาการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา ประเทศเล็ก ๆ ในเอเชีย ตลาดร่วมยุโรปและออสเตรเลีย กลุ่มประเทศในตะวันออกกลางและการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับจีน นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองจีนในองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งท่าทีของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตที่มีต่อจีน และโดยเฉพาะท่าทีที่ญี่ปุ่นมีต่อจีนและจีนมีต่อญี่ปุ่นล้วนแต่มีบทบาทในการเสริมสร้างให้ญี่ปุ่นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ส่วนปัจจัยภายในก็มีบทบาทต่อการผลักดันให้ญี่ปุ่นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนเหมือนกัน แต่มีบทบาทน้อยกว่าปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในเหล่านี้ประกอบด้วยเรื่องนโยบายสองจีนของญี่ปุ่น การเลือกตั้งประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย นโยบายเงินเฟ้อของรัฐบาลซาโตะ นโยบายการคลังที่เน้นการระดมทุนเพื่อการขยายอุตสาหกรรมการส่งออก การผลิตมากเกินไปในวงจรอุตสาหกรรม นโยบายการเร่งการส่งออกของนายกรัฐมนตรีซาโตะ การปรับค่าเงินเยนให้สูงขึ้น การเปลี่ยนให้เป็นเสรีทางการค้า พรรคการเมืองของญี่ปุ่นส่วนมากสนับสนุนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน การหนุนช่วยของกลุ่มขวาใหม่ภายในพรรคเสรีประชาธิปไตย สมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มชันเคน กลุ่มข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มนิยมจีนในรัฐสภาญี่ปุ่น กลุ่มนายกรัฐมนตรีทานาคะ รวมทั้งมติมหาชนที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายสองจีนของรัฐบาลซาโตะ และการเสนอข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับประธานาธิปบดีนิกสันเยือนจีน ข่าวการรับรองจีนในองค์การสหประชาชาติและข่าวการต่อต้านการขยายกำลังป้องกันตนเองของสื่อมวลชนญี่ปุ่น ล้วนเป็นปัจจัยภายในที่มีบทบาททั้งโดยตรงและอ้อมทั้งสิ้น
dc.description.abstractalternative Facing both internal and external problems, 1972 appeared to be one of the most crucial years for Japan. Particularly, “Two China’s” emerged as a major problem in Japan’s foreign policy. The United States, its long-time ally, abruptly changed attitude and policy toward the mainland China without consulting Japan in advance. In effect, Japan was shocked and disappointed. The so-called Nixon shock prompted Prime Minister Tanaka to travel to peking to establish diplomatic relations with China in 1972. Normalization of Sino-Japanese drew various criticisms. Some said Japan’s foreign policy apparently followed that of the United States. Others, however, were of the opinion that Japan was ahead of Washington in its success in normalizing its diplomatic relations with peking 6 years before the United States. To clearify these criticisms, this study is based on the hypothesis that “external factors rather than domestic ones were independent variables prompting Japan to normalize its diplomatic relations with China in 1972. This thesis is based entirely on historical documents, which are found mainly in two categories:- general documents; and specific research documents on this topic which appear in texts, lectures, journals and other official publications. Most of the documents are in English, with some in Japanese. The analytical theme of this thesis focus on political and economic history, both at domestic and external level, rising positive and negative value as variables to calculate the weight of each factor. This would be very beneficial to compare each factor in order to finally prove or disprove the hypothesis. The study found that the external factors had more weight than domestic factors in prompting Japan to normalize the diplomatic relations with China in 1972. In other words, international political situation, international economic situation, great powers politics and international organizations exerted more pressure on the establishment of diplomatic relation between Japan and China than domestic political situation, domestic economic situation, political parties, interest groups, leaders, attitude, public opinion and Japanese mass media. The external factors were as follows : the Sino-Soviet rivalries; the tensed U.S.-Japanese relations; the changing in international political circumstances in Asia; the Sino-Soviet disputes over territorial waters; the anti-hegemonism; Japan’s problems with trading partners; problem of credentials of China at the United Nations; the United States and the Union of Soviet Socialist Republic’s positions on China; and, particularly, Japan’s attitude towards China and vice-versa.
dc.format.extent 5483988 bytes
dc.format.extent 2860324 bytes
dc.format.extent 10264922 bytes
dc.format.extent 17561630 bytes
dc.format.extent 15908743 bytes
dc.format.extent 14459713 bytes
dc.format.extent 14046640 bytes
dc.format.extent 9823159 bytes
dc.format.extent 5683121 bytes
dc.format.extent 7960213 bytes
dc.format.extent 8825435 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐประชาชนจีน : วิเคราะห์ปัจจัยเสริมสร้าง ที่ทำให้ญี่ปุ่นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีน (พ.ศ.2515) en
dc.title.alternative The Sino-Japanese relations : an analysis of positive factors for Japan's establishment of diplematic relations with China (1972) en
dc.type Thesis es
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record