Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของระดับความสูงต่างๆ ของเดือยเส้นใยในแกนฟันเรซินคอมโพสิตต่อความล้มเหลวในการบูรณะฟันที่รักษาคลองรากฟัน ด้วยการทดสอบความต้านทานต่อการแตกหักของฟันตัดซี่กลางบนของมนุษย์ในห้องปฏิบัติการ โดยคัดเลือกเฉพาะฟันที่มีความยาวของรากฟัน 13 +- 2 มิลลิเมตร และไม่เคยรักษาคลองรากฟันมาก่อน จำนวน 40 ซี่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มควบคุม (กลุ่มละ 5 ซี่) และ 3 กลุ่มทดสอบ (กลุ่มละ 10 ซี่) ด้วยวิธีการสุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่อุดปิดรูเปิดคลองรากฟันด้วยเรซินคอมโพสิต (กลุ่มที่ 1) กลุ่มที่บูรณะด้วยเดือยเส้นใยควอทซ์ (กลุ่มที่ 2) กลุ่มที่มีความสูงของเดือยเส้นใย 2 มิลลิเมตรในแกนฟันเรซินคอมโพสิต 6 มิลลิเมตร (กลุ่มที่ 3) กลุ่มที่มีความสูงของเดือยเส้นใย 2 มิลลิเมตรในแกนฟันเรซินคอมโพสิต 6 มิลลิเมตร (กลุมที่ 4) กลุ่ทที่มีความสุขเดือยเส้นใย 4 มิลลิเมตรในแกนฟันเรซินคอมโพสิต 6 มิลลิเมตร (กลุ่มที่ 5) ทำการทดสอบแรงต้านทานต่อการแตกหักด้วยเครื่องทดสอบแบบสากลที่มีความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที หัวกดกดลงบนด้านเพดานของครอบฟันเซรามิกที่มุม 130 องศาต่อแนวแกนฟัน พบว่า กลุ่มที่ 2 มีค่าแรงต้านทานต่อการแตกหักสูงที่สุด คือ 290.38 +- 48.45 นิวตัน ตามด้วยกลุ่มที่ 1 (238.98 +- 26.26 นิวตัน) กลุ่มที่ 5 (228.35 +- 58.79 นิวตัน) กลุ่มที่ 4 (221.43 +- 38.74 นิวตัน) และกลุ่มที่ 3 มีค่าแรงต้านทานต่อการแตกหักต่ำที่สุด คือ 199.05 +- 58.00 นิวตัน เมื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยการทดสอบแบบดันแคนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า ค่าแรงต้านทานต่อการแตกหักของกลุ่มทดสอบ (กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 4 และกลุ่มที่ 5) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และกลุ่มที่ 2 มีค่าแรงต้านทานต่อการแตกหักแตกต่างกับกลุ่มทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ