DSpace Repository

ผลของระดับความสูงของเดือยเส้นใยในแกนฟันเรซินคอมโพสิตต่อความล้มเหลวในการบูรณะฟันที่รักษาคลองรากฟัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ตระกล เมฆญารัชชนานนท์
dc.contributor.author ณัฏฐินี จิตต์จรัส
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-10-10T10:45:09Z
dc.date.available 2006-10-10T10:45:09Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741768753
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3211
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของระดับความสูงต่างๆ ของเดือยเส้นใยในแกนฟันเรซินคอมโพสิตต่อความล้มเหลวในการบูรณะฟันที่รักษาคลองรากฟัน ด้วยการทดสอบความต้านทานต่อการแตกหักของฟันตัดซี่กลางบนของมนุษย์ในห้องปฏิบัติการ โดยคัดเลือกเฉพาะฟันที่มีความยาวของรากฟัน 13 +- 2 มิลลิเมตร และไม่เคยรักษาคลองรากฟันมาก่อน จำนวน 40 ซี่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มควบคุม (กลุ่มละ 5 ซี่) และ 3 กลุ่มทดสอบ (กลุ่มละ 10 ซี่) ด้วยวิธีการสุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่อุดปิดรูเปิดคลองรากฟันด้วยเรซินคอมโพสิต (กลุ่มที่ 1) กลุ่มที่บูรณะด้วยเดือยเส้นใยควอทซ์ (กลุ่มที่ 2) กลุ่มที่มีความสูงของเดือยเส้นใย 2 มิลลิเมตรในแกนฟันเรซินคอมโพสิต 6 มิลลิเมตร (กลุ่มที่ 3) กลุ่มที่มีความสูงของเดือยเส้นใย 2 มิลลิเมตรในแกนฟันเรซินคอมโพสิต 6 มิลลิเมตร (กลุมที่ 4) กลุ่ทที่มีความสุขเดือยเส้นใย 4 มิลลิเมตรในแกนฟันเรซินคอมโพสิต 6 มิลลิเมตร (กลุ่มที่ 5) ทำการทดสอบแรงต้านทานต่อการแตกหักด้วยเครื่องทดสอบแบบสากลที่มีความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที หัวกดกดลงบนด้านเพดานของครอบฟันเซรามิกที่มุม 130 องศาต่อแนวแกนฟัน พบว่า กลุ่มที่ 2 มีค่าแรงต้านทานต่อการแตกหักสูงที่สุด คือ 290.38 +- 48.45 นิวตัน ตามด้วยกลุ่มที่ 1 (238.98 +- 26.26 นิวตัน) กลุ่มที่ 5 (228.35 +- 58.79 นิวตัน) กลุ่มที่ 4 (221.43 +- 38.74 นิวตัน) และกลุ่มที่ 3 มีค่าแรงต้านทานต่อการแตกหักต่ำที่สุด คือ 199.05 +- 58.00 นิวตัน เมื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยการทดสอบแบบดันแคนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า ค่าแรงต้านทานต่อการแตกหักของกลุ่มทดสอบ (กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 4 และกลุ่มที่ 5) ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และกลุ่มที่ 2 มีค่าแรงต้านทานต่อการแตกหักแตกต่างกับกลุ่มทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ en
dc.description.abstractalternative The purpose of this in vitro study was to investigate the effect of fiber dowel heights in resin composite core on fracture resistance of the endodontically treated teeth. Selected forty human maxillary central incisors were randomly divided into 2 control groups (Group 1 and Group 2, 5 teeth each) and 3 experimental groups (Group 3, Group 4 and Group 5, 10 teeth each). Group 1: filled access opening with resin composite, Group 2: restored with quartz fiber post without resin composite core, Group 3, Group 4 and Group 5: restored with quartz fiber post in different heights (2, 4, 6 mm, respectively) in 6 mm resin composite core. Fracture resistance was determined by the universal testing machine. The crosshead speed was 0.5 mm/min with 130-degree compressive load at the palatal surface of all-ceramic crown. The highest fracture resistance force was observed in Group 2 (290.38 +- 48.45 N) and respectively decreased in Group 1 (238.98 +- 26.26 N), Group 5 (228.35 +- 58.79 N), Group 4 (221.43 +- 38.74 N) and the least was observed in Group 3 (199.05 +- 58.00 N). According to one-way ANOVA and Duncan's test (p [is less than or equal to] .05), there was no statistically significant increased in force from Group 3 to Group 5 and the force in Group 2 was statistically significant higher than that of the experimental groups en
dc.format.extent 775777 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.463
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ทันตกรรมบูรณะ en
dc.subject คลองรากฟัน--การรักษา en
dc.subject เรซินทางทันตกรรม en
dc.title ผลของระดับความสูงของเดือยเส้นใยในแกนฟันเรซินคอมโพสิตต่อความล้มเหลวในการบูรณะฟันที่รักษาคลองรากฟัน en
dc.title.alternative Effect of fiber dowel heights in resin composite core on restoration failures of the endodontically treated teeth en
dc.type Thesis en
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2004.463


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record