dc.contributor.author |
อัมพุช อินทรประสงค์ |
|
dc.contributor.author |
พรพรรณ อัศวาณิชย์ |
|
dc.contributor.author |
สดศรี สกุลพงศ์ยืนยง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก |
|
dc.date.accessioned |
2006-10-10T11:28:18Z |
|
dc.date.available |
2006-10-10T11:28:18Z |
|
dc.date.issued |
2541 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3218 |
|
dc.description.abstract |
ในประเทศไทยยังไม่มีสื่อการสอนทันตสุขศึกษาและการแปรงฟันสำหรับเด็กตาบอดโดยเฉพาะ ดังนั้น โครงการวิจัยนำร่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสื่อประสมซึ่งประกอบด้วยเทปเสียงและแบบฟันจำลอง ในการสอนทันตสุขศึกษาและการแปรงฟันสำหรับนักเรียนตาบอด อายุ 10-16 ปี จำนวน 51 คน โดยจัดแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มควบคุม (2) กลุ่มเรียนจากสื่อประสม (3) กลุ่มเรียนจากสื่อประสบและมีอาจารย์ควบคุม โดยกลุ่มควบคุมจะเรียนทันตสุขศึกษาและการแปรงฟันจากอาจารย์สอนสุขศึกษา ตามวิธีการและขั้นตอนตามหลักสูตรของโรงเรียน กลุ่มเรียนจากสื่อประสมและมีอาจารย์ควบคุมจะเรียนทันตสุขศึกษาและการแปรงฟันจากสื่อประสมโดยจะมีอาจารย์ประจำชั้นให้การดูแลการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันสัปดาห์ละ 2 วัน ประสิทธิภาพการแปรงฟันวัดด้วยค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ของ Podshady & Haley โดยวัดก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ 8 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยดัชนีจุลินทรีย์ของกลุ่มทดลองทั้ง 3 มีแนวโน้มลดลงหลังการแปรงฟัน โดยการเปรียบเทียบทางสถิติด้วย Anova พบว่าค่าเฉลี่ยดัชนีคราบจุลินทรีย์ของกลุ่มควบคุม ในช่วงระยะ 8 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ หลังการสอนทันตสุขศึกษาและการแปรงฟันมีค่าลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ของกลุ่มเรียนจากสื่อประสมและมีอาจารย์ควบคุม ในช่วงระยะ 8 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ หลังการสอนทันตสุขศึกษาและการแปรงฟันมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ การสอนทันตสุขศึกษาทำให้นักเรียนตาบอดมีความรู้เพิ่มขึ้น โดยพบว่า หลังการทดลองในกลุ่มเรียนจากสื่อประสมเป็นกลุ่มที่มีความรู้มากที่สุด และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติด้วย Least Significant Difference กับกลุ่มควบคุม และกลุ่มเรียนจากสื่อประสมและมีอาจารย์ควบคุม ดังนั้นในการสอนทันตสุขศึกษา และการแปงฟันโดยใช้สื่อประสมสามารถทำให้นักเรียนตาบอดมีความรู้เพิ่มขึ้น แต่การพัฒนาประสิทธิภาพในการแปรงฟันให้สะอาดขึ้นนั้นจำเป็นต้องมีปัจจัยอื่นๆ เสริมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม |
en |
dc.description.abstractalternative |
There is not dental health education material as such for the blind children in Thailand. Therefore this study is to investigate the effectivenss of the designed dental health material to teach the blind which consists of the recorded education material, brushing instruction, tooth brushes, and the use of enlarged dental models. The project is designed for students at The Bangkok School for the Blind, 51 students in grades 4-6, aged 10-16 years old were selected in a completely random design from each grade and devided into 3 groups. Group I designated as the controlled group received only the conventional dental health education and brushing instruction from school. Group II received dental health instruction from prepared audio material and tactile information from enlarged models. Group III received instruction as those in group II with additional supervision after lunch brushing twice a week from an instructor. The assessment of oral hygiene was conducted with the aid of disclosing solution using the Podshaley Patient Hygiene Performance Method (PHP). Dental health education was given only once at the beginning of the studies and measurements of the PHP of the pretest and post test were taken at every 2, 4, 8 and 12 week intervals. The studies show that the mean PHP scores of all groups are lower compared to the base line. By using Anova, group I has lower mean PHP scores during the 8th and 12th week intervals with statistic significance levels of p<0.05 and group III has lower mean PHP scores during the 8th and 12th week intervals with statistic significant levels of p<0.05 and 0.01, accordingly. As for the dental knowledge tested post-operatively, all groups have improved dental knowledge with the group II which received only instruction from the designed material showed the most significant highest knowledge increase at the statistically difference level of p<0.01. It can be concluded at this stage that dental health education with the mixed media of an audio tapes increases the knowledge of bind students, but the effectiveness of toothbrushing needs other means of behavior modification. |
en |
dc.description.sponsorship |
กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en |
dc.format.extent |
5121915 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การแปรงฟัน |
en |
dc.subject |
เด็กตาบอด |
en |
dc.title |
โครงการวิจัยนำร่อง วิธีการสอนแปรงฟันในเด็กตาบอด : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
วิธีการสอนแปรงฟันในเด็กตาบอด : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
An approach in teaching the blind children to brush, a pilot study |
en |
dc.type |
Technical Report |
en |