DSpace Repository

การรับรู้ภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายและวิถีชีวิตของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์
dc.contributor.author สุนทรี มาคะคำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-06-25T02:50:09Z
dc.date.available 2013-06-25T02:50:09Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32457
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายของผู้ที่ภาวะมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน 2)ศึกษาวิถีชีวิตของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน 4)เพื่อศึกษาการจัดการภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง เป็นผู้หญิงและผู้ชายที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานโดยกำหนดค่า BMI (body mass index) เท่ากับ 30 หรือมากกว่า 30 ขึ้นไป จำนวน 10 ตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การศึกษาประวัติชีวิต ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานนั้นเกิดจากการนำตนเองไปเปรียบเทียบกับบุคคลอื่น อันจะนำไปสู่ความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายของตนเอง เกิดความรู้สึกขัดแย้งระหว่างภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายที่ตนเองนั้นเป็นอยู่ กับภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายที่ตนเองอยากจะเป็นหรือภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายในอุดมคติ และนำไปสู่ความอาย ความต้องการปกปิด ภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายที่ตนเองนั้นเป็นอยู่ เกิดความทุกข์กายและใจเมื่อไม่สามารถมีภาพลักษณ์ที่ตนเองต้องการได้ขึ้นภายในจิตใจ จนก่อเกิดเป็นความรู้สึกเป็นตราบาปขึ้นมา ความรู้สึกเป็นตราบาปไม่ได้มีผลแค่ในทางจิตใจเท่านั้น แต่ยังมีผลในทางการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น การใช้ชีวิตในสังคม ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานจึงต้องหาวิธีในการระงับ หรือขจัดความรู้สึกเป็นตราบาปภายในจิตใจของตนเองให้น้อยลงหรือหายไป ซึ่งก็คือ การจัดการภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายและทางจิตใจ ซึ่งวิธีในการจัดการภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน ก็จะแตกต่างกันไปตามความพึงพอใจภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this qualitative research were to 1) study the physical perception of the obese, 2) study their lifestyle, 3) study the satisfaction of their physical perception and 4) study the management of their physical perception. Specifically chosen ten males and females whose body mass index (BMI) was equal to or more than 30 were the subjects. The data were collected by using in-depth interview and life-history methods. It was found that the self perception of the body image of the obese resulted from comparing themselves with others, leading to their being dissatisfied with their body image. There was a conflict between their real body image and their ideal body image. This resulted in shyness and wanting to hide their real figure. They felt upset and unhappy because they could not have their ideal body image. This feeling affected their social life, finding it hard to socialize with others. The obese should find a way to get rid of this feeling by dealing with their body. Ways to deal with it depend on how the obese feel about their body. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1109
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject น้ำหนักตัว en_US
dc.subject บุคคลน้ำหนักเกิน en_US
dc.subject ภาพลักษณ์ร่างกาย en_US
dc.subject การรับรู้ตนเอง en_US
dc.subject Body weight en_US
dc.subject Overweight persons en_US
dc.subject Body image en_US
dc.subject Self-perception en_US
dc.title การรับรู้ภาพลักษณ์ทางด้านร่างกายและวิถีชีวิตของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน en_US
dc.title.alternative Self perception of body image and lifestyles of the obesed en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สังคมวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pavika.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1109


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record