Abstract:
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์ปัญญาและเชาวน์อารมณ์ในเยาวชนไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนไทยอายุ 15-18 ปี จำนวน 860 คน จากโรงเรยีนมัธยมศึกาษ 1 แห่ง โรงเรียนอาชีวะศึกษา 2 แห่ง และมหาวิทยาลัย 1 แห่ง ในเขตภาคกลางของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้คือแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาของราเวน แบบเมตริกซ์ก้าวหน้าขั้นสูง และมาตรวัดเชาวน์อารมณ์ที่พัฒนาจากโครงสร้างทฤษฎีเชาวน์อารมณ์ของ Mayer และ Salovey (1997) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับเชาวน์ปัญญามีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับระดับเชาวน์อารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .435, p<.001) 2. ระดับเชาวน์ปัญญาและระดับเชาวน์อารมณ์ ไม่มีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับอายุ r = .027 และ r = .036 ตามลำดับ (p>.05) 3. ระดับเชาวน์อารมณ์ของเพศหญิงสูงกว่าระดับเชาวน์อารมณ์ของเพศชาย ในระดับอายุเดียวกัน อายุ 15 ปี ค่า t=2.158(p<.05) อายุ 16 ปี ค่า t=1.974(p<.05) อายุ 17 ปี t=3.406(p=.001) และ อายุ 18 ปี ค่า t=2.014(p<.05) 4. ปัจจัยระดับเชาวน์ปัญญา เพศ สายการศึกษา ระดับการศึกษา สัมพันธภาพในครอบครัวและอาชีพของผู้ปกครอง (เฉพาะอาชีพศิลปิน/งานสร้างสรรค์และอาชีพให้บริการ) ส่งผลต่อระดับเชาวน์อารมณ์ (R=.576, p<.001) 5. ปัจจัย เพศ อายุ สัมพันธภาพในครอบครัว รายได้ของครอบครัว การศึกษาของผู้ปกครอง และอาชีพของผู้ปกครอง (เฉพาะอาชีพครู/อาจารย์ แพทย์/พยาบาล การเงิน/การบัญชี ผู้ปกครองที่ไม่ได้ประกอบอาชีพและกำลังศึกษาอยู่) ส่งผลต่อระดับเชาวน์ปัญญา (R=.599, p<.001)