Abstract:
พัฒนาและตรวจสอบความตรง (validation) ของ โมเดลของการคุกคามทางเพศต่อการถอนตัวจากงานของพนักงานหญิง โดยมีความพึงพอใจ ในงาน การรับรู้สุขภาพ และสุขภาพด้านจิตใจ เป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้ง นี้ ได้แก่ พนักงานหรือลูกจ้างเพศหญิง ที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี ที่ทำงานในองค์การทั้ง ภาครัฐและเอกชน โดยในองค์การที่ทำงานนั้นมีพนักงานทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 502 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 13 ตัวแปร ตรวจสอบความตรงของโมเดลโดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม ลิสเรล
ผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงโครงสร้าง พบว่าผลการตรวจสอบความตรงของโมเดล ความสัมพันธ์ระหว่างการคุกคามทางเพศต่อการถอนตัวจากงาน พบว่าโมเดลมีความ สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างสมบูรณ์ เมื่อพิจารณาค่าสถิติที่ใช้ในการ ทดสอบ ค่าไค-สแควร์ (Chi - square) มีค่าเท่ากับ 54.18, df = 50 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.024 ค่า RMR เท่ากับ 0.0242 GFI เท่ากับ 0.981, AGFI เท่ากับ 0.965 และมีค่า p มากกว่า .05 คือเท่ากับ .08565 ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของ Hair et al. (2006) ที่กำหนดไว้ ดังนั้นโมเดลนี้มี ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างสมบูรณ์ โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความพึงพอใจในงาน การรับรู้ สุขภาพ สุขภาพด้านจิตใจ และการถอนตัวจากงาน ได้ร้อยละ 61.2, 62.9, 100.0 และ 89.9 ตามลำดับ