DSpace Repository

ความไว้วางใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวีต่อแพทย์ผู้รักษา : การศึกษาเชิงคุณภาพ

Show simple item record

dc.contributor.advisor กรรณิการ์ นลราชสุวัจน์
dc.contributor.author บัลลังค์ เหลืองวรานันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2013-07-15T07:27:39Z
dc.date.available 2013-07-15T07:27:39Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33092
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract สัมพันธภาพระหว่างแพทย์ผู้ดูแลและผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญและมีลักษณะพิเศษกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น เป็นสัมพันธภาพตลอดชีวิตของทั้งสองฝ่าย ความไว้วางใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของสัมพันธภาพนี้ ผู้วิจัยศึกษาความไว้วางใจที่ผู้ติดเชื้อมีต่อแพทย์ผู้รักษา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากรับรู้ผลเลือดจนเข้าสู่กระบวนการรักษา 2) ศึกษาประสบการณ์ในการตรวจรักษากับแพทย์ 3) เพื่อศึกษาลักษณะแพทย์ที่ผู้ติดเชื้อให้ความไว้วางใจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่แห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 ราย จากการวิจัยมีข้อค้นพบ 3 ประเด็นหลักคือ 1. ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากรับรู้ผลเลือด พบว่ามีความเปลี่ยนแปลง 4 ระยะคือ จมอยู่กับความทุกข์ ฮึดสู้กับโรคร้าย ยอมรับได้อย่างแท้จริง เกิดความงอกงามภายในใจ 2. ประสบการณ์ในการตรวจรักษากับแพทย์พบประสบการณ์ด้านบวก 2 ประการคือ ยอมรับ เข้าใจ ให้ความช่วยเหลือ และได้รับการดูแลโดยไม่รังเกียจ ประสบการณ์ด้านลบ 5 ประการคือ การถูกปฏิเสธการรักษา รู้สึกว่าแพทย์ตรวจรักษาตามหน้าที่ ไม่ให้เกียรติและได้รับคำพูดตอกย้ำความรู้สึก ได้รับการรักษาล่าช้าจนพิการ ถูกแสดงท่าทีเหินห่าง รังเกียจ 3. ลักษณะแพทย์ที่ผู้ติดเชื้อให้ความไว้วางใจ พบประเด็นย่อย 3 ประเด็นคือ ความหมายและความสำคัญของความไว้วางใจ การเกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของความไว้วางใจ ลักษณะแพทย์ที่ผู้ติดเชื้อให้ความไว้วางใจ การศึกษานี้ทำให้เกิดความเข้าใจต่อความไว้วางใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีต่อแพทย์ผู้รักษา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ในงานจิตวิทยาการปรึกษา ซึ่งมีความไว้วางใจของผู้รับบริการเป็นส่วนสำคัญเช่นกัน en_US
dc.description.abstractalternative Trust is the key feature in HIV infected patients and physicians relationship.This study aimed to explore HIV infected patients’ experiences after recognized their HIV status,caring experiences between them and their physicians, and physicians’ characteristics that promoted trust .Qualitative study was used. In-depth interview were couducted 10 HIV infected patients from purposive sampling. The study site was a large government hospital in Bangkok.Thematic approach was applied in data analysis. The findings revealed 3 main themes.First, HIV infected patients’experiences after recognized their HIV status had 4 stages, suffering, fighting with HIV, true acceptance of their HIV status, and growth of their minds.Second, caring experiences from their physicians demonstrated positive and negative experiences.Owing to positive experiences,there were physicians’acceptance and caring without prejudice. Negative experiences were denied to serve, treated without care, unconcerned of dignity ,delayed treatment with poor outcome, discriminated and stigmatized patients. Third, physicians’characteristics that promoted trust.The last theme had 3 categories,meaning and significant features of trust, trust building and changing affected by caring experiences, and physicians characteristics that promoted trust. This study yielded better understanding about trust between physicians and HIV infected patients, that can applied in counseling psychology which trust also be a key component. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.371
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผู้ติดเชื้อเอชไอวี en_US
dc.subject ผู้ติดเชื้อเอดส์ -- การดูแล en_US
dc.subject ความไว้วางใจ en_US
dc.subject HIV-positive persons en_US
dc.subject HIV-positive persons -- Care en_US
dc.subject Trust en_US
dc.title ความไว้วางใจของผู้ติดเชื้อเอชไอวีต่อแพทย์ผู้รักษา : การศึกษาเชิงคุณภาพ en_US
dc.title.alternative Trust of HIV infected patients in their physicians : a qualitattive study en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor kannikar.N@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.371


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record