DSpace Repository

การแก้ไขปัญหาการประมาณค่าพารามิเตอร์ของตัวแบบความถดถอยพหุเชิงเส้นที่เกิดปัญหาพหุสัมพันธ์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบหลัก

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุพล ดุรงค์วัฒนา
dc.contributor.author กิตติ วารีรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2013-07-17T03:34:19Z
dc.date.available 2013-07-17T03:34:19Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33166
dc.description วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาการประมาณค่าพารามิเตอร์ของตัวแบบความถดถอยพหุเชิงเส้น เมื่อเกิดปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรงด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบหลัก ได้ทำการศึกษาในขอบเขตของจำนวนตัวแปรอิสระ 2 และ 3 ตัว ที่มีการแจกแจงแบบปกติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0 ความแปรปรวนเท่ากับ 2 และความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 2 โดยที่ค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยมีค่าเท่ากับ 2 และมีขนาดตัวอย่างเท่ากับ 50, 100, 200 ซึ่งระดับความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ 2 ตัว คือ 0.90, 0.91, 0.92,…, 0.99 และสำหรับตัวแปรอิสระ 3 ตัว จะพิจารณาค่าระดับความสัมพันธ์สูงสุดจากค่าระดับความสัมพันธ์ภายใต้ขอบเขตที่ทำการศึกษา ผลการศึกษากรณีตัวแปรอิสระ 2 ตัวพบว่า ระดับความสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.95 – 0.99 จะเกิดปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรง ของทุกๆขนาดตัวอย่างที่ทำการศึกษา ดังนั้น ระดับความสัมพันธ์ 0.95 คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรง และกรณีตัวแปรอิสระ 3 ตัว พบว่าระดับความสัมพันธ์สูงสุดเท่ากับ 0.93 , 0.95, 0.97, 0.99 จะเกิดปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรง เมื่อขนาดตัวอย่างเท่ากับ 50, 100 และระดับความสัมพันธ์สูงสุดเท่ากับ 0.91, 0.93, 0.95, 0.97, 0.99 จะเกิดปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรง เมื่อขนาดตัวอย่างเท่ากับ 200 ดังนั้น ระดับความสัมพันธ์ 0.93 คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรง เมื่อขนาดตัวอย่างเท่ากับ 50, 100 และ ระดับความสัมพันธ์ 0.95 คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรง เมื่อขนาดตัวอย่างเท่ากับ 200 ในส่วนของการแก้ไขปัญหาพหุสัมพันธ์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบหลัก พบว่าค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนมาตรฐานก่อนการแก้ไขปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรงมีค่ามากกว่าหลังการแก้ไขปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรง แต่ค่าเฉลี่ยความเอนเอียงก่อนการแก้ไขปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรงมีค่าน้อยกว่าหลังการแก้ไขปัญหาพหุสัมพันธ์รุนแรง en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to correct the estimation for parameters of multiple linear regression model with serious multicollinearity using Principal Component Analysis. We study Normal distribution of 2 and 3 independent variables with mean of 0, and variance of 2. The variance of error is 2, while coefficients of the regression parameters equal to 2. The samples size is 50, 100, and 200. For 2 independent variables, the correlation value is defined to be 0.9, 0.91, 0.92, 0.93, 0.94, 0.95, 0.96, 0.97, 0.98, and 0.99. In addition, for 3 independent variables, the maximum correlation among pairwise correlation is need as the criterion for the study. From the study, it is found that, in 2-independent-variable case, the problems of multicollinearity occur when the correlation value is between 0.95 and 0.99 for any samples size. So the cut point of serious multicollinearity is the correlation value at 0.95. In, 3 –independent-variable case, the problems occur when the maximum correlation value is 0.93, 0.95, 0.97, 0.99 for samples size of 50 and 100, and the maximum correlation value at 0.95, 0.97, 0.99 for samples size of 200. Then the cut point of serious multicollinearity for samples size of 50, 100 is the correlation value at 0.93 and for sample size of 200 is the correlation value at 0.95. The part of correction the estimation for parameters with serious multicollinearity using Principal Component Analysis.Thus, Principal Component Analysis method can be used to solve the problem of multicollinearity. Before the problem solving, the Average Standard Error (ASE) is greater than the after one. But the average bias before solve the problem of multicollineatity is less than the after one. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การแก้ไขปัญหาการประมาณค่าพารามิเตอร์ของตัวแบบความถดถอยพหุเชิงเส้นที่เกิดปัญหาพหุสัมพันธ์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบหลัก en_US
dc.title.alternative Correction of estimation for parameters of multiple linear regression model with multicollinearity using principal component analysis en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สถิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สถิติ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Supol@acc.chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record