DSpace Repository

นโยบายและมาตรการทางเลือกในคดียาเสพติด : ศึกษาเฉพาะกรณีการลดทอนความเป็นอาชญากรรม

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย
dc.contributor.author นันท์รพัช ไชยอัครพงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-07-17T07:17:28Z
dc.date.available 2013-07-17T07:17:28Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33172
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด วัตถุประสงค์ และรูปแบบการลดทอนความเป็นอาชญากรรมจากนโยบายและมาตรการทางเลือกในคดียาเสพติดของไทยและต่างประเทศ และปัจจัยที่ทำให้แนวคิดการลดทอนความเป็นอาชญากรรมของคดียาเสพติดถูกกำหนดเป็นนโยบาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อตัวและกำหนดนโยบาย จำนวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า การลดทอนความเป็นอาชญากรรมของคดียาเสพติดเป็นแนวคิดที่มุ่งปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้เสพยาเสพติดจาก “อาชญากร” มาเป็น “ผู้ป่วย” เพื่อให้ผู้เสพยาเสพติดได้รับการบำบัดรักษาทางการแพทย์อย่างเหมาะสม แทนการถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยใช้รูปแบบการเบี่ยงเบนผู้เสพยาเสพติดออกจากกระบวนการยุติธรรม เพื่อช่วยให้การบริหารงานยุติธรรมทางอาญาด้านคดียาเสพติดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นให้แนวคิดการลดทอนความเป็นอาชญากรรมของคดียาเสพติดได้รับการกำหนดเป็นนโยบาย คือ สถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกพื้นที่ของประเทศ ทุกภาคส่วนล้วนเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยนำมาตรการปราบปรามยาเสพติดมาใช้ทำให้มีการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดจำนวนมาก จนก่อให้เกิดปัญหาคดีล้นศาล-คนล้นคุกตามมาในที่สุด ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการมาตรการอื่นๆ ที่จะนำมาแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ประกอบกับประสบการณ์จากต่างประเทศ ได้มีพัฒนาการของการนำแนวคิดการลดทอนความเป็นอาชญากรรมของคดียาเสพติดไปกำหนดนโยบายใช้เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติด และประสบการณ์จากต่างประเทศข้างต้นมีอิทธิพลสำคัญต่อการนำข้อเสนอเชิงนโยบายเข้าสู่วาระนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของไทย ส่วนการกำหนดนโยบายนั้น พบว่าองค์ความรู้เกี่ยวกับการลดทอนความเป็นอาชญากรรมของคดียาเสพติดมีการพัฒนาจนสามารถทราบแนวทางในการนำมาปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา ประกอบกับตัวแสดงนโยบาย คือ ผู้นำทางการเมืองที่มีภาวะผู้นำในการปกครองประเทศ จึงเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในการกำหนดนโยบายด้วยตนเอง และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมีความเข้าใจต่อประเด็นการลดทอนความเป็นอาชญากรรมของคดียาเสพติดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน เล็งเห็นความสำคัญและได้ประโยชน์ร่วมกันจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเห็นถึงความสำคัญของการลดทอนความเป็นอาชญากรรมของคดียาเสพติด จะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนและกำหนดนโยบายการลดทอนความเป็นอาชญากรรมของคดียาเสพติดเพื่อนำมาใช้เป็นกลไกเสริมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคมไทยให้เกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this study are to explore the concepts, purposes, and model to decriminalization of drug cases from Thailand and foreign countries, and to find the factors contributing to the concept of decriminalization of drug cases. This study is a qualitative research applied on documentary research and in-depth interview from 10 stakeholders who are involved in policy process. The results showed that the decriminalization of drug cases is a concept that aims to change the view of drug addicts is the "patient" doesn’t be the "criminal" to receive appropriate medical treatment instead of being prosecuted by the criminal justice system which assisted the administration of criminal justice to be more effective. The key factors that encourage the decriminalization of drug cases have been defined as a policy are the drug problem intensified in all areas of the country that make all sectors of society recognized the necessity of decisive measures to resolve the problem, causing case backlog and overcrowding issues later. As a result, relevant agencies need to seek other measures to solve those problems combined with the experiences from foreign countries which has been developed the decriminalization of drug cases as a policy to suppress drug. The serious drug problem and experiences from foreign countries are the major influences in defining policy agenda in Thailand. Later for the policy formulation, knowledge associated with decriminalization of drug cases has been developed to be implemented effectively. In addition the policy actor, the political leader with a strong leadership is able to decide his own policy. All relevant agencies also have same understanding in decriminalization of drug cases policy. As a result, there is no conflict between the agencies and all agencies recognized the benefits from the policy. Therefore, to promote and encourage all sectors to recognize the importance of decriminalization of drug cases is an important part for supporting and setting a policy agenda to achieve sustainable solutions. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1462
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การทำยาเสพติดให้ถูกต้องตามกฎหมาย en_US
dc.subject ลดทอนความเป็นอาชญากรรม en_US
dc.subject การใช้ยาในทางที่ผิด -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.subject ยาเสพติดกับอาชญากรรม en_US
dc.subject Drug legalization en_US
dc.subject Decriminalization en_US
dc.subject Drug abuse -- Law and legislation en_US
dc.subject Drug abuse and crime en_US
dc.title นโยบายและมาตรการทางเลือกในคดียาเสพติด : ศึกษาเฉพาะกรณีการลดทอนความเป็นอาชญากรรม en_US
dc.title.alternative Policy and alternative measure to drug cases : a case study of decriminalization en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สังคมวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor jutharat.u@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1462


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record