dc.contributor.advisor |
วีระ สมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
กนกพร ชดเชย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
สิงคโปร์ |
|
dc.date.accessioned |
2013-07-23T03:48:09Z |
|
dc.date.available |
2013-07-23T03:48:09Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33341 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยอินเตอร์เน็ตกับการสร้างอัตลักษณ์ของรัฐสิงคโปร์ในโลกาภิวัตน์ มีวัตถุประ สงค์เพื่อศึกษาการทำงานของรัฐบาลสิงคโปร์ในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทั้งนโยบายภายในประเทศ และระหว่างประเทศตั้งแต่ปี 1991 ถึง 2008 ภายใต้สมมติฐานที่ว่า อินเตอร์เน็ตมิได้ส่งผลให้เกิดความเสื่อมถอยของอำนาจรัฐ แต่อินเตอร์เน็ตส่งผลต่อการสร้างอัต ลักษณ์ของรัฐสิงคโปร์ที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม เพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยในโลกาภิวัตน์ โดยใช้การวิเคราะห์ผ่านกรอบความคิดเรื่องการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของรัฐ ในทฤษฎีประดิษฐกรรมนิยมทางสังคม (Constructivism) ของ Alexander Wendt ผู้เสนอว่า รัฐยังคงความสำคัญในฐานะตัวแสดงหลักในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเนื่องจากรัฐสามารถปรับตัวและสร้างอัตลักษณ์เพื่อตอบสนองกับโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงในโลกาภิวัตน์ จากการวิเคราะห์นโยบายอินเตอร์เน็ตของสิงคโปร์ภายใต้แผนแม่บท “การสร้างเกาะอัจฉริยะ (IT2000) และการสร้างชาติอัจฉริยะ (iN2015)” พบว่า รัฐบาลสิงคโปร์ภายใต้แกนนำของพรรคกิจประชา (People’s Action Party: PAP) สามารถใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสร้างวาทกรรมเพื่อรักษาอำนาจของรัฐ โดยสิงคโปร์นำเสนออัตลักษณ์ 5 แบบคือ 1. การเป็นรัฐที่ส่งเสริมประชาธิปไตยผ่านการพัฒนาอินเตอร์เน็ต 2. การเป็นประเทศศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแบบเสรีที่รองรับด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. อินเตอร์เน็ตกับการสร้างความเท่าเทียมในสังคมพหุวัฒนธรรม 4. การเป็นรัฐที่สร้างความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ 5. การเป็นรัฐธรรมาภิบาลของรัฐบาลสิงคโปร์ อัตลักษณ์เหล่านี้แสดงถึงการปรับตัวต่อผลกระทบจากอินเตอร์เน็ตที่มีต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในโลกาภิวัตน์ อย่างไรตาม ความสามารถในการสร้างอัตลักษณ์ของรัฐสิงคโปร์ผ่านนโยบายอินเตอร์เน็ต ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงมีลักษณะการทำงานแบบรัฐอำนาจนิยมในปัจจุบัน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The main purpose of this research is to study how Singapore government works on domestic and international policies of the internet from 1991 to 2008. To test the assumption that internet does not have an impact on lessening the authority of states but it does help states to construct their identities in the changing political, economic, social and cultural context in order to maintain their power, especially in the case of Singapore. The analytical framework of this study is about the identity construction through applying Constructivism approach by Alexander Wendt who claimed that state was still the main actor in the international relation system since state knew how to transform itself among the social structure changes in globalization. The research found that the objectives of “Intelligent Islands 2000” and “Intelligent Nations 2015” projected by People’s Action Party (PAP) related to the government’s identity construction to legitimize its power. The identities presented by the PAP are divided into 5 types: 1. Being the state that supports democracy through the development of the internet 2. Being the liberal economic center state supported by high information technology 3. Promoting equality in multicultural society in Singapore 4. Building the security in the online’s world 5. Promoting good governance. These identities showed how PAP adapted itself under the impact of the internet which had influences on state’s political stability and security in globalization. Thus, this identity construction ability through internet policy of the PAP could maintain its political system as authoritarian regime. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.542 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
โครงการรัฐบาลอินเตอร์เน็ต |
en_US |
dc.subject |
อินเตอร์เน็ตในการบริหารรัฐกิจ |
en_US |
dc.subject |
อินเตอร์เน็ต -- นโยบายรัฐ -- สิงคโปร์ |
en_US |
dc.subject |
Internet in public administration |
en_US |
dc.subject |
Internet -- Government policy -- Singapore |
en_US |
dc.title |
อินเตอร์เน็ตกับการสร้างอัตลักษณ์ของรัฐสิงคโปร์ในโลกาภิวัตน์ |
en_US |
dc.title.alternative |
Internet and State Identity Construction of Singapore in globalization |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Vira.So@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2010.542 |
|