DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor เดชา ลลิตอนันต์พงศ์
dc.contributor.author เบญจพร จันคำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-07-26T09:16:26Z
dc.date.available 2013-07-26T09:16:26Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33432
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการสนับสนุนทางสังคมกับความเครียด ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ณ โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มจากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 380 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเครียดของสวนปรุง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ดัชนีจุฬา เอ ดี แอล ทำการวิเคราะห์ระดับความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน โดยใช้สถิติ Descriptive statistic เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Pearson product - moment correlation coefficient ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและการสนับสนุนทางสังคมกับความเครียด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความเครียด ใช้สถิติ chi-square, t-test, F-test และใช้ multiple linear regression analysis ในการหาปัจจัยทำนายความเครียด ผลการศึกษาพบว่าระดับความเครียดของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ยความเครียดเท่ากับ 34.95 ± 8.71 คะแนน) การสนับสนุนทางสังคมโดยรวม อยู่ในระดับน้อย (2.41±0.57) และคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน อยู่ในระดับสูง (8.05±1.62) การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมกับคะแนนความเครียดมีความสัมพันธ์เชิงลบ ในระดับต่ำ (r= -0.201) ส่วนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับคะแนนความเครียด เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา ส่วนใหญ่มีคะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสูง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ความเพียงพอของรายได้ ระยะเวลาการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และการมีโรคประจำตัวอย่างอื่นร่วมด้วย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเส้นเลือดสูง ส่วนปัจจัยทำนายระดับความเครียด ได้แก่ อายุ การสนับสนุนทางสังคม และความเพียงพอของรายได้ มีความสัมพันธ์ทางลบกับคะแนนความเครียด en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to examine stress level, social support level, activities of daily living level, correlation between activities of daily living, social support, stress of hypertensive patients and the correlated factors with stress. The randomized sample of 380 hypertensive patients recruited from Lomsak hospital, Petchaboon province. The instruments used in this study were demographic data form, suanprung stress test, social support questionnaire and activities of daily living (Chula ADL Index) questionnaire. Descriptive statistics for analyzed stress level, social support level, activities of daily living level were presented in percentage, mean and standard deviation. Pearson product - moment correlation coefficient statistics was analyzed the correlation between activities of daily living, social support and stress of hypertensive patients. Correlation between demographic data and stress were analyzed by using chi-square test, t-test, and F-test. Predicted factors were analyzed by using multiple linear regressions. The results of this study revealed that the stress level of hypertensive patients had moderate stress level (mean stress score = 34.95 ± 8.71). Total social support had low level (2.41±0.57) and activities of daily living had high level (8.05±1.62). Correlation between social support and stress had negative in low level (r= -0.201) and activities of daily living had not correlated with stress. The demographic factors which related with stress were age, education, occupation, income per month, adequacy income, duration of illness and other disease (diabetes mellitus and dyslipidemia). Predicted factors such as age, social support and adequacy income were negatively significantly with stress. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1442
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความดันเลือดสูง en_US
dc.subject ความเครียด (จิตวิทยา) en_US
dc.subject ผู้ป่วย -- จิตวิทยา en_US
dc.subject การสนับสนุนทางสังคม en_US
dc.subject Hypertension en_US
dc.subject Stress ‪(Psychology)‬ en_US
dc.subject Patients -- Psychology en_US
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ en_US
dc.title.alternative Correlation of activities of daily living, social support and stress of hypertensive patients in Lomsak Hospital, Petchaboon Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Decha.L@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1442


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record