Abstract:
การศึกษาในห้องปฏิบัติการณ์นี้ ได้ถูกออกแบบมาเพื่อศึกษาการเกาะยึดของเกล็ดเลือด และการสร้างไฟบรินบนสภาพผลึกที่แตกต่างกันของไทเทเนียมออกไซด์ ที่ขึ้นรูปเป็นชั้นฟิล์มบางด้วยวิธีโซล-เจล โดยใช้เลือดรวมส่วนที่ปราศจากสารต้านการแข็งตัว ชั้นฟิล์มบางไทเทเนียมออกไซด์ถูกขึ้นรูปบนแผ่นกระจกสไลด์ด้วยวิธีโซล-เจล แบบจุ่มเคลือบ โดยเคลือบให้ได้ความหนา 1-4 ชั้น และปรับสภาพด้วยความร้อนที่อุณหภูมิต่างกัน (200℃ และ 550℃) ลักษณะเชิงภูมิศาสตร์ระดับนาโนสเกลของพื้นผิว สภาพผลึก และองค์ประกอบของธาตุบนชั้นฟิล์มบางไทเทเนียมออกไซด์ ตรวจวัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม เทคนิกเอ็กซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน และเทคนิกอีดีเอ็กซ์ ตามลาดับ โดยพบว่าการสภาพเป็นผลึกของไทเทเนียมออกไซด์บนฟิล์มบางหนา 1 ชั้นที่ปรับสภาพด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 200℃ (200-1) มีลักษณะอสัณฐาน ในขณะที่การเรียงตัวของผลึกไทเทเนียมออกไซด์บนฟิล์มบางหนา 4 ชั้นที่ปรับสภาพด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 550℃ (550-4) มีลักษณะอะนาเทส เมื่อนำฟิล์มบางที่มีการเรียงตัวของผลึกไทเทเนียมออกไซด์ที่แตกต่างกัน 2 แบบนี้ มาศึกษาปฏิกริยาทางชีววิทยาเบื้องต้นคือ การเกาะยึดของเกล็ดเลือด และการสร้างไฟบริน โดยใช้เลือดรวมส่วนที่ปราศจากสารต้านการแข็งตัว ด้วยภาพจากกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด ไม่ปรากฎความแตกต่างของการเกาะยึดของเกล็ดเลือดบนตัวอย่าง 200-1 และ 550-4 แต่พบว่าตัวอย่าง 550-4 มีการสร้างไฟบรินในระดับที่สูงกว่าตัวอย่าง 200-1 ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า สภาพผลึกไทเทเนียมออกไซด์แบบอะนาเทส ส่งเสริมการสร้างไฟบรินได้ดีกว่า