DSpace Repository

ผลกระทบของทรัพย์สินในรูปแบบบำนาญภาคบังคับต่อการออมภาคครัวเรือน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรเวศม์ สุวรรณระดา
dc.contributor.author กนกวรรณ ธรรมแสง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-08-11T11:31:54Z
dc.date.available 2013-08-11T11:31:54Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34624
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en_US
dc.description.abstract เมื่อโครงสร้างประชากรไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาของหลักประกันรายได้ของประชากรกลุ่มดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ควรตะหนักถึง นอกจากการออมของครัวเรือนแล้ว ทรัพย์สินบำนาญภาคบังคับเป็นทางออกหนึ่งของการแก้ไขปัญหา ดังนั้น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินบำนาญภาคบังคับของครัวเรือนในประเทศไทย และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการออมของครัวเรือน ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อมีทรัพย์สินบำนาญเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ตลอดชีวิต งานวิจัยนี้ จึงใช้ข้อมูลการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2549 และทำการประมาณค่ามูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สินบำนาญภาคบังคับ ที่สมาชิกครัวเรือนได้รับจนกว่าจะสิ้นอายุขัย ในกองทุนบำนาญภาคบังคับที่มีอยู่แล้ว สองกองทุน คือ กองทุนประกันสังคม และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จากนั้นนำผลการประมาณค่าดังกล่าว มาใช้ในการศึกษาผลกระทบของทรัพย์สินบำนาญที่มีต่อการออมของครัวเรือน โดยใช้มูลค่าทรัพย์สินทางการเงินของครัวเรือน เป็นตัวแทนการออมของครัวเรือน และทำการประมาณค่าผลกระทบผ่านแบบจำลอง Ordered logistic regression ตามสมมติฐานการบริโภคที่คำนึงถึงวงจรชีวิต (Life cycle hypothesis) ผลการศึกษา พบว่า ครัวเรือนในประเทศไทยที่มีทรัพย์สินบำนาญภาคบังคับอยู่เพียงร้อยละ 24.07 ของครัวเรือนทั้งหมด ในจำนวนดังกล่าวร้อยละ 12.16 มีระดับทรัพย์สินทางการเงินต่ำมาก ส่วนครัวเรือนส่วนใหญ่ที่ไม่มีทรัพย์สินบำนาญ ก็มีระดับทรัพย์สินทางการเงินในระดับต่ำเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ทรัพย์สินบำนาญภาคบังคับของไทยไม่ส่งผลกระทบในทางลบกับระดับทรัพย์สินทางการเงินของครัวเรือนส่วนใหญ่ ดังนั้นการขยายระบบบำนาญภาคบังคับของไทยจึงสมควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาหลักประกันรายได้เมื่อเกษียณ นอกจากการออมภาคสมัครใจเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เพียงพอ en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of this research are to estimate the level of public pension wealth of households in Thailand and to estimate the effect of public pension wealth on household savings when the pension wealth is a part of lifetime income. The data set for empirical analysis has been obtained from the National Statistical Office’s Household Socio-Economic Survey in 2006. We calculated net present value of public pension wealth of each member of household by considering the membership of public pension scheme, age, present wage, life expectancy, retirement age, economic growth rate. Ordered logistic regression method has been used for estimating the effects of public pension wealth on household saving. We confirm the fact that 24.07% of all households have public pension wealth. Among the household with public pension wealth, 12.16% have public pension wealth less than 1,000,000 baht and financial wealth less than 50,000 baht. In contrast, more than 60% of household, which do not have public pension wealth, have financial wealth less than 50,000 baht. However, household public pension wealth has positive effect on financial wealth. Higher amounts of public pension wealth would result in higher financial wealth. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.793
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ครัวเรือน en_US
dc.subject บำเหน็จบำนาญ en_US
dc.subject การประหยัดและการออม en_US
dc.subject Households en_US
dc.subject Saving and investment en_US
dc.subject Pensions en_US
dc.title ผลกระทบของทรัพย์สินในรูปแบบบำนาญภาคบังคับต่อการออมภาคครัวเรือน en_US
dc.title.alternative The effects of public pension wealth on household saving en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Worawet.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.793


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record