DSpace Repository

วินัยตลาดกับพฤติกรรมการติดตามฐานะทางการเงินและความเสี่ยงของผู้ฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor โสตถิธร มัลลิกะมาส
dc.contributor.author กิตติศักดิ์ ฤทธิดิลก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-08-12T06:58:02Z
dc.date.available 2013-08-12T06:58:02Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34690
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาวินัยตลาดของผู้ฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ไทยโดยการวัดการตอบสนองของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ส่วนแบ่งการตลาดและอัตราการเจริญเติบโตที่แท้จริงของเงินฝากต่อปัจจัยที่แสดงฐานะทางการเงินและความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ตามหลัก CAMEL ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียกดอกเบี้ย พบว่า ผู้ฝากเงินระยะ 3 เดือนมีการติดตามฐานะทางการเงินและความเสี่ยงในด้านความพอเพียงของเงินทุนและคุณภาพของสินทรัพย์ ส่วนผู้ฝากเงินระยะ 1 ปีมีการติดตามฐานะทางการเงินและความเสี่ยง 4 ด้านยกเว้นด้านสภาพคล่อง ขณะที่ผู้ฝากเงินระยะ 2 ปีมีการติดตามฐานะทางการเงินและความเสี่ยงด้านความพอเพียงของเงินทุนและความสามารถในการทำกำไร อย่างไรก็ตาม ผู้ฝากเงินทั้ง 3 ระยะมีการติดตามอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่โดยไม่เรียกอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สำหรับพฤติกรรมในการฝากเงิน พบว่า ระหว่างการศึกษาผ่านทางส่วนแบ่งการตลาดและอัตราการเจริญเติบโตที่แท้จริงของเงินฝากนั้นได้ผลที่ขัดแย้งกัน กล่าวคือ ตัวแปรด้านความพอเพียงของเงินทุนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับส่วนแบ่งการตลาดเงินฝากแต่มีทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราการเจริญเติบโตที่แท้จริงของเงินฝากทั้งระยะสั้น ระยะยาวและรวม ขณะที่ตัวแปรที่แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรก็มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับส่วนแบ่งการตลาดของเงินฝากระยะยาวแต่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราการเจริญเติบโตที่แท้จริงของเงินฝากระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปในช่วงที่ประเทศไทยมีการใช้ระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบเต็มจำนวนนั้น ผู้ฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ไทยมีวินัยตลาดโดยจะมีพฤติกรรมในการเรียกอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากธนาคารพาณิชย์ที่มีความเสี่ยง en_US
dc.description.abstractalternative The research aim is to test for the presence of market discipline by examining the sensitivity of interest rate spread, deposit share and real deposit growth on bank risk and fundamental including 5 CAMEL ratings. The result of interest behavior finds that 3-month depositors monitor commercial banks in capital adequacy and asset quality. 1-year depositors monitor commercial banks 4 of 5 except liquidity and 2-year depositors monitor capital adequacy and earning. However, all maturity depositors monitor credit rating as well. Banks with larger size are able to attract all maturity depositors to deposit without requiring higher interest rate. The results of deposit behaviors find contradict results between deposit share and real deposit growth. Namely, capital adequacy is positively related to deposit share but negatively related to real deposit growth in short-term, long-term and all deposit. Earning is positively related to deposit share but negatively related to real deposit growth in long-term deposit. As a result, we can conclude that market discipline appears to exist in Thai commercial banks in the period of blanket guarantee. Depositors penalize risky bank by requiring higher interest rate. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.897
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ธนาคารและการธนาคาร -- ไทย en_US
dc.subject เงินฝากธนาคาร -- ไทย en_US
dc.subject Banks and banking -- Thailand en_US
dc.subject Bank deposits -- Thailand en_US
dc.title วินัยตลาดกับพฤติกรรมการติดตามฐานะทางการเงินและความเสี่ยงของผู้ฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ไทย en_US
dc.title.alternative Market discipline and depositor behavior in Thai commercial banks en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sothitorn.M@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.897


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record