dc.contributor.advisor |
นลินี อิ่มบุญตา |
|
dc.contributor.advisor |
สุวรรณา กิจภากรณ์ |
|
dc.contributor.author |
ทิวากร ศิริโชคชัชวาล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2013-09-11T08:52:01Z |
|
dc.date.available |
2013-09-11T08:52:01Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35890 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
en_US |
dc.description.abstract |
ปริมาณอาหารที่กินเหลือ (RFI) เป็นความแตกต่างระหว่างปริมาณอาหารที่สัตว์กินได้จริง (AFI) กับปริมาณอาหารที่คาดว่าสัตว์จะกินต่อวัน (EFI) RFI เป็นลักษณะที่มีความสำคัญ และถูกนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการใช้อาหารในปศุสัตว์มากขึ้น ข้อมูลจากการทดสอบสมรรถภาพการผลิตของสุกรพันธุ์แท้แลนด์เรซ จำนวน 479 บันทึก ถูกนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ทำการทดสอบสุกรโดยเลี้ยงสุกรไว้คอกละหนึ่งตัว ให้กินอาหารแบบเต็มที่ อาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรเป็นอาหารสูตรเดียวกันตลอดการทดสอบ ประกอบด้วยโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ และพลังงาน 2,950 กิโลแคลอรี มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา ชั่งน้ำหนักสุกรเมื่อเริ่มและสิ้นสุดการทดสอบ วัดความหนาไขมันสันหลังเมื่อสิ้นสุดการทดสอบ และบันทึกปริมาณอาหารที่กินได้ ทำนายค่า EFI จากสมการทำนายที่ประกอบด้วยอิทธิพลของเพศ และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมจากครอกเดียวกัน และความแปรปรวนร่วมของ ADG และ BF ทำการประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะที่ศึกษา โดยใช้แบบหุ่นของตัวสัตว์และวิเคราะห์ด้วยวิธี REML ค่าอัตราพันธุกรรมของ RFI มีค่าต่ำ (0.16 ± 0.10) ในขณะที่ค่าอัตราพันธุกรรมของ FE และ ADG มีค่าปานกลาง (0.33 ± 0.15 และ 0.38 ± 0.17 ตามลำดับ) ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง RFI กับ FE มีค่าปานกลางและเป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ (-0.55 + 0.27) ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง RFI กับ ADG และ FE กับ ADG มีค่าไม่ต่างจากศูนย์ที่ระดับนัยสำคัญ p=0.05 (0.02 + 0.38 และ 0.15 + 0.31 ตามลำดับ) ผลจากการศึกษาพบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของ FE และ RFI มีค่าเพียงพอที่จะทำการคัดเลือกเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกร และ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่าการคัดเลือก FE มีแนวโน้มที่จะเพิ่ม ADG และการคัดเลือกเพื่อลด RFI จะทำให้ FE เพิ่มขึ้นโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอัตราการเจริญเติบโตของสุกร |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Residual feed intake (RFI) is the difference between the actual feed intake (AFI) and the expected feed intake (EFI). RFI has become an increasingly important trait and is being considered as a more practical approach to evaluate feed efficiency in livestock. Data from 479 purebred Landrace pigs involved in a performance test were used in this study. Pigs were housed in an individual pen and fed ad libitum the same formula diet consisting of 2,950 kcal and 16% crude protein. Clean water was available to the pigs at all time. Pigs were weighed at the beginning and end of the test, BF was measured at the end of the test and feed intake was recorded. EFI was predicted from model that included sex and common litter effects as well as covariates of ADG and BF. Genetic parameters were estimated using an animal model by the REML method. The heritability estimate for RFI was low (0.16 ± 0.10), while the estimates for FE and ADG were moderate (0.33 ± 0.15 and 0.38 ± 0.17, respectively). The moderate favorable genetic correlation was estimated between RFI and FE (-0.55 + 0.27). The genetic correlations between RFI and ADG, and FE and ADG were not significantly different from zero at the 5% level (0.02 + 0.38 and 0.15 + 0.31 respectively). Considering heritabilities of FE and RFI, the results indicated that selections for improving feed efficiency were possible. Genetic correlation indicated that selection for FE tends to increase ADG and selection against RFI would increase FE without adversely affecting ADG. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
สุกร -- การเลี้ยง |
en_US |
dc.subject |
สุกร -- พันธุ์แลนด์เรซิ |
en_US |
dc.subject |
สุกร -- การเจริญเติบโต |
en_US |
dc.subject |
พันธุกรรม |
en_US |
dc.subject |
Swine -- Feeding and feeds |
en_US |
dc.subject |
Swine -- landrace |
en_US |
dc.subject |
Swine -- Growth |
en_US |
dc.subject |
Heredity |
en_US |
dc.title |
ค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะปริมาณอาหาร ที่กินเหลือ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร และอัตราการเจริญเติบโตต่อวันในสุกรพันธุ์แลนด์เรซิ |
en_US |
dc.title.alternative |
Genetic parameters for residual feed intake, feed efficiency and average daily gain in landrace pigs |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Nalinee.I@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Suwanna.Kij@Chula.ac.th |
|