DSpace Repository

การศึกษาความสามารถของการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนในผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นกรดและผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่ง โดยประเมินระดับซีเปปไทด์ที่ระดับสูงสุดหลังการกระตุ้นด้วยอาหารสูตรมาตรฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สารัช สุนทรโยธิน
dc.contributor.author ยศพล เตียวจิตต์เจริญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-09-12T08:30:31Z
dc.date.available 2013-09-12T08:30:31Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35898
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract ที่มา : โรคเบาหวานที่มาด้วยอาการภาวะเลือดเป็นกรดเป็นครั้งแรกมีสาเหตุจากโรคเบาหวานได้หลายชนิด จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อทดสอบความสามารถของการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนในผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นกรดและตรวจภูมิต้านทานต่อตับอ่อน เพื่อดูว่าแตกต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือไม่หลังหายจากภาวะเลือดเป็นกรด วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นกรดที่ได้รับการวินิจฉัยจากการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดโดยมีปัจจัยกระตุ้นไม่แน่ชัดและเกิดโรคเบาหวานหลังอายุ 30 ปี จำนวน 12 ราย ได้รับการตรวจความสามารถของการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนและตรวจภูมิต้านทานต่อตับอ่อน เทียบกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 12 ราย หลังหายจากภาวะเลือดเป็นกรด และมีการตรวจซ้ำทุก 6 เดือนจนครบระยะเวลาวิจัย 12 เดือน ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่าอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นกรด อยู่ที่ 43.0+11.1ปี เทียบกับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งอยู่ที่ 26.7+10.3 ปี (p<0.001) ค่ามัธยฐาน fasting plasma C-peptide ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นกรดอยู่ที่ 0.75 ng/dl (0.13-1.23) เทียบกับ 0.10 ng/dl (0.10-0.45) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (p=0.024) และค่ามัธยฐาน median peak stimulated plasma C-peptide ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นกรดอยู่ที่ 1.20 ng/dl (0.55-6.65) เทียบกับ 0.15 ng/dl (0.10-0.50) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (p=0.018) จากการแบ่งผู้ป่วยโดยใช้ระบบ Aß classification ในการศึกษานี้พบผู้ป่วย A+ß- จำนวน 2 ราย, A-ß+ จำนวน 5 ราย, และ A-ß- จำนวน 5 ราย ไม่พบผู้ป่วยในกลุ่ม A+ß+ จากการติดตามตลอดระยะเวลา 12 เดือน พบว่าผู้ป่วยกลุ่ม A-ß+ จำนวน 4 ราย (คิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้ป่วยกลุ่ม A-ß+) สามารถหยุดอินซูลินได้โดยไม่เกิดเลือดเป็นกรดซ้ำที่ระยะเวลา 2 ถึง 7 เดือนหลังหายจากภาวะเลือดเป็นกรด สรุปผลการศึกษา : ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นกรดจากโรคเบาหวานในผู้ป่วยไทยมีการดำเนินโรคที่หลากหลายซึ่งแตกต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เช่นเดียวกับที่เคยรายงานจากการศึกษาในต่างประเทศ การแบ่งผู้ป่วยเหล่านี้โดยใช้ระบบ Aß classification มีประโยชน์ในการพิจารณาหยุดอินซูลินในผู้ป่วยเหล่านี้ en_US
dc.description.abstractalternative Background : Diabetes presenting with ketoacidosis is a heterogeneous disorder. The purpose of this study was to determine whether ketosis-prone diabetes (KPDM) in Thai patients were different from type1 diabetes by assessment of the beta-cell response to a standardized mixed meal and pancreatic autoantibodies. Methods : Twelve patients who were categorized as ketosis-prone diabetes based on the occurrence of unprovoked DKA after the age of 30 years were compared with 12 type1 diabetes. The beta-cell function and pancreatic autoantibodies were followed after resolution of DKA every 6 months for one year. Results : Mean (+SD) age at presentation was 43.0+11.1 and 26.7+10.3 years in KPDM and type1 DM, respectively (p<0.001). Median (IQR) fasting plasma C-peptide obtained after resolution of DKA within two weeks was 0.75 ng/dl (0.13-1.23) in KPDM compared with 0.10 ng/dl (0.10-0.45) in type1 diabetes (p=0.024) and median peak stimulated plasma C-peptide was 1.20 ng/dl (0.55-6.65) compared with 0.15 ng/dl (0.10-0.50) in type1 diabetes (p=0.018). Based on Aß classification, 2 patients were classified as A+ß-, 5 patients were classified as A-ß+, and 5 patients were classified as A-ß-. No patient was classified as A+ß+ in this study. Among A-ß+ KPDM patients, four patients (80%) could be withdrawn from insulin treatment successfully at 2 to 7 months after admission. Conclusion : Our study strengthened the findings that Thai KPDM patients had variable clinical course which were different from typical type1 DM as reported in cohorts from African and African-American patients. The Aß classification proved to be useful predictors for consideration of insulin withdrawal after resolution of DKA. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1483
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาวะเลือดเป็นกรดจากโรคเบาหวาน en_US
dc.subject ความเป็นกรดจากคีโตน en_US
dc.subject Diabetic acidosis en_US
dc.subject Ketoacidosis en_US
dc.title การศึกษาความสามารถของการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนในผู้ป่วยเบาหวานที่เสี่ยงต่อภาวะเลือดเป็นกรดและผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่ง โดยประเมินระดับซีเปปไทด์ที่ระดับสูงสุดหลังการกระตุ้นด้วยอาหารสูตรมาตรฐาน en_US
dc.title.alternative Evaluation of beta cell function by peak stimulated c-peptide level from mixed meal stimulation tests in ketosis-prone diabetes compared with type 1 diabetes en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1483


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record