dc.contributor.advisor |
ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
ญาณี ตันติเลิศอนันต์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2013-09-13T01:30:11Z |
|
dc.date.available |
2013-09-13T01:30:11Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35900 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
en_US |
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการรั่วซึมระดับจุลภาคของสารยึดติดระหว่างผิวฟันที่ไม่มีการปนเปื้อนน้ำลายกับผิวฟันที่มีการกำจัดการปนเปื้อนนั้นด้วยสารไพรเมอร์ของระบบสารยึดติดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน วัสดุและวิธีการ เตรียมโพรงฟันคลาสไฟว์บนผิวฟันกรามน้อยด้านใกล้แก้ม 108 ซี่ แบ่งเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีการปนเปื้อนของออปติบอนด์ เอฟแอล, ออปติบอนด์ เอ็กซ์ทีอาร์, ออปติบอนด์ ออลอินวัน (กลุ่ม FC, XC, AC ตามลำดับ) กลุ่มที่มีการปนเปื้อนของน้ำลายและกำจัดด้วยสารไพรเมอร์ก่อนการฉายแสงของสารยึดติดทั้ง 3 ชนิด (กลุ่ม FB, XB, AB ตามลำดับ) และกลุ่มที่มีการปนเปื้อนของน้ำลายและกำจัดหลังการฉายแสงของสารยึดติดทั้ง 3 ชนิด (กลุ่ม FA, XA, AA ตามลำดับ) บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิต (พรีมิส สีเอ 3 บอดี้) ขัดด้วยแผ่นซอฟเฟลกซ์ จำลองการใช้งานด้วยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ แล้วแช่ในสารละลายเมทิลีนบลู ตัดฟันตามแนวแกนฟัน และประเมินการรั่วซึมโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยาย 20 เท่าด้วยคะแนน 5 ช่วง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติครัสคัลวาลิสและแมนวิทนี่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา การรั่วซึมระดับจุลภาคบริเวณเคลือบฟันและเนื้อฟันของกลุ่ม FB และ FA มีค่ามัธยฐานมากกว่าของกลุ่ม FC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนค่ามัธยฐานการรั่วซึมระดับจุลภาคของกลุ่ม XB และ XA นั้นพบว่าเฉพาะบริเวณเคลือบฟันเท่านั้นที่มีค่ามากกว่ากลุ่ม XC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบค่ามัธยฐานการรั่วซึมของกลุ่ม AC, AB, AA ทั้งส่วนเคลือบฟันและเนื้อฟัน สรุป ในการศึกษาครั้งนี้ การปนเปื้อนน้ำลายในขั้นตอนการเตรียมผิวฟันด้วยออปติบอนด์ เอฟแอลไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยสารไพรเมอร์ของสารยึดติดนี้ ส่วนออปติบอนด์ เอ็กซ์ทีอาร์สามารถแก้ไขการปนเปื้อนน้ำลายได้ในส่วนของเนื้อฟันเท่านั้น สำหรับออปติบอนด์ ออลอินวันนั้นพบว่าไม่ว่าการปนเปื้อนน้ำลายจะเกิดขึ้นที่เคลือบฟันหรือเนื้อฟัน เมื่อแก้ไขแล้วการรั่วซึมระดับจุลภาคนั้นไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Objective The objective of this study was to compare microleakage score of intact dentin adhesive-treated tooth surfaces, and salivary-decontaminated ones, using current acidic primers. Methods Class V cavities were prepared on buccal surfaces of 108 extracted caries-free human premolars, and randomly assigned to one of nine groups consisting of non-contamination of Optibond® FL, Optibond® XTR, Optibond® All in one (groups FC, XC, AC respectively), salivary-decontamination before light-curing of those adhesives (groups FB, XB, AC respectively), and salivary-decontamination after light-curing of the adhesives (groups FA, XA, AA respectively). All teeth were restored with Premise™ (A 3 Body), and polished with Sof-Lex™ Discs. After thermocycling and immersion in methylene blue dye, the teeth were sectioned and evaluated using 5-interval scores under a stereomicroscope with the magnification of 20X. Medians of microleakage score were analyzed using Kruskal-Wallis and Mann-Whitney tests at 95% confidence.Results Medians of microleakage score of groups FB and FA were statistically significantly higher than that of group FC (p < 0.05) for both enamel and dentin margins. However, medians of groups XB and XA showed statistically significant difference from that of group XC (p < 0.05) only for enamel margins. Meanwhile, for both enamel and dentin, there was no statistical difference among groups AC, AB, AA.Conclusion Within the limitations of this in vitro study, decontamination of saliva-contaminated enamel and dentin margins using Optibond® FL primers was not successful, whereas salivary contamination of Optibond® XTR-treated dentin could be removed using its own primer. Even though, Optibond® All-in-one seemed to tolerate the salivary contamination during their procedures, they gave the highest leakage score among all groups. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1445 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
สารยึดติดทางทันตกรรม |
en_US |
dc.subject |
เรซินทางทันตกรรม |
en_US |
dc.subject |
Dental adhesives |
en_US |
dc.subject |
Dental resins |
en_US |
dc.title |
การรั่วซึมระดับจุลภาคของสารยึดติดหลังกำจัดการปนเปื้อนด้วยสารไพรเมอร์ที่มีฤทธิ์เป็นกรด |
en_US |
dc.title.alternative |
Microleakage of dentin adhesives after decontamination with acidic primer |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมหัตถการ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
dupn1048@asianet.co.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2012.1445 |
|