Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้การตรวจเซลล์เยื่อบุช่องคลอดและการเกิดผลึกของเมือกที่เก็บจากปากช่องคลอดในการเป็นเครื่องมือในการตรวจการเป็นสัดสุกรนางแบบแบบรายตัว และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการตรวจเซลล์เยื่อบุช่องคลอดสองวิธีที่แตกต่างกัน รวมถึงเพื่อศึกษาผลกระทบจากการจัดการในโครงการหมูอินทรีย์ที่มีต่อระบบสืบพันธุ์ ซึ่งจากการศึกษาก่อนหน้าพบว่าส่งผลต่อระดับการแสดงการเป็นสัด และระยะเวลาตกไข่ การศึกษานี้จะแบ่งออกเป็น 2 การศึกษาย่อย โดยการศึกษาที่ 1 เป็นแม่สุกรสองสาย (ลาร์จไวต์ x แลนด์เรซ) ที่เพิ่งหย่านม ช่วงลำดับครอกที่ 2-4 จำนวน 20 ตัว จากฟาร์มสุกรแห่งหนึ่ง และการศึกษาที่ 2 เป็นแม่สุกรสองสายที่เพิ่มหย่านม จำนวน 5 ตัว จากโครงการหมูอินทรีย์ จังหวัดน่าน เก็บตัวอย่างตั้งแต่หย่านมจนผ่านวันตกไข่ไปแล้ว 2 วัน โดยเก็บตัวอย่างวันละครั้ง ด้วยการใช้กระจกสไลด์สัมผัสเพื่อเก็บเมือกบริเวณปากช่องคลอด และใช้การเก็บเซลล์เยื่อบุช่องคลอดโดยการชะล้างด้วยน้ำเกลือปลอดเชื้อ ควบคู่กับการใช้ไม้พันสำลีเช็ดเก็บตัวอย่างจากช่องคลอดลงบนกระจกสไลด์ นอกจากนั้นยังใช้การสังเกตพฤติกรรมการเป็นสัด และการใช้อัลตราซาวด์ชนิดเรียลไทม์บีโหมดเพื่อระบุวันตกไข่ที่แท้จริง การศึกษาที่ 1: พบว่าสุกรนางร้อยละ 95 (19/20) แสดงการเกิดผลึกได้ โดยเกิดผลึกในวันตกไข่ร้อยละ 20 (4/20) ล่วงหน้าก่อนการตกไข่ร้อยละ 60 (12/20) และหลังการตกไข่ไปแล้วร้อยละ 50 (10/20) ระดับคะแนน +2 เป็นระดับที่พบมากที่สุด (19/119) ความถี่ของคะแนน +2 นี้มากที่สุดก่อนและหลังวันตกไข่ 1 วัน คิดเป็นร้อยละ 73.68 (14/19) การตรวจเซลล์เยื่อบุช่องคลอด พบว่าการเก็บตัวอย่างด้วยการชะล้างได้ ตัวอย่างเซลล์เยื่อบุช่องคลอดร้อยละ 61.87 (86/139ป พบสัดส่วนเซลล์ในแต่ละวัน (small intermediate, large intermediate, superficial) ตั้งแต่ ก่อนการตกไข่ 3 วัน (52.70±23.96, 25.00±14.14, 19.30±19.25) 2 วัน (71.47±19.79, 15.33±10.43, 11.20±15.36) 1 วัน (59.62±24.96, 20.38±14.64, 20.00±23.00) ในวันตกไข่ (59.00±37.48, 18.08±13.93, 18.31±22.22) หลังตกไข่ 1 วัน (38.85±31.10, 40.38±22.77, 20.77±13.67) และ 2 วัน (58.75±14.66, 32.50±18.93, 8.75±8.54) ตัวอย่างที่เก็บด้วยการเช็ดล้างพบว่าได้ตัวอย่างเซลล์ร้อยละ 91.37 (127/139) พบสัดส่วนเซลล์ในแต่ละวัน ตั้งแต่ก่อนการตกไข่ 3 วัน (62.65±21.15, 24.75±12.72, 12.60±15.27) 2 วัน (60.15±22.52, 23.00±14.27, 17.35±20.85) 1 วัน (41.32±19.71, 33.68±15.44, 25.00±21.56) วันตกไข่ (51.25±28.28, 26.00±16.67, 22.75±23.76) หลังวันตกไข่ 1 วัน (20.29±15.46, 37.35±14.37, 42.35±24.88) และ 2 วัน (22.00±11.51, 38.00±10.37, 40.00±18.71) การศึกษาที่ 2: พบว่าสุกรนางร้อยละ 75 (3/4) แสดงการเกิดผลึกได้ และแสดงการเกิดผลึกในวันตกไข่ ด้วยคะแนน +2 การตรวจเซลล์เยื่อบุช่องคลอด พบว่าการเก็บตัวอย่างด้วยการชะล้างได้ตัวอย่างเซลล์เยื่อบุร้อยละ 86.20 (25/29) พบสัดส่วนเซลล์ในแต่ละวัน ตั้งแต่ก่อนการตกไข่ 3 วัน (41.67±37.53, 18.33±18.93, 40.00±43.59) 2 วัน (76.67±15.28, 10.00±10.00, 16.67±20.82) 1 วัน (30.00±14.14, 26.25±17.67, 43.75±20.56) ในวันตกไข่ (45.00±37.75, 18.00±9.08, 37.00±34.57) หลังตกไข่ 1 วัน (31.25±23.94, 33.75±14.93, 35.00±33.17) และ 2 วัน (17.50±10.61, 52.50±24.75, 30.00±14.14) ตัวอย่างที่เก็บด้วยการเช็ดล้างพบว่าได้ตัวอย่างเซลล์ร้อยละ 86.67 (26/30) พบสัดส่วนเซลล์ในแต่ละวัน ตั้งแต่ก่อนการตกไข่ 3 วัน (26.67±25.17, 23.33±5.77, 50.00±26.46) 2 วัน (15.00±21.21, 35.00±21.21, 50.00±42.43) 1 วัน (31.25±36.14, 23.75±4.79, 50.00±35.59) ในวันตกไข่ (46.00±40.53, 26.00±16.36, 32.00±25.88) หลังตกไข่ 1 วัน (31.67±23.63, 35.00±18.03, 46.67±35.12) และ 2 วัน (37.50±31.82, 22.50±3.54, 22.50±3.54) โดยสรุป การเกิดผลึกของเมือกที่เก็บจากปากช่องคลอดของสุกรมีแนวโน้มสัมพันธ์กับการตกไข่ โดยเฉพาะสุกรในโครงการหมูอินทรีย์ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กับวันตกไข่อย่างชัดเจนว่า ส่วนการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุช่องคลอด พบว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในทิศทางเดียวกับการตกไข่ แต่ความแม่นยำของผลที่ได้ต่ำ โดยเฉพาะในการเก็บตัวอย่างด้วยการชะล้างช่องคลอด ในทางปฏิบัติควรใช้การตรวจการลดลงของเซลล์เยื่อบุชนิด small intermediate รวมทั้งอาจต้องมีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติเล็กน้อยเพื่อให้ผลที่ได้จากตัวอย่างมีความถูกต้องและแม่นยำที่สูงขึ้น