dc.contributor.advisor | มรกต เปี่ยมใจ | |
dc.contributor.author | สุทธิจิต สุนทราภา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2013-10-05T04:35:27Z | |
dc.date.available | 2013-10-05T04:35:27Z | |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36024 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการสูญเสียแร่ธาตุของเคลือบฟันโดยพิจารณาจากค่าร้อยละน้ำหนักที่หายไป ปริมาณแคลเซียมไอออนในสารละลาย และการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลายที่ใช้จำลองสภาวะช่องปาก เตรียมชิ้นเคลือบฟันวัว 246 ชิ้นให้มีขนาด 5x7x1 มม3 และมีน้ำหนัก 110±30 มก สุ่มแบ่งชิ้นตัวอย่างเป็น 5 กลุ่ม โดย 4 กลุ่มนำไปแช่ในสารละลายต่อไปนี้คือ สารละลายกรด แลคติค 0.07 โมลาร์ (กลุ่ม 1) น้ำลายเทียม (กลุ่ม 2) น้ำลายเทียมที่ผสมกรดแลคติค (กลุ่ม 3) น้ำลายเทียมผสมกรดแลคติคและผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ (กลุ่ม 4) ส่วนชิ้นตัวอย่างในกลุ่ม 5 นำไปเคลือบด้วยเรซินแล้วจึงแช่ในน้ำลายเทียมที่ผสมกรดแลคติค แต่ละกลุ่มทำการแช่ชิ้นตัวอย่าง 1 ชิ้นในสารละลาย 10 มล และทดสอบในช่วงเวลาที่แตกต่างกันคือ 5 นาที 15 นาที 30 นาที 1 ชม 5 ชม 24 ชม 3 วัน และ 7 วัน (n=6) นำชิ้นตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบมาล้างด้วยน้ำปราศจากไอออนร่วมกับทำความสะอาดด้วยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงนาน 1 นาที ซับน้ำและเป่าแห้งนาน 1 นาที จากนั้นชั่งหาน้ำหนักและคำนวณค่าร้อยละของน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลง ส่วนสารละลายจะนำไปหาปริมาณแคลเซียมไอออนและวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ผลการวิเคราะห์ด้วยความแปรปรวนทางเดียว พบว่ากลุ่ม 1 ค่าร้อยละของน้ำหนักที่หายไปมีค่ามากที่สุดแตกต่างกับทุกกลุ่มในทุกช่วงเวลา ส่วนกลุ่ม 3 ค่าร้อยละของน้ำหนักที่หายไปแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่ม 2 ในทุกช่วงเวลา ไม่พบความแตกต่างของค่าร้อยละน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงระหว่างกลุ่ม 2 กับกลุ่ม 4 และกลุ่ม 5 ตลอดช่วง 1 ชม และ 5 ชม ตามลำดับ ปริมาณแคลเซียมไอออนในสารละลายกลุ่ม 1 และกลุ่ม 3 มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่ม 2 ปริมาณแคลเซียมไอออนที่ลดลงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 7 กลุ่ม 4 และกลุ่ม 5 ปริมาณแคลเซียมไอออนที่เพิ่มขึ้นจะพบความแตกต่างใน 3 วัน และ 24 ชม ตามลำดับ ค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลายทดสอบแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันในทุกช่วงเวลา ยกเว้นกลุ่ม 3 และกลุ่ม 5 ตลอดช่วงเวลา 5 ชม ที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตลอดช่วงเวลาการทดลองไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลายกลุ่ม 2, 4 และ 5 จากผลการทดลองนี้สามารถสรุปได้ว่าน้ำลายไม่สามารถป้องกันการสูญเสียแร่ธาตุจากเคลือบฟันได้ ในขณะที่ผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์สังเคราะห์และการปกคลุมผิวฟันด้วยเรซินสามารถป้องกันการสูญเสียแร่ธาตุของเคลือบฟันได้ในช่วงเวลา 1 ชม และ 5 ชม ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The aim of this study was to compare the percent of weight loss of enamel, calcium ions concentration, and changing in the pH of various solutions simulated oral conditions. Two hundred and forty six bovine enamel slabs of 5.0x7.0x1.0 mm3 and weight 110±30 mg each were prepared and randomly divided into 5 groups of solutions: 0.07 M lactic acid (Group 1), artificial saliva (Group 2), lactic acid+artificial saliva (Group 3), lactic acid+artificial saliva+hydroxyapatite crystal (Group 4). The enamel specimens in Group 5 were infiltrated with resin before soaking in lactic acid+artificial saliva. Each specimen was immersed in 10 ml each of the solutions for 5 min, 15 min, 30 min, 1 h, 5 h, 24 h, 3 day, and 7 day (n=6). The tested specimens were ultrasonically cleaned in deionized water for 1 min and air-dried all surfaces for 1 min. The weight was measured and calculated to percent of weight changing. The solutions were detected for the calcium ions concentration and the pH value. Analysis results from one way ANOVA showed that Group 1 had the highest percent of weight loss, statistically significant difference between group solution and time intervals were revealed. Percent of weight loss in Group 3 was significant difference with Group 2 all the time intervals. No significant difference in percent of weight change between Group 2, 4 and Group 2, 5 was found in the time of 1 h and 5 h, respectively. Significantly increased in the calcium ions concentration of Group 1 and 3 all the time intervals were revealed. Group 2 was significantly decreased of the calcium ions concentration in 7 day. Statistically significant difference in the calcium ions concentration of Group 4 and Group 5 was found in 3 day and 24 h, respectively. The pH of each group solutions was significant difference all time intervals, except Group 3 and 5 no significant difference were revealed in 5 h. During the testing time, the pH values of Group 2, 4, and 5 were no significant difference. It can be concluded that saliva could not protect the enamel demineralization, while synthetic hydroxyapatite crystal and hybridized layer protected enamel from acid demineralization in 1 h and 5 h, respectively. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1043 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เคลือบฟัน | en_US |
dc.subject | ฟันผุ | en_US |
dc.subject | น้ำลาย | en_US |
dc.subject | แบคทีเรีย | en_US |
dc.subject | Dental enamel | en_US |
dc.subject | Dental caries | en_US |
dc.subject | Saliva | en_US |
dc.subject | Bacteria | en_US |
dc.title | กลไกการสูญเสียแร่ธาตุของเคลือบฟันในสภาวะจำลองช่องปากที่ต่างกัน | en_US |
dc.title.alternative | Mechanism of enamel demineralization in various oral simulations | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ทันตกรรมประดิษฐ์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Morakot.T@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1043 |