DSpace Repository

การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ค.ศ. 1984 : ศึกษากรณีประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิทิต มันตาภรณ์
dc.contributor.author อโณทัย วัฒนาพรรณิกร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-10-05T05:07:00Z
dc.date.available 2013-10-05T05:07:00Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36027
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en_US
dc.description.abstract การเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ค.ศ. 1984 เป็นพันธกรณีอันสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทยในเวทีประชาคมโลก เนื่องจากการกระทำทรมานเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงซึ่งเป็นข้อห้ามเด็ดขาดภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โดยให้ความเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของทุกคนบนโลกใบนี้ ดังนี้ จึงนับเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีสำหรับประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญานี้ ในการเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศตามมาตรฐานของสหประชาชาติ โดยอนุสัญญานี้มีสาระสำคัญที่ผูกพันในการต่อต้านการทรมานในทุกรูปแบบ และทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการกระทำที่เกิดจากเจ้าพนักงานรัฐ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย แต่กลับเป็นผู้กระทำผิดหน้าที่ กระทำผิดกฎหมายเสียเอง เพียงเพื่อมุ่งประสงค์ให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพจากบุคคลผู้ซึ่งตกเป็นเหยื่อของการกระทำ และข้อที่เป็นสาระสำคัญอื่นในการต่อต้านและป้องกันการทรมาน รวมถึงการวางมาตรการ และกลไกพิเศษต่างๆ เพื่อมิให้มีการทรมานเกิดขึ้น หรือหากเกิดมีขึ้นแล้วก็ได้กำหนดวิธีการเยียวยาแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามพันธกรณีและวัตถุประสงค์ของอนุสัญญานี้ จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าการเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญานี้จะส่งผลกระทบต่อไทยในระบบต่างๆ ทั้งในระบบกฎหมายภายในกระบวนยุติธรรมทางอาญา และการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง จึงมีความจำเป็นต้องปฏิรูป แก้ไข กฎหมายและระบบต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อให้สามารถอำนวยความยุติธรรมได้อย่างเป็นธรรม และสอดคล้องกับพันธกรณี และมาตรฐานสากลภายใต้กรอบของสหประชาชาติ en_US
dc.description.abstractalternative Thailand’s Membership of the Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment 1984 is an important commitment to the international community. Torture is prohibited and constitutes a serious violation of human rights which are part of jus-cogens under international law. Having regard to rights derived from the inherent dignity of the human person throughout the world, it is salutary for Thailand to be a member of this Convention to recognize the international human rights in accordance with the standards of the United Nations. The essentials of this Convention to comprise obligations against torture in all forms and situations, especially the acts caused by public official who are competent to enforce the laws but become perpetrators with unlawful and unethical conduct. Additionally, other essential elements of the Convention against torture include plans to take effective measures and special preventive mechanism against torture. In the event of torture, each party shall ensure in its system that the victim of an act of torture obtains remedy and redress in accordance with the obligations and purposes of the Convention. The results of this study and research, found that becoming a member of this Convention will affect Thailand in many respects, including in the local, legislative or criminal administration of justice or use of power of departments in charge. Thus, it is necessary to reform, amend laws and systems in the country for the sake of justice and conform with the obligation and international standards of the United Nations. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1269
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การทรมาน en_US
dc.subject ความผิดทางอาญา en_US
dc.subject มนุษยธรรม en_US
dc.subject ผู้ร้ายข้ามแดน en_US
dc.subject การประติบัติ en_US
dc.subject การลงโทษ -- การใช้เขตอำนาจรัฐ -- อาญา en_US
dc.subject จารีตประเพณีระหว่างประเทศ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.subject Torture en_US
dc.subject Mistake (Criminal law) en_US
dc.subject Humanity en_US
dc.subject Punishment en_US
dc.title การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ค.ศ. 1984 : ศึกษากรณีประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Membership of The Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT : the case of Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Vitit.M@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.1269


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record