DSpace Repository

ความรู้และความเชื่อเรื่องการบริโภคอาหารของสตรีไทยที่ตั้งครรภ์ที่มีการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุลนี เทียนไทย
dc.contributor.author พรรณพร จินดามุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-10-09T02:28:41Z
dc.date.available 2013-10-09T02:28:41Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36035
dc.description วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงความรู้ ความเชื่อและพฤติกรรมการรับประทานอาหารของสตรีมีครรภ์ที่มีการศึกษา ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายของการศึกษา 4 ประการ กล่าวคือ 1) เพื่อศึกษาถึงความรู้ ความเชื่อและวิธีการซึ่งสตรีมีครรภ์ใช้ในการเลือกรับประทานอาหารแต่ละประเภท 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานของสตรีตั้งครรภ์ที่มีการศึกษา 3) เพื่อศึกษาว่าสตรีมีครรภ์ที่มีการศึกษามีรูปแบบในการจัดการบูรณาการการบริโภคอาหารตามความเชื่อแบบสมัยโบราณให้สอดคล้องกับอาหารตามหลักความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างไร และ ประการที่ 4) เพื่อคาดการณ์แนวโน้มของพฤติกรรมการรับประทานอาหารของสตรีมีครรภ์ที่มีการศึกษาในอนาคต ผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบเทคนิคการวิจัยแบบการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในการรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลที่มาจากหลากหลายอาชีพจำนวน 20 กรณีศึกษา และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ดังกล่าวตามกรอบแนวคิดที่ตั้งไว้ ผลจากการศึกษาพบว่า มีปัจจัยหลักอยู่สี่ประการที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการรับประทานของสตรีมีครรภ์ที่มีการศึกษา ปัจจัยเหล่านี้ คือ รายได้ สมาชิกของครอบครัว อาชีพและถิ่นที่อยู่อาศัยหรือภูมิลำเนาที่สตรีมีครรภ์เกิด สตรีมีครรภ์ส่วนมากได้บูรณาการเอาความเชื่อในการรับประทานอาหารแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับความเชื่อสมัยใหม่ ความรู้สมัยใหม่ตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่สตรีมีครรภ์เชื่อ ได้แก่ความเชื่อเรื่องหลักอาหาร 5 หมู่ โดยสตรีมีครรภ์เชื่อว่ามีสารอาหารซึ่งอาจจำเป็นต่อตนเองในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังพบว่าสตรีมีครรภ์ส่วนมากนั้นยังคงเห็นความสำคัญและต้องการที่จะสืบทอดความเชื่อดั้งเดิมในการรับประทานอาหารของไทยต่อไป เนื่องจากพวกเธอได้รับการขัดเกลาเลี้ยงดูจากครอบครัวให้มีความเชื่อที่ว่าพฤติกรรมการรับประทานดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์ต่อมารดาและทารกในครรภ์ โดยสรุปแล้วพบว่า แนวโน้มของการที่สตรีมีครรภ์ที่มีการศึกษาจะยังคงดำเนินการบูรณาการเอาความเชื่อดั้งเดิมของไทยในการรับประทานอาหารเข้ากับความเชื่อสมัยใหม่จะยังคงมีต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to examine the knowledge, beliefs, and eating habits of the educated Thai pregnant women. There are 4 research objectives: 1) to study the knowledge, beliefs, and ways in which pregnant women choose their food choice, 2) to identify factors influencing their eating habits, 3) to learn if they integrate traditional food beliefs with modern scientific food beliefs and if so, how, and last, 4) to predict the tendency of the educated Thai pregnant women future eating habits The researcher used participant observation and in-depth interview techniques in gathering the research data from 20 case studies, in which each case came from people who have different occupations. The researcher then analyzed the fieldwork data according to the theoretical framework proposed. The research results showed that there are four main factors that influenced their eating habits: income, family members, occupation, and residential areas/geographic origin. Most of the educated Thai pregnant women in this study integrated traditional food beliefs with modern scientific food beliefs. The most common scientific food beliefs that they follow through is the belief of eating five food groups, which the Thai pregnant women saw it to be beneficial for both the mother and child in gaining the needed nutrients for each pregnancy stage. The majority of informants in this study believe in traditional food beliefs stated that they want to continue these practices because they were socialized by their parents that these beliefs will be beneficial for their children. In conclusion, there is a strong tendency for educated Thai pregnant women to continue integrating traditional with modern scientific beliefs. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.393
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สตรีมีครรภ์ en_US
dc.subject ครรภ์ -- แง่โภชนาการ en_US
dc.subject พฤติกรรมผู้บริโภค en_US
dc.subject Pregnant women en_US
dc.subject Pregnancy -- Nutritional aspects en_US
dc.subject Consumer behavior en_US
dc.title ความรู้และความเชื่อเรื่องการบริโภคอาหารของสตรีไทยที่ตั้งครรภ์ที่มีการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative Food knowledge and beliefs of educated Thai pregnant women in Bangkok Metropolis en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name มานุษยวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline มานุษยวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chulanee.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.393


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record