DSpace Repository

การศึกษาสมมูลภาพในการแปลคำกริยา "ไป" และ "มา" ในภาษาไทยเป็นภาษาเยอรมันในงานวรรณกรรมนวนิยายแปล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีราภรณ์ รติธรรมกุล
dc.contributor.author ชาฎินี มณีนาวาชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-10-09T13:38:27Z
dc.date.available 2013-10-09T13:38:27Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36087
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมายของคำกริยา “ไป” และ “มา” ที่ปรากฏในทุกตำแหน่งในนวนิยายต้นฉบับภาษาไทยที่ได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมัน 2) เพื่อจัดประเภทของรูปภาษาเยอรมันในนวนิยายฉบับแปลที่ตรงกับคำกริยา “ไป” และ “มา” ในนวนิยายต้นฉบับภาษาไทย และ 3) เพื่อศึกษาความเท่าเทียมกันทางความหมายระหว่างคำกริยา “ไป” และ “มา” ในนวนิยายต้นฉบับภาษาไทยและรูปภาษาเยอรมันที่ตรงกับคำทั้งสองในนวนิยายฉบับแปล งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลจากนวนิยายต้นฉบับภาษาไทยเรื่อง “คำพิพากษา” และ “Das Urteil” ‘The Judgment’ ซึ่งเป็นนวนิยายฉบับแปลภาษาเยอรมัน ผลการวิจัยพบว่าคำกริยา “ไป” และ “มา” ในภาษาไทยแสดงความหมายได้หลายความหมายขึ้นอยู่กับตำแหน่งการปรากฏและคำกริยาที่ปรากฏร่วม กล่าวคือ เมื่อคำกริยา “ไป” และ “มา” ปรากฏเดี่ยวในประโยคจะแสดงการเคลื่อนที่ออกจากจุดอ้างอิงของผู้พูดและการเคลื่อนที่เข้าสู่จุดอ้างอิงของผู้พูด เมื่อคำกริยา “ไป” และ “มา” ปรากฏนำหน้าคำกริยาอื่น จะแสดงความหมายความห่างเชิงระยะทางของเหตุการณ์ และเมื่อคำกริยา “ไป” ปรากฏตามหลังคำกริยาอื่น จะแสดงความหมายทิศทางการณ์ลักษณะแบบสมบูรณ์และแบบไม่สมบูรณ์ และการเกินความพอดี ส่วนคำกริยา “มา” เมื่อปรากฏตามหลังคำกริยาอื่น จะแสดงความหมายทิศทางและเหตุการณ์ก่อนหน้าปัจจุบัน นอกจากนี้รูปภาษาเยอรมันในนวนิยายฉบับแปลที่ตรงกับความหมายของคำกริยา “ไป” และ “มา” มีรูปที่แตกต่างกันไป เช่น รูปคำกริยาเดี่ยว รูปคำกริยาตามด้วยบุพบทวลี รูปคำกริยาช่วยตามด้วยคำกริยาในรูป past participle หรืออาจไม่แสดงรูปภาษาที่ตรงกับคำกริยาทั้งสอง รูปภาษาเยอรมันเหล่านี้จะแปรไปตามความหมายของคำกริยา “ไป” และ “มา” รวมทั้งมุมมองของผู้แปลในการตีความบริบท นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า เมื่อคำกริยา “ไป” และ “มา” แปลเป็นรูปภาษาเยอรมัน มีทั้งความหมายที่เพิ่มขึ้นและหายไป นั่นคือ อากัปกิริยาในการเคลื่อนที่และกาลเป็นความหมายที่เพิ่มขึ้นมา ส่วนการเคลื่อนที่การบ่งชี้จุดอ้างอิงและการแสดงอัตวิสัยของผู้พูดเป็นความหมายที่หายไป en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of the present study are 1) to study the senses of the Thai verb /pay/ ‘go’ and /maa/ ‘come’ in every clausal position in an original Thai novel translated into the German language, 2) to classify German forms in the translated novel which are equivalent to the Thai verb /pay/ ‘go’ and /maa/ ‘come’ in the original Thai novel, and 3) to study equivalence in translating Thai verbs /pay/ ‘go’ and /maa/ ‘come’ into German forms. Examples in this study were drawn from a selected Thai novel /kmampi?phaksaa/ ‘Judgment’ and its German translation, “Das Urteil”. It has been found that the verb Thai verb /pay/ ‘go’ and /maa/’come’ have various meanings, depending on their position in the sentences. That is, when occurring as a single verb in a simple clause, they indicate movement away from the speaker’s reference point and movement towards to speaker’s reference point, respectively. When preceding other verbs, they indicate the distance between changing events. When occurring in the position following other verbs, the verb /pay/ ‘go’ indicates direction, perfective and imperfective aspects, and excessiveness, while the verb /maa/ ‘come’ indicates direction and perfect /anterior. In addition, the translated German forms representing those concepts are expressed through different linguistic realizations such as a single verb, a verb followed by a prepositional phrase, an auxiliary verb followed by a verb in past participle form, or null form. Choices of German forms depend on the meanings of the verb /pay/ ‘go’ and /maa/ ‘come’ as well as on the translator’s point of view in interpreting the contexts. Moreover, the findings have revealed that in translating the verb /pay/ ‘go’ and /maa/ ‘come’ into German forms, meanings are gained and lost, i.e., the manner of motion and tense are gained while motion, deixis and the meaning pertaining to the speaker’s subjective viewpoint are lost in translation. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1955
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ชาติ กอบจิตติ. คำพิพากษา en_US
dc.subject ภาษาไทย -- การแปลเป็นภาษาเยอรมัน en_US
dc.subject ภาษาไทย -- คำกริยา en_US
dc.subject ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์ en_US
dc.subject ภาษาเยอรมัน -- อรรถศาสตร์ en_US
dc.subject Thai languag -- Translating into German en_US
dc.subject Thai languag -- Verb en_US
dc.subject Thai language -- Semantics en_US
dc.subject German language -- Semantics en_US
dc.title การศึกษาสมมูลภาพในการแปลคำกริยา "ไป" และ "มา" ในภาษาไทยเป็นภาษาเยอรมันในงานวรรณกรรมนวนิยายแปล en_US
dc.title.alternative A study of equivalence in translating the verbs "Pay" and "Maa" in Thai into German in a translated novel en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1955


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record