DSpace Repository

แนวทางการพัฒนาการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐโดยคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมและศาลปกครอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor นันทวัฒน์ บรมานันท์
dc.contributor.author ธนวิธ โชติรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-10-15T09:32:49Z
dc.date.available 2013-10-15T09:32:49Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36174
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en_US
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยในวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยถึงการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐโดยคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) และการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วย กฎหมายในการวินิจฉัยข้อพิพาทของ ก.พ.ค. โดยศาลปกครอง พร้อมทั้งศึกษาวิจัยองค์กรวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลภาครัฐในประเทศฝรั่งเศสและประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบถึง แนวทางในการพัฒนาการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐโดย ก.พ.ค. และศาลปกครองให้มี ความเหมาะสมต่อไป ผลจากการศึกษาพบว่า ก.พ.ค. เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ที่มีการจัดโครงสร้างและระเบียบวิธีพิจารณาข้อพิพาทในขั้นตอนต่างๆ ที่สามารถให้หลักประกันในความเป็นธรรม แก่คู่กรณีเทียบเท่ากับโครงสร้างและระเบียบวิธีพิจารณาคดีของศาล อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การทำหน้าที่ของ ก.พ.ค. มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ระเบียบวิธีพิจารณาข้อพิพาท และการบริหารจัดการ ผู้ศึกษาจึงได้เสนอรายละเอียดของแนวทางการพัฒนาในด้านต่างๆ ไว้ในวิทยานิพนธ์ ฉบับนี้แล้ว สำหรับในส่วนการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในการวินิจฉัยข้อพิพาทของ ก.พ.ค. โดยศาลปกครองนั้น พบว่า เมื่อ ก.พ.ค. เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทที่มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยข้อพิพาท เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายแล้ว จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ศาลปกครองต้องทำการปรับเปลี่ยนและพัฒนาระเบียบวิธีพิจารณาคดีปกครองที่เกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบ คำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. รวมถึงคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทอื่นโดยทั่วไป โดยควรกำหนดขั้นตอนใน การแสวงหาข้อเท็จจริงจากคู่กรณีเพียงสองขั้นตอน ประกอบกับควรกำหนดให้ผู้ใดที่ไม่พอใจในคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. สามารถยื่นฟ้องต่อศาลเฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่พอใจในคำวินิจฉัยขององค์กร วินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐในต่างประเทศ ที่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลเฉพาะในปัญหา ข้อกฎหมายเท่านั้นเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวโดยสรุปว่า หากมีการพัฒนาระบบการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลภาครัฐทั้งในส่วนของ ก.พ.ค. และศาลปกครองให้มีความสอดคล้องและต่อเนื่องกันอย่าง เป็นรูปธรรมแล้ว ย่อมที่จะเป็นการแบ่งแยกการใช้อำนาจของแต่ละองค์กรได้อย่างมีดุลยภาพ และเป็นการสร้างหลักประกันที่มีความเป็นธรรมให้แก่คู่กรณีภายใต้การปกครองตามหลักนิติรัฐนั่นเอง en_US
dc.description.abstractalternative Research objective in this thesis is to learn about dispute judgment that concern with personnel management in government section by Merit System Protection Board (MSPB) and under control of Administrative Court comparing with dispute judgment that concern with personnel management in government section of France and United State to improve methods of dispute judgment that concern with personnel management in government section by MSPB and under control of Administrative Court. Research result shows that MSPB, is a quasi - judicial council with fabric and dispute judgment process designed in order to give fairness guarantee for litigants equate with fabric and dispute judgment process of court. However, the performance of MSPB is more complete such as developing in fabric authority dispute judgment process and management. Consequently, I bring in development approach in this thesis. Regarding the legality of administrative control by Administrative Court about dispute judgment that concern with personnel management in government section by MSPB finding that MSPB is a quasi - judicial council that concern with personnel management in government section both fact of problems and matters of law thus leading Administrative Court has to change and develop administrative case procedure for accountability of MSPB including other quasi - judicial councils dispute for setting only two phases in order to find fact from litigants, If litigants are not satisfied in dispute judgment, litigants can accuse only matters of law like those who are not satisfied of judgment of personnel management in government section in foreign country. Summary, if the processes development of dispute judgment that concern with personnel management in government section by MSPB and Administrative Court is coincidence, it will make equilibrium authority in order to fairness guarantee for litigants under the rule of legal state. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1131
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) en_US
dc.subject การบริหารงานบุคคล en_US
dc.subject การบริหารรัฐกิจ -- การวินิจฉัยสั่งการ en_US
dc.subject การตัดสิน en_US
dc.subject การลงโทษ en_US
dc.subject Personnel management en_US
dc.subject Public administration -- Decision-making en_US
dc.subject Judgement en_US
dc.subject Punishment en_US
dc.subject Merit System Protection Board and Administrative Court en_US
dc.title แนวทางการพัฒนาการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐโดยคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมและศาลปกครอง en_US
dc.title.alternative The development trend of judgement about personnel management despute in government section via merit system protection board and administrative court en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor nantawat.b@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.1131


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record