DSpace Repository

ความฉลาดทางอารมณ์ของครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิกา

Show simple item record

dc.contributor.advisor พวงสร้อย วรกุล
dc.contributor.advisor พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
dc.contributor.author ฐานมาศ แก้วอนันต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-10-22T02:14:07Z
dc.date.available 2013-10-22T02:14:07Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36326
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่าง 216 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านการทำงาน แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และแบบทดสอบบุคลิกภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์กับตัวแปรโดยสถิติทดสอบ chi-square, unpaired t-test, one-way ANOVA วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ กับความฉลาดทางอารมณ์โดย Pearson Correlation และใช้ multiple logistic regression หาปัจจัยทำนายความฉลาดทางอารมณ์ของครูระดับปฐมวัย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 50 ปี ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีสถานภาพสมรส ประสบการณ์ในการสอนชั้นปฐมวัยเฉลี่ย 12.37± 9.12 ปี ส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งข้าราชการครู มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวคิดเป็นร้อยละ 51.4 บุคลิกภาพแสดงออกคิดเป็นร้อยละ 48.6 บุคลิกภาพแบบมั่นคงทางอารมณ์คิดเป็นร้อยละ 58.8 และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวทางอารมณ์คิดเป็นร้อยละ 41.2 ผลการทดสอบความฉลาดทางอารมณ์ พบว่าคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ภาพรวม และองค์ประกอบย่อยทั้ง 9 ด้าน อยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ ยกเว้นองค์ประกอบย่อยด้านควบคุมตนเอง มีระดับคะแนนความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าเกณฑ์ปกติ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ (p < 0.05) โรคประจำตัว (p<0.05) จำนวนเด็กปฐมวัยที่สอน(p<0.05) ประสบการณ์สอนปฐมวัย (p<0.05) และเวลาที่สอนเด็กปฐมวัย (p<0.05) โดยบุคลิกภาพเชิงพฤติกรรม (Scale E) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความฉลาดทางอารมณ์ (r=0.331(p<0.05) และบุคลิกภาพเชิงอารมณ์ (Scale N) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความฉลาดทางอารมณ์ (r=-0.565)(p<0.01) พบปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ คือรายได้ที่เพียงพอ จำนวนเด็กปฐมวัยที่สอน ≤ 20 คน บุคลิกภาพแบบมั่นคงทางอารมณ์ และบุคลิกภาพแบบแสดงออก en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to investigate the level of early childhood teachers’ emotional intelligence, along with related factors. The sample included 216 early childhood teachers at Ang Thong Educational Service Area Office, Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. The instrument are personal and operation questionnaire, emotional intelligence evaluation form, personality test (MPI). Data was analyzed using percentage, mean and standard deviation. The relationship between these variables was discovered using chi-square, unpaired t-test, one-way ANOVA. Relation among personality test as well as Pearson’s correlation test and the remaining predictors of teachers’ high emotional intelligence was analyzed by using multiple logistic regression. The result revealed that mostly of early childhood teachers were female, over 50 years of age, bachelor’s degree education, marriage, with 12.37±9.12 years work experience, having working status of governmental teachers, introversion personality is 51.4%, extraversion personality is 48.6%, stability personality is 58.8%, neuroticism personality is 41.2%. The results revealed that the mean total scores of emotional intelligence and mean scale scores were within the normal range and high normal range in self-control. Related factors of emotional intelligent were income sufficiency (p<0.05), congenital disease (p<0.05), numbers of students (p<0.05), work experience (p<0.05) and teaching contact hours (p<0.05). Scale E personality had a positive significant correlation(r = 0.331) to emotional intelligence (p<0.05). Scale N personality had a negative significant correlation(r = -0.565) to emotional intelligence (p<0.01). Multiple logistic regression showed that the predictors of emotional intelligence level were having sufficient income, teaching 20 or less students, stability emotional personality and extrovert personality. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1110
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความฉลาดทางอารมณ์ en_US
dc.subject การศึกษาปฐมวัย en_US
dc.subject ครู en_US
dc.subject บุคลิกภาพ en_US
dc.subject Emotional intelligence en_US
dc.subject Early childhood education en_US
dc.subject Teachers en_US
dc.subject Personality en_US
dc.title ความฉลาดทางอารมณ์ของครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิกา en_US
dc.title.alternative Emotional quotient of early childhood teachers at Ang Thong Educational Service Area Office, Office of the Basic Education en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor peeraphon_tu@yahoo.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1110


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record