DSpace Repository

การวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณรายจังหวัดของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรเวศม์ สุวรรณระดา
dc.contributor.author กานต์ จันทร์วิทยานุชิต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2013-10-26T06:04:41Z
dc.date.available 2013-10-26T06:04:41Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36382
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน มักมุ่งเน้นไปที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นหลัก กระนั้นก็ตาม การขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้น ได้นำมาซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการกระจายรายได้ของประชาชนในประเทศ เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมากขึ้น โดยในระยะที่ผ่านมา หลายรัฐบาลมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลนำมาใช้แก้ปัญหาคือ การจัดสรรงบประมาณไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศผ่านทางหน่วยงานของรัฐ อย่างไรก็ดี การจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการกระจายรายได้นั้น จำเป็นต้องมีความเหมาะสมและยุติธรรมเพียงพอ จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ ประการแรก เพื่อศึกษาถึงความเหลื่อมล้ำของการจัดสรรงบประมาณในจังหวัด และขนาดของความเหลื่อมล้ำ ประการที่สอง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดสรรงบประมาณจังหวัด การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลงบประมาณจังหวัดจากสำนักงบประมาณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2552 โดยใช้ดัชนีไทล์(Theil index) ในการวัดความเหลื่อมล้ำของการจัดสรรงบประมาณ และวิธีการทางเศรษฐมิติในการหาปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการจัดสรรงบประมาณ ผลจากการศึกษาพบว่า การจัดสรรงบประมาณจังหวัดมีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน เป็นสองกลุ่มจังหวัดที่มีความเหลื่อมล้ำของการจัดสรรงบประมาณของแต่ละจังหวัดในกลุ่มสูง เมื่อเทียบกับกลุ่มจังหวัดอื่นๆ ในส่วนความเหลื่อมล้ำของการจัดสรรงบประมาณทั้งประเทศมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน สำหรับปัจจัยที่กำหนดความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรงบประมาณ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัด ภาษีที่จัดเก็บได้ และสัดส่วนวัยพึ่งพิงต่อประชากรในจังหวัด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานที่แต่ละจังหวัดมีความแตกต่างกันอยู่เดิม ดังนั้น เมื่อรัฐบาลจัดสรรงบประมาณจังหวัดโดยใช้ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกำหนด ย่อมทำให้การจัดสรรงบประมาณจังหวัดมีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative Thailand has been developed by emphasizing to the economic growth for many years. As a result, the income-gap between rich and poor is increasing. By the past, the main policy of Thai government was to resolve in social inequality by distributing budget to each province more properly and efficiently. To determine whether the budget was distributed efficiently, this study was conducted by collecting data from yearly budget during 2006 to 2009. There are two main objectives in this study. First is to determine the difference of government budget between each provinces of Thailand. Second is to evaluate the factors that lead to an inequality of the budget. The data was collected from Thai Bureau of the Budget and was analyzed by using Theil index and econometric method. After comparing government budget between each parts of Thailand, the amount of budget distributed to the Northern and Sothern most provinces was significantly higher than other parts. Also, the tendency of the difference was increasing. The factors that caused an inequality of the budget were Gross Provincial Product (GPP) value, ratio of dependent age group and amount of tax in each province which were basically different by each. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1117
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject งบประมาณ -- ไทย en_US
dc.subject งบประมาณจังหวัด -- ไทย en_US
dc.subject Budget -- Thailand en_US
dc.subject Local budgets -- Thailand en_US
dc.title การวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณรายจังหวัดของประเทศไทย en_US
dc.title.alternative An analysis of provincial budget allocation in Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Worawet.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1117


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record