DSpace Repository

เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยสวัสดิการสำหรับแรงงานข้ามชาติ : กรณีศึกษาแรงงานพม่าในจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระ สมบูรณ์
dc.contributor.advisor สุภางค์ จันทวานิช
dc.contributor.author ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial พม่า
dc.coverage.spatial สมุทรปราการ
dc.date.accessioned 2013-10-29T07:24:12Z
dc.date.available 2013-10-29T07:24:12Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36453
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่ออธิบายสวัสดิการสำหรับแรงงานข้ามชาติในสังคมการผลิตแบบเสรีนิยมใหม่ ผ่านมุมมองภววิทยาทางเศรษฐกิจการเมือง โดยชี้ให้เห็นถึงพลวัตรของกลไกการผลิตซ้ำในระบบทุนนิยมที่มุ่งแปรเปลี่ยนแรงงานในฐานะมนุษย์ให้เป็นแรงงานในฐานะสินค้าและเกิดภาวะการแปลกแยกและไร้อำนาจในหมู่ผู้ใช้แรงงานข้ามชาติ โดยเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในจัดหวัดสมุทรปราการ ผู้เกี่ยวข้อง และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่สนามวิจัยระหว่างปี 2553-2555 ผลการศึกษาสวัสดิการในฐานะกลไกการผลิตซ้ำในระบบทุนนิยมผ่านกรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในจังหวัดสมุทรปราการ ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์การผลิตแบบทุนนิยมในกระแสเสรีนิยมใหม่ที่มีลักษณะดังนี้ 1.มีกระบวนการทำให้เป็นสินค้าที่สูงขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ใช้แรงงานที่อำนาจการต่อรองต่ำอย่างแรงงานข้ามชาติ 2.สภาพการจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้ใช้แรงงานรับผิดชอบต่อความเสี่ยงในระบบทุนนิยมมากขึ้น เช่นการจ้างแรงงานข้ามชาติแบบเหมาค่าแรง รับงานกลับมาทำที่บ้านหรือการจ้างลักษณะชั่วคราว 3.ระบบสวัสดิการได้มีการแปรสภาพให้เป็นการรับผิดชอบของปัจเจกชนมากขึ้น ผ่านระบบสวัสดิการแบบเน้นค่าจ้าง และด้วยเงื่อนไขข้างต้นนำสู่ 4. ปรากฏการณ์การขยายตัวของกลุ่ม “แรงงานเสี่ยง”-Precariat อันมีลักษณะแตกต่างจากชนชั้นกรรมาชีพ แรงงานเสี่ยงคือกลุ่มแรงงานที่ถูกถ่ายโอนความเสี่ยงจากชนชั้นนายทุน และถูกวางเงื่อนไขให้การต่อสู้เพื่อประโยชน์ทางชนชั้นเป็นไปได้อย่างยากลำบาก การวิเคราะห์สวัสดิการในทางภววิทยาอันปรากฏในงานวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึง แนวทางการจัดสวัสดิการในสังคมเสรีนิยมใหม่ที่จำเป็นต้องพิจารณาอย่างเป็นองค์รวมผ่านมิติหลักคือ ความถ้วนหน้าที่ต้องข้ามผ่านความเป็นพลเมืองของรัฐชาติและมิติการลดระดับการทำให้เป็นสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงการแปลกแยกที่เกิดขึ้นในสังคมการผลิต en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to explain the transnational worker’s welfare under the neo-liberalism mode of productions via the political economy approach. Indicating the dynamic of the capitalism reproduction process, the research attempts to clarify how Capitalism system transforms labor (as human being) into labor power (as commodity). The research field had been conducted during 2010-2012; depth interview and participatory observation in Samuthprakarn has utilized as research methodology. The research shows that the Burmese workers in Samutprakarn represent the condition of neoliberalism relations of production consist of four elements include the following 1. The commoditization of labor power had been intensified 2. The transformation of employment relations system by the rising of the out-sourcing and temporary employment. 3. The conversion of welfare provision by changing from state-citizen to market membership and 4.The emergence of ‘Precariat’ which diverges from the traditional definition of proletariat in proto-industrial society. The major contribution of the research is to demonstrate new mode of welfare system. Besides the state-citizen integration model, welfare should be considered on the aspect of de-commoditization level and neglect the nation-state centric approach on welfare provision. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1582
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เศรษฐศาสตร์สวัสดิการ en_US
dc.subject แรงงานต่างด้าวพม่า en_US
dc.subject แรงงานต่างด้าว -- ไทย -- สมุทรปราการ en_US
dc.subject Welfare economics en_US
dc.subject Foreign workers, Burmese en_US
dc.subject Foreign workers -- Thailand -- Samut Prakan en_US
dc.title เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยสวัสดิการสำหรับแรงงานข้ามชาติ : กรณีศึกษาแรงงานพม่าในจังหวัดสมุทรปราการ en_US
dc.title.alternative The political economy of transnational worker’s welfare : a case study of Burmese workers in Samuthprakarn en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline รัฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor supang.c@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1582


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record