DSpace Repository

เหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพงษ์ บุญโญภาส
dc.contributor.author ทวีพร คงแก้ว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-11-02T04:41:11Z
dc.date.available 2013-11-02T04:41:11Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36521
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract เหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 ได้กำหนดให้นำบทบัญญัตในเรื่องเหตุฉกรรจ์ของความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามมาตรา 289 มาบังคับใช้ โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษหนักขึ้นตามสัดส่วนของลักษณะการกระทำความผิด ทั้งนี้ได้พิจารณาถึงปัจจัยหลักสามประการคือ พิจารณาจากฐานะของผู้ถูกกระทำความผิด นั่นคือ บุพการี เจ้าพนักงาน และผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน พิจารณาถึงความชั่วร้ายของผู้กระทำ นั่นคือ การทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และการทำร้ายร่างกายโดยกระทำการทรมานหรือทารุณโหดร้าย และพิจาณาจากจุดมุ่งหมายของผู้กระทำความผิด นั่นคือ การทำร้ายรร่างกายเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่น และการทำร้ายร่างกายเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์ หรือเพื่อปกปิดความผิดอื่นหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่น จากการศึกษาวิจัยโดยการศึกษาถึงเจตนารมณ์ และความเป็นมาของกฎหมายรวมทั้งวิเคราะห์เปรียเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า การกำหนดเหตุฉกรรจ์ในความผิดต่อร่างกายควรมีการกำหนดให้เป็นเอกเทศจากความผิดต่อชีวิต อีกทั้งเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย ยังไม่ครอบคลุมในหลายกรณีที่เห็นว่ามีความรุนแรงของพฤติการณ์อันสมควรบัญญัติให้เป็นเหตุฉกรรจ์ เช่นในกรณีที่เป็นการทำร้ายร่างกายระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมก็ดีหรือบุพการีกะทำต่อผู้สืบสันดานก็ดี หรือกรณีการทำร้ายบุคคลที่มีสภาพอ่อนแอไม่มีทางสู้ เช่น เด็ก คนชรา คนพิการ หญิงมีครรภ์ก็ดี รวมทั้งกรณีการทำร้ายร่างกายในสาธารณสถาน หรือกรณีที่มีลักษณะการกระทำที่รุนแรงโดยมีการร่วมมือตั้งแต่สองคนขึ้นไปก็ดี ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาวิจัย เพื่อนำเสนอให้มีแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของสังคมไทยในปัจจุบัน en_US
dc.description.abstractalternative Gravity on offense of assault according to section 296 of Criminal Code is a settlement to enforce the gravity on offense of murder (section 289) as the purpose to punish the offender severer proportionally with the offense committing. There are three factors to consider: the status of victims (ascendant, officer and officer assistant), the vicious mental status of the wrongdoer (premeditated murder and murder by employing torture or acts of cruelty), and the certain special purposes of murder (preparing or facilitating the commission of the other offense; or securing the benefit obtained through the other offense, or concealing the other offense or escaping punishment for the other offense committed by him/her). According to a comparative study with foreign law, it is found that the settlement of gravity on offense of assault should be defined separately from offences causing death. Furthermore the gravity on offense of assault of Thai Criminal Code does not cover many conducts that should be included in the gravity, for example, the assault between adoptive and the adopted or ascendant and descendant, the assault to people who cannot help themselves such as children, aging individuals, infirm persons, pregnant woman, and assault in public place or by group of people up from group. This thesis hence is a research done in order to present that the gravity on offense of assault should be amended to be more appropriate and related to the present Thai society. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.523
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายอาญา en_US
dc.subject ความผิดทางอาญา en_US
dc.subject ความผิดต่อบุคคล en_US
dc.subject การทำร้ายร่างกายผู้อื่น en_US
dc.subject Criminal law en_US
dc.subject Mistake ‪(Criminal law)‬ en_US
dc.subject Offenses against the person en_US
dc.subject Assault and battery en_US
dc.title เหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย en_US
dc.title.alternative Gravity on offense of assault en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Viraphong.B@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.523


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record