DSpace Repository

การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 : ศึกษากรณีการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประภาส ปิ่นตบแต่ง
dc.contributor.author ดารุณี พุ่มแก้ว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-11-15T11:10:56Z
dc.date.available 2013-11-15T11:10:56Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741741383
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36671
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาถึงรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามกลไกรัฐธรรมนูญและนอกเหนือกลไกรัฐธรรมนูญ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรค์ในการใช้ช่องทางกลไกของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยศึกษากรณีการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าของกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการศึกษาพบว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มีบทบัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ โดยเปิดให้มีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการทางการเมืองทุกขั้นตอนและจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยมีส่วนร่วมในหลายๆ ระดับหลายๆ รูปแบบเพื่อให้การเมืองเป็นของพลเมืองอย่างแท้จริง จากกรณีศึกษาพบว่าประชาชนมีการตื่นตัวทางการเมืองสูงโดยการรวมตัวเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องการเข้ามีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับรัฐในระดับนโยบายเพื่อกำหนดวิถีชีวิตของตน โดยอ้างสิทธิอันชอบธรรมผ่านกลไกปกติตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 44, 46, 56 และมาตรา 59 จากการเรียกร้องที่ยาวนาน กลไกตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน เนื่องจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญยังตราไม่ครบตามบทบัญญัติ กฎหมายเก่าหลายฉบับที่ไม่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม รวมทั้งแรงเสียดทานด้านทัศนคติและท่าทีของภาครัฐไม่ตอบสนองต่อความตื่นตัวและความพยายามเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน จากปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญอยู่ในระดับของการแสดงความคิดเห็น แต่ไม่สามารถเข้าถึงการมีส่วนร่วมในระดับการตัดสินใจในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้เมื่อการอ้างสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยอาศัยช่องทางปกติ ไม่สามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องได้เท่าที่ควร จึงส่งผลให้เกิดรูปแบบใหม่ของการมีส่วนร่วมโดยใช้กลไกที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งร่วมเอาการกระทำที่รุนแรงและหมิ่นเหม่ต่อความผิดทางกฎหมายเข้ามาเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมที่ชอบธรรม เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการแสดงสิทธิที่ถูกปิดกั้นไว้ ซึ่งเป็นการเคลื่อนตัวเข้าสู่การเมืองใหม่ที่เน้นบทบาทของภาคประชาชนเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งเป็นเหตุให้สถานการณ์ในพื้นที่มีความขัดแย้งและตกอยู่ในภาวะหวาดระแวงซึ่งกันและกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน และมีโอกาสเผชิญหน้ากันได้ตลอดเวลา
dc.description.abstractalternative A case study of the opposition to the coal-fired electricity plant at Ban Krud aims at studying political participation in term of its problems and obstacles involved under the 1997 constitution. The findings were that articles 44, 45, 46 and 59 in the 1997 constitution provide people with more opportunity to participate in politics, as compared to the previous constitutions. In the opposition to the electricity plant, people at Ban Krud had high degree of political consciousness. People organized to demand full participation in decision making at the policy level to determine there own way of life. However, with many additional bills needed yet to be promulgated in support of the 1997 constitution, obstacles to full participation, such as unresponsivesness on the part of government officers, are still extensive. Owing to these limitations of political participation, new form of participation provide people with another option. Political violence prone to violation of existing laws occurs from time to time, leading to conflict, lack of trust, and confrontation between the government and local people.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 : ศึกษากรณีการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ en_US
dc.title.alternative Political participation under the 1997 constitution: A case study of the opposition to the coal-fired electricity plant at Ban Krud, Prachuab Khiri Khan Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การปกครอง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record