Abstract:
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่าการทำ coronary artery bypass graft surgery (CABG) สามารถลดอัตราตายได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดโคโรนารี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการทำงานของหัวใจผิดปกติร่วมด้วย(1,2) โดยมีกลไกต่าง ๆ หลายประการที่ใช้อธิบายผลดังกล่าว และกลไกที่สำคัญประการหนึ่งก็คือการเพิ่มขึ้นของ Left ventricular ejection fraction (LVEF) หลังการผ่าตัด CABG อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือจำนวนของ viable myocardium ที่เหลืออยู่ก่อนการผ่าตัด(4) แต่การวัด viable myocardium โดยตรงต้องใช้วิธี perfusion scintigraphy(5) ซึ่งมีขั้นตอนและเสียค่าใช้จ่ายมาก จึงมีแนวความคิดที่จะใช้การวัดปัจจัยทางอ้อมนั่นคือ การวัดการมีพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจ มาใช้แทนการวัด viable myocardium โดยตรง(6) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วัดเป็น non-invasive test ที่ใช้ได้สะดวก ทราบผลรวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อย โดยอาศัยความรู้พื้นฐานที่ว่า signal averaging electrocardiogram (SAECG) ที่ผิดปกติ บ่งบอกโดยทางอ้อมว่ามีบริเวณที่เป็นพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจและการศึกษานี้เป็นแนวคิดใหม่ที่ว่าการตรวจพบบริเวณดังกล่าวด้วย SAECG อาจนำมาใช้ทำนายการเพิ่มขึ้นของ LVEF หลังการผ่าตัดได้ นั่นหมายถึงว่ากลุ่มที่มี SAECG ให้ผลผิดปกติ หรือผลบวก ย่อมมีการเพิ่มขึ้นของ LVEF ต่ำกว่ากลุ่มที่ SAECG ให้ผลปกติ หรือผลลบ ดังนั้นการศึกษานี้ต้องการพิสูจน์สมมุติฐานดังกล่าวว่ามีความแตกต่างของการเพิ่มขึ้นของ LVEF หลังการผ่าตัด CABG ระหว่างกลุ่มที่มี SAECG ให้ผลบวก และ SAECG ให้ผลลบที่เวลา 3 เดือนหรือไม่ ผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 20 ราย แยกเป็น 6 ราย อยู่ในกลุ่ม SAECG ให้ผลบวก และ SAECG ให้ผลบวก และ 14 ราย อยู่ในกลุ่ม SAECG ที่ให้ผลลบ ซึ่งข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มคล้ายคลึงกัน ผลการผ่าตัดพบว่ามีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยโดยรวมคือ 37% (0.27 เป็น 0.37) กลุ่ม SAECG ที่ให้ผลลบ มีการเพิ่มขึ้นของ LVEF มากกว่า กลุ่ม SAECG ที่ให้ผลบวก (14±11, 4±3 ตามลำดับ ,p = 0.02) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า SAECG สามารถใช้ทำนายผลของการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดโคโรนารี่ ที่มีการทำงานของหัวใจผิดปกติว่ารายใดจะได้รับประโยชน์มากกว่าในแง่การเพิ่มขึ้นของ LVEF