dc.contributor.advisor |
ฉลาด โสมะบุตร์ |
|
dc.contributor.advisor |
สมชาย ปรีชาวัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
สุชัย กาญจนธารายนตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
|
dc.date.accessioned |
2013-12-04T15:10:34Z |
|
dc.date.available |
2013-12-04T15:10:34Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.isbn |
9743331131 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36791 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
en_US |
dc.description.abstract |
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่าการทำ coronary artery bypass graft surgery (CABG) สามารถลดอัตราตายได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดโคโรนารี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการทำงานของหัวใจผิดปกติร่วมด้วย(1,2) โดยมีกลไกต่าง ๆ หลายประการที่ใช้อธิบายผลดังกล่าว และกลไกที่สำคัญประการหนึ่งก็คือการเพิ่มขึ้นของ Left ventricular ejection fraction (LVEF) หลังการผ่าตัด CABG อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง คือจำนวนของ viable myocardium ที่เหลืออยู่ก่อนการผ่าตัด(4) แต่การวัด viable myocardium โดยตรงต้องใช้วิธี perfusion scintigraphy(5) ซึ่งมีขั้นตอนและเสียค่าใช้จ่ายมาก จึงมีแนวความคิดที่จะใช้การวัดปัจจัยทางอ้อมนั่นคือ การวัดการมีพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจ มาใช้แทนการวัด viable myocardium โดยตรง(6) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วัดเป็น non-invasive test ที่ใช้ได้สะดวก ทราบผลรวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อย โดยอาศัยความรู้พื้นฐานที่ว่า signal averaging electrocardiogram (SAECG) ที่ผิดปกติ บ่งบอกโดยทางอ้อมว่ามีบริเวณที่เป็นพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจและการศึกษานี้เป็นแนวคิดใหม่ที่ว่าการตรวจพบบริเวณดังกล่าวด้วย SAECG อาจนำมาใช้ทำนายการเพิ่มขึ้นของ LVEF หลังการผ่าตัดได้ นั่นหมายถึงว่ากลุ่มที่มี SAECG ให้ผลผิดปกติ หรือผลบวก ย่อมมีการเพิ่มขึ้นของ LVEF ต่ำกว่ากลุ่มที่ SAECG ให้ผลปกติ หรือผลลบ ดังนั้นการศึกษานี้ต้องการพิสูจน์สมมุติฐานดังกล่าวว่ามีความแตกต่างของการเพิ่มขึ้นของ LVEF หลังการผ่าตัด CABG ระหว่างกลุ่มที่มี SAECG ให้ผลบวก และ SAECG ให้ผลลบที่เวลา 3 เดือนหรือไม่ ผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 20 ราย แยกเป็น 6 ราย อยู่ในกลุ่ม SAECG ให้ผลบวก และ SAECG ให้ผลบวก และ 14 ราย อยู่ในกลุ่ม SAECG ที่ให้ผลลบ ซึ่งข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มคล้ายคลึงกัน ผลการผ่าตัดพบว่ามีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยโดยรวมคือ 37% (0.27 เป็น 0.37) กลุ่ม SAECG ที่ให้ผลลบ มีการเพิ่มขึ้นของ LVEF มากกว่า กลุ่ม SAECG ที่ให้ผลบวก (14±11, 4±3 ตามลำดับ ,p = 0.02) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า SAECG สามารถใช้ทำนายผลของการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดโคโรนารี่ ที่มีการทำงานของหัวใจผิดปกติว่ารายใดจะได้รับประโยชน์มากกว่าในแง่การเพิ่มขึ้นของ LVEF |
|
dc.description.abstractalternative |
Coronary artery disease (CAD) patients with LV dysfunction who underwent coronary artery bypass graft surgery (CABG) had improved survival when compared to patients treated with medical therapy alone. The survival advantage in the CABG group may be related to improved postoperative left ventricular ejection fraction (LVEF). A simple test, signal-averaged electrocardiogram (SAECG), was used to assess viability of myocardium on the basis of positive (abnormal) SAECG reflected lower residual viability indirectly which function did not recover function after CABG compared to those with negative (normal) SAECG. So this study test the hypothesis that positive SAECG patients have less improvement in LVEF than those with negative SAECG patients at 3 months after CABG. All patients who have CAD with LV dysfunction (LVEF<0.36) and who were scheduled for elective CABG at Chulalongkorn hospital, SAECG and LVEF measurement by MUGA technique were performed preoperatively and 3 month postoperatively. The patients were classified into positive and negative SAECG by standard criteria of positive SAECG. 20 patients were studied completely, 6 patients were in the positive group and 14 patients in the negative group. Baseline characteristics were almost similar except for sex and cardiac medications. Overall, the LVEF improvement was 35& postoperatively with a significantly greater benefit in the negative SAECG group. (14±11-point vs 4±3 -point increase ,p 0.02) The study showed the predictive value of SAEGC in identifying CAD patients with LV who underwent elective CABG with greater improvement in LVEF. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.title |
การใช้คลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบเฉลี่ยสัญญาณเพื่อทำนายการเปลี่ยนแปลงการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดโคโรนารีที่มีการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายผิดปกติหลังการผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ระยะเวลา 3 เดือน |
en_US |
dc.title.alternative |
Signal-Averaged electrocardiogram predicts change in left ventricular ejection fraction at 3 month: After coronary artery bypas graft surgery in coronary artery disease patients with left ventricular dysfunction |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |