DSpace Repository

ผลของยาสลบชนิดฉีดไทเลทามีน-โซลาซีแพมร่วมกับไซลามีน ให้ผ่านทางหลอดเลือดดำแบบต่อเนื่องในการวางยาสลบเพื่อผ่าตัดทำหมันม้าเพศผู้

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร
dc.contributor.author ฤทัยวรรณ วินิจกำธร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-12-06T06:10:20Z
dc.date.available 2013-12-06T06:10:20Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36921
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract การใช้เทคนิคให้ยาสลบทุกตัวเข้าหลอดเลือดดำ (TIVA) เพื่อคงระดับการสลบในม้า กรณีทำศัลยกรรมขนาดเล็ก ช่วงเวลาสลบไม่เกิน 1 ชั่วโมง เป็นเทคนิคที่ดีและเหมาะสมในการวางยาสลบม้าภาคสนาม สารละลายยาสูตร “triple drip” ซึ่งประกอบด้วย ไซลาซีน เคตามีน และกัวฟีนีซีน เป็น TIVA ที่นิยม แต่ข้อจำกัดของการซื้อขายเคตามีนในประเทศไทย ทำให้นิยมใช้ไทเลทามีน-โซลาซีแพมทดแทนเคตามีน ไทเลทามีนเป็นยากลุ่มเดียวกับเคตามีน สามารถนำสลบได้รวดเร็วและนุ่มนวล ม้าฟื้นจากสลบได้ดี และออกฤทธิ์ได้นานกว่าเคตามีน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาผลของการใช้ไซลาซีนร่วมกับไทเลทามีน-โซลาซีแพม โดยให้เข้าหลอดเลือดดำแบบต่อเนื่องเพื่อคงระดับการสลบขณะผ่าตัด จึงเป็นเหตุผลให้ผู้วิจัยต้องการศึกษาผล และขนาดของสารละลายดังกล่าว โดยศึกษาในม้าเพศผู้ สุขภาพแข็งแรง จำนวน 18 ตัว ซึ่งรับไซลาซีนขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เข้าหลอดเลือดดำเพื่อเตรียมสลบ จากนั้นม้าจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม กลุ่มที่หนึ่งรับเคตามีน ขนาด 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนำสลบ และสารละลาย triple drip คงระดับการสลบด้วยอัตราเร็ว 1 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง กลุ่มที่สองนำสลบด้วย ไทเลทามีน-โซลาซีแพม ขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และคงระดับการสลบด้วยสารละลายไซลาซีน-ไทเลทามีน-โซลาซีแพม ด้วยอัตราเร็วที่เท่ากัน ขณะสลบอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ระดับความดันโลหิต และอุณหภูมิร่างกาย ของม้าทุกตัว อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ทางคลินิก และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม แต่อัตราการให้ยา 1 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง ไม่เพียงพอในการคงระดับการสลบเพื่อการผ่าตัดทำหมัน ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ควรให้ยาด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 2.1 และ 2.9 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อชั่วโมง ในกลุ่ม triple drip และกลุ่มสารละลายใหม่ ตามลำดับ ค่าปริมาตรก๊าซในกระแสโลหิตส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่พบค่า pO₂ และ satO₂ มีแนวโน้มต่ำลงเมื่อเวลาสลบนานขึ้นในม้าทั้ง 2 กลุ่ม ระยะเวลาที่ใช้ในการนำสลบ คงระดับการสลบ และขณะฟื้นไม่มีความแตกต่างกัน คุณภาพในการนำสลบ คงระดับการสลบ และขณะฟื้น คล้ายคลึงกัน จึงสรุปได้ว่าการเตรียมสารละลายไซลาซีน-ไทเลทามีน-โซลาซีแพมมีความสะดวก และมีความปลอดภัยในการคงระดับการสลบเพื่อการผ่าตัดภาคสนาม en_US
dc.description.abstractalternative Total intravenous anesthesia (TIVA) is a choice of field anesthesia for minor surgeries which should not longer than an hour. Xylazine-ketamine-guaifenesin infusion often referred to as “Triple drip” is a popular TIVA for field anesthesia of horse and pony. Tiletamine-zolazepam combination is commercially available in Thailand. It provides fast and smooth induction and recovery with longer effect when comparing to ketamine. The purpose of this study is to examine the effects and dose of tiletamine-zolazepam combined with xylazine during a continuous rate infusion anesthesia for castration in horses. Eighteen healthy stallion were scheduled for castration. All horses were premedicated with xylazine 1 mg/kg IV. Then the horses were randomly allocated into two groups. In control group (XKG), horses were induced with ketamine 2 mg/kg IV and maintained with the combination of xylazine 1 mg/ml, ketamine 2 mg/ml, in 1 liter of 10% guaifenesin at the rate of 1 ml/kg/hr. In study group (XZ), horses were induced with tiletamine-zolazepam 1 mg/kg IV and maintained with the combination of xylazine 0.5 mg/ml, tiletamine-zolazepam 0.5 mg/ml in 1 liter of NSS. Heart rate, respiratory rate, blood pressure, temperature were monitored every 10 minute during anesthesia. Blood gases were analyzed 5 minute after induction and 30 minute after maintenance. Induction, maintenance, recovery time and score were recorded, and the total volumes and dose were evaluated. The vital parameters of both groups throughout anesthetic time were in the acceptable clinical range and were not different, but at the rate of XKG and XZ were 2.1 and 2.9 ml/kg/hr. respectively. PO₂ and O₂ saturation trended to decrease in both groups during anesthesia. Induction, maintenance and recovery time and score did not show any difference. We demonstrated that the combination of Tiletamine-zolazepam (0.5 mg/ml) and xylazine (0.5 mg/ml) to provide convenient, safe, and useful for field anesthesia. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1249
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การวางยาสลบสัตว์ en_US
dc.subject ม้า en_US
dc.subject การทำหมัน en_US
dc.subject Animal anesthesia en_US
dc.subject Horses en_US
dc.subject Castration en_US
dc.title ผลของยาสลบชนิดฉีดไทเลทามีน-โซลาซีแพมร่วมกับไซลามีน ให้ผ่านทางหลอดเลือดดำแบบต่อเนื่องในการวางยาสลบเพื่อผ่าตัดทำหมันม้าเพศผู้ en_US
dc.title.alternative The Effects of tiletamine-zolazepam combined with xylazine during a continuous rate infusion anesthesia for castration in horses en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sumit.D@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1249


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record