DSpace Repository

การศึกษาผลของการใช้ยาราปาไมซินต่อโรคเลปโตสไปโรซิสในหนูตะเภาที่มีภาวะเลือดออกในปอดอย่างรุนแรง

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิจิตร บรรลุนารา
dc.contributor.advisor ณุวีร์ ประภัสระกูล
dc.contributor.author นพดล แสงจันทร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-01-05T11:26:40Z
dc.date.available 2014-01-05T11:26:40Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37645
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract การศึกษาผลของการใช้ยาราปาไมซินต่อโรคเลปโตสไปโรซิสในหนูตะเภาที่มีภาวะเลือดออกในปอดอย่างรุนแรง โดยแบ่งหนูตะเภาอายุ 3 สัปดาห์ จำนวน 36 ตัว ออกเป็น 6 กลุ่มๆละ 6 ตัว ดังนี้คือ กลุ่ม 1 (Normal) เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่ม 2 (Rapa) เป็นกลุ่มที่ได้รับการป้อนราปาไมซิน ขนาด 1.0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ทางปาก กลุ่ม 3 (Lepto) เป็นกลุ่มที่ได้รับการฉีดเชื้อ Leptospira interrogans serovar pyrogenes ปริมาณ 0.5x10⁸ ตัว และ กลุ่มที่ 4, 5 และ 6 (Lepto rapa hr₀, Lepto rapa hr24 และ Lepto rapa hr₄₈) เป็นกลุ่มที่ได้รับการฉีดเชื้อ L. interrogans serovar pyrogenes ปริมาณ 0.5x10⁸ ตัว และได้รับการป้อนราปาไมซินขนาด 1.0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ในชั่วโมงที่ 0, 24 และ 48 ภายหลังการฉีดเชื้อ สุ่มหนูตะเภาจำนวน 2 ตัวในแต่ละกลุ่ม ในวันที่ 2, 4 และ 6 ทำการศึกษาทางพยาธิวิทยา การตรวจค่าทางโลหิตวิทยา การตรวจค่าชีวเคมีคลินิก เทคนิคฮิสโตเคมี Warthin-Starry การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน และเทคนิคอิมมูนโนฮิสโตเคมี (immunofluorescence antibody technique; IFAT) ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการฉีดเชื้อ 6 วัน หนูตะเภาในกลุ่ม Lepto rapa hr0, Lepto rapa hr₂₄ และ Lepto rapa hr₄₈ เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำอย่างรุนแรง และพบปื้นเลือดออกอย่างรุนแรงที่ผนังช่องท้อง ในขณะที่กลุ่ม Lepto เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำอย่างปานกลาง และพบจุดเลือดออกที่ผนังช่องท้องอย่างอ่อน ผลทางจุลพยาธิวิทยาที่ปอดพบว่าหนูตะเภากลุ่ม Lepto rapa hr₄₈ เกิดภาวะเลือดออกที่ปอดอย่างรุนแรง ในขณะที่กลุ่ม Lepto, Lepto rapa hr₀, Lepto rapa hr₂₄ เกิดภาวะเลือดออกที่ปอดปานกลาง ที่ตับพบว่ากลุ่ม Lepto rapa hr0 พบเพียงการบวมของเซลล์ตับ ในขณะที่ กลุ่ม Lepto rapa hr₂₄ และ Lepto rapa hr₄₈ พบการตายของเซลล์ตับเป็นหย่อมๆ ร่วมกับการแทรกตัวของเซลล์อักเสบชนิดนิวโทรฟิล และลิมโฟไซต์รอบๆ หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดแดง และกลุ่ม Lepto พบการคั่งเลือดของ hepatic sinusoids อย่างรุนแรง สำหรับที่ไตพบว่ากลุ่ม Lepto rapa hr0 พบภาวะเลือดออกที่ไตเล็กน้อย ร่วมกับการบวมของเซลล์เยื่อบุท่อไต ในขณะที่กลุ่ม Lepto rapa hr₂₄ และ Lepto rapa hr₄₈ พบเลือดออกทั้งรอบๆหน่วยกรองไต และท่อไต ร่วมกับการบวมของเซลล์เยื่อบุท่อไต และกลุ่ม Lepto พบการตายของเซลล์เยื่อบุท่อไต ร่วมกับการแทรกตัวของนิวโทรฟิลจำนวนมากรอบๆหน่วยกรองไต และท่อไต ผลการศึกษาด้วยวิธี IFAT พบว่ากลุ่ม Lepto พบการสะสมของ IgM ที่ผนังถุงลมของปอด และที่หน่วยกรองไตอย่างชัดเจน กลุ่ม Lepto rapa hr₄₈ พบการสะสมของ IgM ที่ปอด และไตเล็กน้อย ในขณะที่กลุ่ม Lepto rapa hr₀ และ Lepto rapa hr₂₄ ไม่พบการสะสมของ IgM จากผลการทดลองสรุปว่ายาราปาไมซินสามารถลดการสะสมของ IgM ตลอดจนลดรอยโรคที่ปอด ตับ และไตในหนูตะเภาได้ เมื่อหนูตะเภาได้รับยาราปาไมซินหลังการฉีดเชื้อทันที แต่ยาราปาไมซินไม่สามารถป้องกันการเกิดภาวะเลือดออกที่ปอด และเมื่อได้รับยาราปาไมซินหลังการฉีดเชื้อ 48 ชั่วโมง ทำให้เกิดรอยโรคที่อวัยวะเหล่านั้นอย่างรุนแรงมากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative To study the effect of rapamycin on severe pulmonary leptospirosis, thirty-six, 3-week-old guinea pigs were divided into 6 groups (n = 6 in each group) namely. Group 1 (Normal) was a control group. Group 2 (Rapa) was fed with rapamycin (1 mg/kg/day). Group 3 (Lepto) was challenged with Leptospira interrogans serovar pyrogenes about 0.5 x 10⁸ bacteria. Group 4, 5 and 6 (Lepto rapa hr₀, Lepto rapa hr₂₄ and Lepto rapa hr₄₈) were challenged with Leptospira interrogans serovar pyrogenes about 0.5 x 10⁸ bacteria and started to feed with rapamycin (1 mg/kg/day) on 0, 24 and 48 hours post inoculation and followed once daily. Two animals of each group were euthanized on 2, 4 and 6 days post inoculation. Pathology, hematology, blood chemistry, Warthin-Starry method, transmission electron microscopy and immunofluorescence antibody technique (IFAT) were studied. Lepto rapa hr₀, Lepto rapa hr₂₄ and Lepto rapa hr₄₈ revealed severe thrombocytopenia and severe ecchymotic peritoneal hemorrhage while Lepto revealed moderate thrombocytopenia and mild petechial peritoneal hemorrhage. Histopathology of lung, Lepto rapa hr₄₈ revealed severe multifocal pulmonary hemorrhage while Lepto, Lepto rapa hr₀, Lepto rapa hr₂₄ revealed moderate multifocal pulmonary hemorrhage. Histopathology of liver, Lepto rapa hr₀ revealed cloudy swelling of hepatic parenchymal cells while Lepto rapa hr₂₄ and Lepto rapa hr₄₈ shown multifocal hepatocellular necrosis with the infiltration of neutrophils and lymphocytes around the portal veins and hepatic arteries and Lepto revealed severe hepatic sinusoid congestion. Histopathology of kidney, Lepto rapa hr₀ revealed mild interstitial hemorrhage with renal tubular cell swelling while Lepto rapa hr₂₄ and Lepto rapa hr₄₈ revealed moderate interstitial hemorrhage with renal tubular cell swelling and Lepto revealed moderate interstitial hemorrhage and renal tubular necrosis. The IFAT results of the alveolar basement of lung and glomerulus of kidney, Lepto revealed high IgM deposition while Lepto rapa hr₄₈ revealed few IgM deposition. Whereas Lepto rapa hr₀ and Lepto rapa hr₂₄ revealed the absence of IgM deposition. The study concluded that rapamycin reduced IgM deposition and alleviated lesions in lung, liver and kidney when rapamycin were concurrently fed. However, rapamycin could not prevent pulmonary hemorrhage and if guinea pigs were fed rapamycin after 48 hours post inoculation, the severity of lesions were increased in those organs. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.252
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เลปโตสไปโรซิส en_US
dc.subject ปอด -- ภาวะเลือดออก en_US
dc.subject ปอด -- ผลกระทบจากยา en_US
dc.subject Leptospirosis en_US
dc.subject Lungs -- Hemorrhage en_US
dc.subject Lungs -- Effect of drugs on en_US
dc.title การศึกษาผลของการใช้ยาราปาไมซินต่อโรคเลปโตสไปโรซิสในหนูตะเภาที่มีภาวะเลือดออกในปอดอย่างรุนแรง en_US
dc.title.alternative The effect of rapamycin on severe pulmonary leptospirosis in guinea pigs model en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Wijit.K@Chula.ac.th
dc.email.advisor Nuvee.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.252


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record