dc.contributor.advisor |
กนก สรเทศน์ |
|
dc.contributor.advisor |
วิจิตรศักดิ์ โชลิตกุล |
|
dc.contributor.author |
จรีย์ ไพศาลสินทรัพย์, 2513- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2007-08-27T01:35:18Z |
|
dc.date.available |
2007-08-27T01:35:18Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.isbn |
9743338624 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3861 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างระยะความสูงของส่วนโค้งของกระดูกแอตลาสกับลักษณะโครงสร้างใบหน้าและกะโหลกศีรษะในแนวดิ่ง และนำค่าระยะความสูงของส่วนโค้งของกระดูกแอตลาสมาใช้พยากรณ์ลักษณะโครงสร้างใบหน้าและกะโหลกศีรษะในแนวดิ่งในคนไทย ได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยที่มารับการรักษาทันตกรรมจัดฟันที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 180 คน อายุ 15-25 ปี ประกอบด้วยเพศชาย จำนวน 90 คน และเพศหญิงจำนวน 90 คน กลุ่มตัวอย่างแต่ละเพศประกอบด้วย ตัวอย่างที่มีลักษณะโครงสร้างใบหน้าและกะโหลกศีรษะในแนวดิ่งแบบสบเปิดจำนวน 30 คน สบปกติจำนวน 30 คน และสบลึกจำนวน 30 คน นำภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของกลุ่มตัวอย่างมาลอกรายละเอียด วัดค่ามุม SN-GoGn มุม FMA มุม Y axis-FH ค่าระยะทาง AR-Go ค่าอัตราส่วน SGo/NMe (ร้อยละ) ค่าระยะความสูงของส่วนโค้งด้านหน้าและค่าระยะความสูงของส่วนโค้งด้านหลังของกระดูกแอตลาส จากการใช้สถิติวิเคราะห์ความแตกต่างแบบที พบว่าเช่าระยะความสูงของส่วนโค้งด้านหน้าและค่าระยะความสูงของส่วนโค้งด้านหลังของกระดูกแอตลาส ในเพศชายและหญิงมีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ผลการวิจัยพบว่าค่าระยะความสูงของส่วนโค้งด้านหน้าและระยะความสูงของส่วนโค้งด้านหลังของกระดูกแอตลาส มีความสัมพันธ์กับค่ามุม SN-GoGn และค่ามุม FMA ในทิศทางตรงกันข้าม และมีความสัมพันธ์กับค่าระยะทาง Ar-Go และค่าอัตราส่วน SGo/NMe (ร้อยละ) ในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่ค่ามุม Yaxis-FH มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับระยะความสูงของส่วนโค้งด้านหลังของกระดูกแอตลาส โดยไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับระยะความสูงของส่วนโค้งด้านหน้าของกระดูกแอตลาส และเมื่อวิเคราะห์สมการถดถอยด้วยวิธีสเตปไวส์ พบว่า ค่าระยะความสูงของส่วนโค้งด้านหลังของกระดูกแอตลาสถูกเลือกใช้ในการพยากรณ์ลักษณะโครงสร้างใบหน้าและกะโหลกศีรษะในแนวดิ่ง โดยสามารถใช้พยากรณ์ค่าอัตราส่วน SGo/NMe (ร้อยละ) ได้ดีที่สุดทั้งในเพศชายและหญิง และใช้พยากรณ์ค่ามุม SN-GoGn และ FMA ในเพศหญิงและค่ามุม SN-GoGn ในเพศชายได้ดีในอันดับรองลงมา |
en |
dc.description.abstractalternative |
This research was performed to detect the correlation between the atlas arch height and vertical craniofacial pattern and predict vertical craniofacial pattern from the atlas arch height in Thai. By purposive sampling from the patients who were seeking treatment in orthodontic department of Chulalongkorn University, 180 samples consisting 90 males and 90 females, at the age of 15-25 years were selected. Each gender group comprised 30 open bite, 30 normal bite and 30 deep bite. All lateral cephalometric films were traced and measured the angle of SN-GoGn, FMA, Y axis-FH, the distance of Ar-Go, the ratio of SGo/NMe (%), the atlas anterior arch height and the atlas posterior arch height. It was found that both atlas anterior arch height and atlas posterior arch height showed significant difference between male and female by using t-test (p<0.01). The result of this study revealed that both atlas anterior arch height and atlas posterior arch height not only showed negative correlations with the angle of SN-GoGnand FMA but also showed positive correlations with the distance of Ar-Go and the ratio of SGo/NMe (%). The angle of Y axis-FH showed negative correlations with the atlas posterior arch height, while there was no correlation with the atlas anterior arch height. By Stepwise regression analysis, the result showed that the atlas posterior arch height could be used to predict vertical craniofacial pattern. The ratio of SGo/NMe (%) was the best variable to be predict in both sex, while the angle of SN-GoGn, FMA in female and the angle of SN-GoGn in male were the better variable to be used |
en |
dc.format.extent |
12295655 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.376 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
กระดูกแอตลาส |
en |
dc.subject |
กะโหลกศีรษะ |
en |
dc.subject |
ใบหน้า |
en |
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างระยะความสูงของส่วนโค้งของกระดูกแอตลาสกับลักษณะโครงสร้างใบหน้าและกะโหลกศรีษะในแนวดิ่งในคนไทย |
en |
dc.title.alternative |
The correlation between the atlas arch height and vertical craniofacial pattern in Thai |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมจัดฟัน |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Kanok.S@chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Wichitsak.C@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.1999.376 |
|