DSpace Repository

อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเองและผลป้อนกลับต่อการอนุมานสาเหตุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor คัดนางค์ มณีศรี
dc.contributor.author สุคนธา มหาอาชา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2014-02-21T03:39:57Z
dc.date.available 2014-02-21T03:39:57Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39207
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบหลงตนเองและการอนุมานสาเหตุ ภายหลังจากได้รับผลป้อนกลับทางบวกและทางลบ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 373 คน เป็นเพศชาย 141 คน เพศหญิง 232 คน ถูกขอให้ทำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และทำมาตรวัดความหลงตนเอง หลังจากนั้นผู้ร่วมการทดลองได้รับผลป้อนกลับแบบลวงว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวจากการทำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และระบุสาเหตุที่ทำให้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในมาตรวัดการอนุมานสาเหตุ ผลการวิจัย พบว่า 1. เมื่อได้รับผลป้อนกลับทางบวก ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงและต่ำไม่มีความแตกต่างกันในการอนุมานสาเหตุในด้านเหตุภายใน เหตุถาวรและเหตุสากลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงและต่ำอนุมานสาเหตุของความสำเร็จหรือล้มเหลวไปยังเหตุภายใน เหตุถาวรและเหตุสากล 2. เมื่อได้รับผลป้อนกลับทางลบ ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองสูงอนุมานสาเหตุของความสำเร็จหรือล้มเหลวไปยังเหตุภายนอก เหตุชั่วคราวและเหตุจำเพาะมากกว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหลงตนเองต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01, p<.001, และ p<.001 ตามลำดับ) en_US
dc.description.abstractalternative This study examined the relationship between narcissistic personality and causal attribution following success and failure feedback. Three hundred and seventy-three undergraduate students, 141 males and 232 females, were asked to work on the analytical ability test and then completed a questionnaire measuring narcissism. After receiving their bogus test result in which either success or failure feedback was given, participants ascribed their performance on the causal attribution scale. Results show that: 1. When positive feedback is given, there are no significant differences between high and low narcissists on internal, permanent, and global attributions. They attribute their performance to internal, permanent, and global causes. 2. When negative feedback is given, high narcissists attribute their performance to external, temporary, and specific causes more than do low narcissists (p<.01, p<.001, and p<.001, consecutively). en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.208
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การหลงตนเอง en_US
dc.subject การรับรู้ตนเอง en_US
dc.subject Narcissism en_US
dc.subject Self-perception en_US
dc.title อิทธิพลของบุคลิกภาพแบบหลงตนเองและผลป้อนกลับต่อการอนุมานสาเหตุ en_US
dc.title.alternative Effects of narcissism and feedback on causal attribution en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาสังคม en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Kakanang.M@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.208


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record