dc.contributor.advisor |
อิศราวัลย์ บุญศิริ |
|
dc.contributor.author |
ปริญญาพร ศรีอ่อนเที่ยง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2014-02-25T02:37:23Z |
|
dc.date.available |
2014-02-25T02:37:23Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39539 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่ากำลังแรงยึดแบบผลักของเดือยฟันเส้นใยควอตซ์ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โดยนำฟันกรามน้อยล่างแท้ซี่ที่หนึ่งของมนุษย์ที่ถอนออกมาจำนวน 35 ซี่ มาตัดส่วนตัวฟันออก ตัดตั้งฉากกับแนวแกนฟันที่บริเวณรอยต่อของเคลือบฟันกับเคลือบรากฟัน รักษาคลองรากฟันและเตรียมช่องว่างสำหรับใส่เดือยฟันเส้นใยควอตซ์ (ดีทีไลท์โพสต์เบอร์ 1) แบ่งเดือยฟันออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ไม่ได้ปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ กลุ่มที่ 2 ถึง กลุ่มที่ 7 แบ่งตามความเข้มข้นและระยะเวลาที่ใช้สำหรับปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ยึดเดือยฟันกับคลองรากฟันที่เตรียมไว้ด้วยสารยึดติด (เอ็กไซท์ ดีเอสซี) ร่วมกับเรซินคอมโพสิตเหลว (มัลติคอร์โฟลว์) นำรากฟันแต่ละรากที่เตรียมไว้ตัดบริเวณที่ใส่เดือยฟันรากละ 6 ชิ้น โดยแต่ละชิ้นมีความหนา 1 มิลลิเมตร เพื่อเป็นตัวแทนของรากฟันส่วนใกล้ตัวฟัน ส่วนกลาง และส่วนใกล้ปลายรากฟัน แล้วนำมาทดสอบค่ากำลังแรงยึดแบบผลักด้วยเครื่องทดสอบสากลยี่ห้ออินสตรอน วิเคราะห์ผลด้วยสถิติความแปรปรวนแบบสามทาง และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณ แบบทูกีย์ ผลการทดลองพบว่าความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และระยะเวลาที่ใช้ในการปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันมีผลต่อค่ากำลังแรงยึดแบบผลัก ในขณะที่ระดับของคลองรากฟันไม่มีผล โดยการปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 24 และ 30 นาน 10 นาที และที่ความเข้มข้นร้อยละ 35 นาน 5 นาที ให้ค่ากำลังแรงยึดแบบผลักสูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่าง 3 กลุ่ม อย่างไรก็ตามการปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 35 นาน 5 นาที ช่วยลดเวลาทำงานในคลินิก |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study was to evaluate the push out bond strength of quartz fiber posts with hydrogen peroxide (H2O2) surface treatments. Thirty five extracted human mandibular first premolar were cut perpendicular to long axis at the cementoenamel junction. The roots were endodontically treated, and post spaces were prepared for quartz fiber posts (DT light Post® #1). Posts were divided in 7 groups. Group 1, as control group; posts were not soaked with H2O2. Group 2 to 7; posts were soaked with different concentrations and durations of H2O2. Consequently, posts were cemented in the prepared root canals using bonding agent (Excite DSC®) and flowable resin composite (Multicore flow®). Each root was sliced into six pieces, each 1 mm thick specimens representing the coronal, middle and apical regions. A push-out test was performed with an Instron testing machine. Data were analyzed with three-way analysis of variances and Tukey HSD test. The results showed that push out bond strength was statistic significantly effected by duration and concentration of H2O2 whereas root regions were not effected on it. While post surface treatment with 24% and 30% H2O2 for 10 minutes and 35% H2O2 for 5 minutes showed higher push-out bond strength than control group but there was no difference between the 3 groups. However, post surface treatment with 35% H2O2 for 5 minutes can reduce clinical chair time. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1187 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
คลองรากฟัน |
en_US |
dc.subject |
เส้นใยควอทซ์ |
en_US |
dc.subject |
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ |
en_US |
dc.subject |
Dental pulp cavity |
en_US |
dc.subject |
Quartz fibers |
en_US |
dc.subject |
Hydrogen peroxide |
en_US |
dc.title |
ผลของการปรับสภาพพื้นผิวเดือยฟันเส้นใยควอตซ์ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ต่อค่ากำลังแรงยึดแบบผลัก |
en_US |
dc.title.alternative |
Effect of quartz fiber post surface treatment with hydrogen peroxide on the push out bond strength |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมประดิษฐ์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Issarawan.B@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2012.1187 |
|