DSpace Repository

ประสบการณ์การกระทำผิดซ้ำของเยาวชนชายในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน การศึกษารายกรณี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐสุดา เต้พันธ์
dc.contributor.advisor วัชรี ทรัพย์มี
dc.contributor.author ปิยะณัฐ แย้มสรวล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2014-03-06T08:01:30Z
dc.date.available 2014-03-06T08:01:30Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40274
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษารายกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การกระทำผิดซ้ำของเยาวชนชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนและศึกษาทัศนะ ความคิด ความรู้สึก ของเยาวชายที่มีต่อประสบการณ์การกระทำผิดของตน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยเข้าไปฝังตัวในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านอุเบกขาเป็นเวลา 4 เดือน ผู้ให้ข้อมูลคือเยาวชนชายผู้กระทำผิดซ้ำ จำนวน 6 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบประเด็นหลักสามประเด็นคือ สิ่งแวดล้อมเริ่มต้น วิถีชีวิตผู้กระทำผิดซ้ำ และการรับรู้ตนเองเมื่อออกจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน สามารถสรุปผลการวิจัยได้ว่า การกระทำผิดซ้ำของเยาวชนเป็นความต่อเนื่องของการกระทำผิดครั้งแรก ซึ่งเป็นอิทธิพลหลักจากบริบทชีวิตของพวกเขา ผลักดันให้เยาวชนเข้าสู่วิถีชีวิตของการกระทำผิด และความเคยชินกับการอยู่ในวิถีชีวิตดังกล่าว ก็มีผลเป็นแรงต้านที่จะมีผลในการขัดขวางเยาวชนไม่ให้ออกจากวิถีชีวิตเดิม ประกอบกับลักษณะวิถีชีวิตของเยาวชนผู้กระทำผิดซ้ำ และการรับรู้ตนเองภายหลังการปล่อยตัวของพวกเขาก็เป็นแรงสนับสนุนให้เยาวชนกระทำผิดซ้ำและกลับสู่วิถีชีวิตเดิม นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้อภิปรายถึงการนำผลการวิจัยซึ่งเป็นโลกทัศน์ของเยาวชนชายผู้กระทำผิดซ้ำมาใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเยาวชนผู้กระทำผิดซ้ำ และอภิปรายถึงการนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการฝึกอบรมและกระบวนการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อลดโอกาสการในการเข้าสู่วิถีชีวิตของการกระทำผิด และรวมถึงได้นำเสนอแนวทางและข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคต en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to explore reoffending experience of male juvenile offenders in juvenile retention center. Data were collected via in-depth interview and participant observation through 4 months period of time. Using case study research methodology, three major domain arose from data: Primary environment, Offenders’s way of life, and Self-perception after getting released from retention center. Finding from qualitative analysis indicate that The juvenile’s reoffending is the consequence of their first offending which have an influence from context of life carry juvenile forward into offending modus Vivendi, Then while juvenile get use to offender’s way of life, it also produce resistance and support force which will impede juvenile from moving out of present way of life. Thust the context of juvenile reoffender’s way of life and the perception of themselves after they were liberated also support juvenile to be brought back to the same way of life. Also analized data were discussed to understand juvenile reoffenders and were discussed as implications for psychologists and training procedure to reduce the chance of getting in to offenders’s way of life in juvenile offender. Future research guidline were discussed. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.402
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การกระทำผิดซ้ำ en_US
dc.subject เยาวชนชายผู้กระทำความผิดอาญา en_US
dc.title ประสบการณ์การกระทำผิดซ้ำของเยาวชนชายในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน การศึกษารายกรณี en_US
dc.title.alternative Reoffending experience of male juvenile offenders in juvenile detention center : A case study en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Nattasuda.T@Chula.ac.th
dc.email.advisor watcharee@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.402


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record