DSpace Repository

การศึกษาเชิงประจักษ์ของการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
dc.contributor.author พิมลรัตน์ สิริเศรษฐอาภา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2014-03-14T02:17:10Z
dc.date.available 2014-03-14T02:17:10Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40627
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทดสอบความแม่นยำของแผนภาพรูปพัด (Fan charts) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ในการนำเสนอผลการประมาณการอัตราเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ (2) ศึกษาถึงลักษณะในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าได้ดำเนินนโยบายสอดคล้องกับค่าประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจหรือไม่ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษานี้เป็นข้อมูลเฉพาะที่มีการเผยแพร่แก่สาธารณชน และเป็นการศึกษาในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2543:3-2550:4 การศึกษานี้มีวิธีการทดสอบความแม่นยำของแผนภาพรูปพัดทั้งอย่างไม่เป็นทางการ (Informal test) และอย่างเป็นทางการในเชิงสถิติ (Formal statistical test) ซึ่งมีการทดสอบทั้งความกว้าง (Width) และค่ากลาง (Central tendency) ของแผนภาพรูปพัด โดยในการทดสอบความกว้างนั้น จะเป็นการทดสอบการประมาณการที่มองไปข้างหน้า 1 ปี และ 2 ปี ในขณะที่การทดสอบค่ากลางนั้นจะเป็นการทดสอบคุณสมบัติความไม่เอนเอียง (Unbiasedness) และความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการประมาณการ ซึ่งเป็นการทดสอบการประมาณการทั้งที่มองไปข้างหน้า 1 ไตรมาส, 1 ปี และ 2 ปีสำหรับการศึกษาถึงลักษณะในการดำเนินนโยบายการเงินนั้นได้ทดสอบโดยใช้สมการตอบสนองของอัตราดอกเบี้ยที่มีลักษณะมองไปข้างหน้า (Forward-looking interest rate reaction function) ซึ่งมีการทดสอบใน 2 แบบจำลองด้วยกัน ได้แก่ แบบจำลองที่ผู้กำหนดนโยบายให้ความสนใจเฉพาะเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ และแบบจำลองที่ผู้กำหนดนโยบายให้ความสนใจทั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาเชิงประจักษ์พบว่าโดยรวมแล้วการประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่นำเสนอโดยใช้แผนภาพรูปพัดนั้นมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีในส่วนของการทดสอบความไม่เอนเอียงพบว่าการประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่มองไปข้างหน้า 1 ปี และ 2 ปีมีความเอนเอียงไปไปในทางบวก (Positive bias) ในขณะที่การประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาเดียวกันมีความเอนเอียงไปในทางลบ (Negative bias) รวมถึงยังพบว่าโดยรวมแล้ว ค่าความกว้างของแผนภาพรูปพัดของทั้งอัตราเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้นั้นอาจแคบเกินไปเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแผนภาพรูปพัดกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าความคลาดเคลื่อนของการประมาณการในอดีต และสำหรับการทดสอบสมการตอบสนองพบว่าส่วนใหญ่แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการดำเนินนโยบายการเงินที่มองไปข้างหน้าและอยู่บนพื้นฐานของค่าประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจของตนเอง en_US
dc.description.abstractalternative This thesis has two objectives: (1) assessing the accuracy of the Bank of Thailand's fan charts which have been used to present the projections of inflation and GDP growth and (2) investigating monetary policy decisions whether the BOT has adopted in line with their economic forecasting. This study uses publicly available data during 2000Q3-2007Q4. To examine the accuracy of the fan charts, we start from informal methods and then employ formal statistical tests which are used to analyze the width and central tendency of the fan charts. For the latter, we investigate both unbiasedness and efficiency of the (one quarter, one year, and two years ahead) projections. As for the conduct of monetary policy under inflation targeting, we estimate forward-looking interest rate reaction function by using BOT's inflation and output growth forecasts. We study two models. First, we assume that the central bank focuses only on inflation target; and in the second model, the BOT put attention on both inflation target and economic growth. Our empirical results show that the economic projections of the BOT are efficient. However, there are biasness in the projections of one year and two years ahead. Specifically, the projections of the core inflation turns out to have positive bias, while the projections of the headline inflation and GDP growth have negative bias. In addition, the width of the fan charts (both inflation and economic growth) may be too narrow, when comparing the standard deviation of the fan charts with those of previous forecast errors. Finally, our econometric analysis shows that the BOT have used their own economic forecasts when making monetary policy decisions. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1229
dc.subject ธนาคารแห่งประเทศไทย en_US
dc.subject อัตราดอกเบี้ย -- นโยบายของรัฐ -- ไทย en_US
dc.subject นโยบายการเงิน -- ไทย en_US
dc.subject พยากรณ์เศรษฐกิจ -- ไทย en_US
dc.subject Bank of Thailand en_US
dc.subject Interest rates -- Government policy -- Thailand en_US
dc.subject Monetary policy -- Thailand en_US
dc.subject Economic forecasting -- Thailand en_US
dc.title การศึกษาเชิงประจักษ์ของการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย en_US
dc.title.alternative An empirical study of the Bank of Thailand's economic forecasts and interest rate policy en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pongsak.L@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1229


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record